SET สุดคุ้ม 1กระป๋อง+2ถุงฟอยล์ PROWELL Respa Well 300g. โปรเวล เรสพาเวล

วิตามิน อาหารเสริม เวชสำอาง บำรุงผิว อุปกรณ์ดูแลสุขภาพ

เข้าสู่ระบบ    | ยังไม่มีสินค้า  
หน้าแรก  รีวิวสินค้า  ปัญหาสุขภาพ  วิธีสั่งซื้อ  ข่าวสาร  แนะนำสินค้า  สาระน่ารู้  ติดต่อเรา 
  PROWELL

SET สุดคุ้ม 1กระป๋อง+2ถุงฟอยล์ PROWELL Respa Well 300g. โปรเวล เรสพาเวล

อาหารผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ กลิ่นข้าวโพด

เรสพา เวลโปรตีนคุณภาพสูงภูมิคุ้มกัน เป็นเครื่องดื่มสําเร็จรูปชนิดผง ชงละลายง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย สามารถผสมให้มีความเข้มข้นต่างๆ ตามความต้องการ มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างชัดเจน ตรงตามหลักทางการแพทย์และโภชนาการ อาหารสำหรับผู้ป่วย หอบหืด ปอด และทางเดินหายใจ เพื่อ ฟื้นฟู บำรุง และให้พลังงานปอดให้แข็งแรงขึ้น
รหัสสินค้า28999

ขนาด1 แพ็ค
ราคาปกติ 3120 บาท
ผู้ผลิตPROWELL
สถานะสินค้ามีสินค้า in stock
ราคา 2,964 บาท
ราคาพิเศษ
    สั่งซื้อ  
การจัดส่ง FLASH EXPRESS ทุกวันจันทร์ - เสาร์ ตัดรอบ 11.00 น. (1-2 วันทำการ)
การชำระเงิน ดูรายละเอียด
 
รายละเอียดสินค้า
RESPA WELL ราสพาเวล เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหาร เรสพาเวล เครื่องดื่มแทนมื้ออาหาร มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลตามหลักโภชนาการ มีโปรตีนคุณภาพสูง โอเมก้า3สูง เสริมกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อกล้ามเนื้อของการหายใจ รวมถึงกรดอะมิโนสายกิ่ง(BCAA) ทำให้ความสามารถในการรับอาหารของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้มวลกล้ามเนื้อระบบหายใจแข็งแรงขึ้น ทำให้ได้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ลดคาร์บอนไดออกไซด์ลง มีใยอาหารสูง อนุมูลอิสระสูง ให้พลังงานสูง ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและภูมิคุ้มกันร่างกาย คุณสมบัติ : เป็นเครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผง ชงละลายง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างชัดเจน ตรงตามหลักทางโภชนาการ ● โปรตีนสูง เพื่อชดเชยและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อปอดเพื่อช่วยขับคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากร่างกาย และเพิ่มออกซิเจนให้กับระบบหายใจ ● คาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการย่อย ลดภาระของปอด ● ไขมันคุณภาพดีสูง (มีกรดไขมันจำเป็นครบทั้งโอเมก้า 3, 6 และ9) ซึ่งจำเป็นต่อผนังเซลล์ ฮอร์โมน สมอง และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ เป็นแหล่งพลังงานสูงที่ให้คาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด ● โคลินและอิโนซิทอล ช่วยนำไขมันและโคเลสเตอรอลไปใช้งาน ● อาร์จีนีน ช่วยให้หน้าที่ของ T-cell ดีขึ้น มีส่วนช่วยให้ระดับของ T-helper-cell สูงขึ้นอีกด้วย และยังกระตุ้นการทำงานของ macrophage และnatural killer cellได้อีกด้วย ● กรดอะมิโนสายกิ่ง BCAA ( Branch Chain Amino Acid) ได้แก่ Leucine 50% , Isoleucine 25% และ Valine 25% มีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากมีปริมาณกล้ามเนื้อลดลง และเป็นโปรตีนโมเลกุลเล็กที่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าโปรตีนรูปอื่นๆ ทำให้ความสามารถของการรับอาหารเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อหายใจและระบบภูมิคุ้มกันจะดีขึ้นร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น รวมถึงช่วยชะลอความเสื่อมของปอดให้ถูกทำลายหรือทำงานให้น้อยที่สุด ● กลูตามีน ช่วยเสริมภูมิต้านทานของลำไส้ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว (lymphocyte) มีการเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้นและทำให้ผนังเซลล์ (cell membrane) แข็งแรงและทนต่อการถูกทำลาย (phagocytosis) จึงเสริมภูมิต้านทานของลำไส้ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้ได้ยากขึ้น ● นิวคลีโอไทด์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อโรค ● สารต้านทานอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินเอ/ซี/อี/ ซีลีเนียม สังกะสี ธาตุเหล็ก ช่วยผลิตและเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านการอักเสบ และป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรคลดลง ลดอาการอักเสบของปอด อาการหอบดีขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลวได้ ● มีแร่ธาตุครบ 15ชนิด และวิตามินครบทั้ง 14 ชนิด ● ไม่เติมน้ำตาล ไม่มีแลคโตส ไม่มีกลูเท็น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD) ปอดเป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจที่มีหน้าที่หลักในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ของเลือด คือรักษาระดับของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร? โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง คือ ภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนล่างอย่างถาวร ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าหรือออกจากถุงลมปอดได้ตามปกติ ประกอบด้วย 1. โรคถุงลมโป่งพอง 2. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 3. โรคหอบหืด สาเหตุ : ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค COPD ได้แก่ การสูบบุหรี่ โดยสารในควันบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดลมและเนื้อปอด โดยจะมีเซลล์อักเสบเข้ามาสะสมอยู่ในปอด และหลั่งสารต่างๆ ที่ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด (protease) ทำให้ถุงลมปอดถูกทำลาย เกิดภาวะถุงลมโป่งพองและหลอดลมตีบตัว เนื่องจากมีการอักเสบและบวมของเยื่อบุผิว ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังตามมา อาการแสดงของโรค มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติการสูบบุหรี่มานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก มีอาการเหนื่อยง่ายขึ้น ไม่สามารถทำกิจการต่างๆ ที่เคยทำได้ โดยอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยตลอดเวลา เกิดภาวะหายใจวายเรื้อรัง นอกจากนี้เวลาที่ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ก็อาจเกิดภาวะหายใจวายเฉียบพลันได้ง่าย ข้อที่ควรระลึกเสมอ คือ ปอดของเราทุกคนมีความสามารถในการทำงานสำรองไว้มาก กล่าวคือ ถึงแม้จะสูญเสียการทำงานของปอดไปแล้วส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยยังอาจจะไม่มีอาการผิดปกติ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย แสดงว่าการทำงานของปอดได้เสียไปเป็นปริมาณค่อนข้างมากและไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ แนวทางการรักษาโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังที่สำคัญประกอบด้วย 1. การชะลอการเสื่อมของปอด วิธีเดียวที่สามารถชะลอการเสื่อมของปอดอย่างได้ผลคือ การหยุดสูบบุหรี่ 2. การแก้ไขภาวะอุดกั้นของหลอดลม อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในโรคนี้จะมีการอุดกั้นของหลอดลมอย่างถาวร ซึ่งต่างจากโรคหอบหืดที่มีการอุดกั้นเป็นๆ หายๆ การดูแลสุขภาพทั่วไป : การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหมั่นออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำไหวอย่างสม่ำเสมอ อาหารที่เหมาะแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยโรค COPD ควรกินอาหารเพื่อ 1. ให้มีน้ำหนักตัวคงที่ 2. ให้กล้ามเนื้อหายใจทำงานได้ดี 3. เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับเชื้อโรค การให้อาหารได้เหมาะสมจะช่วยลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดและการหายใจดีขึ้น ซึ่งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน จะถูกเผาพลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน พร้อมทั้งได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำออกมา แต่การกินคาร์โบไฮเดรตจะผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากที่สุด และการกินไขมันจะผลิต คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยที่สุด ผู้ป่วยที่มักหอบเหนื่อยหรือมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงภายหลังจากกินอาหารที่มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตสูง ควรเปลี่ยนมากินอาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูงแทน วิธีกินอาหารที่ช่วยให้การหายใจดีขึ้น ● กินอาหารที่ให้พลังงานสูงในตอนเช้า ● ควรกิน 6 มื้อเล็กๆ /วัน แทนการกิน 3 มื้อใหญ่/วัน เพื่อไม่ให้เหนื่อยง่ายขณะกินอาหาร รวมทั้งควรให้เสิร์ฟอาหารหวานหลังกินอาหารหลักไปแล้ว 30-60 นาที ● เคี้ยวช้าๆ เพื่อให้ละเอียดจะได้ไม่กลืนอากาศเข้าไปมากในขณะกลืน ● เลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่าย ● จำกัดเกลือเพราะเกลือทำให้ร่างกายบวมน้ำและหายใจเหนื่อยขึ้น ● เลี่ยงอาหารที่ผลิตแก๊สมาก เพราะจะทำให้ท้องตึงจนหายใจลำบาก เช่นบรอคโคลี่ กะหล่ำปลี ถั่ว ข้าวโพด แตงกวา แตงโม หัวหอม แอปเปิ้ล อาหารทอด น้ำอัดลม ● กินในท่านั่งเพื่อให้ปอดทำงานได้ดี ● ดื่มน้ำหลังกินอาหารเสร็จ ไม่ควรดื่มน้ำบ่อยระหว่างกินอาหารเพราะจะอิ่มเร็ว ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้เสมหะไอออกง่าย และป้องกันภาวะขาดน้ำ ● ดมออกซิเจนในขณะกินอาหาร เพราะการกินและย่อยอาหารล้วนต้องใช้ออกซิเจนทั้งสิ้น ● จำกัดการกินอาหารที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนรบกวนการดูดซึมยาบางอย่าง และทำให้ใจสั่น ● พักผ่อนหลังกินอาหารเสร็จ การแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักลด : น้ำหนักลดทำให้พยากรณ์โรคไม่ดีเมื่อ body mass index (BMI)ลดลง > 21% จากน้ำหนักของคนปกติ พบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีน้ำหนักลดลง มักมีน้ำหนักน้อย และเสียชีวิตได้ง่ายกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวคงที่ ผู้ป่วยที่น้ำหนักตัวลด จะเกิดผลลบคือ ง่ายต่อการติดเชื้อ อ่อนแรงและเหนื่อยง่าย กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง ถ้าต้องการพลังงานเพิ่มหรือเพิ่มน้ำหนักควรกิน อาหารโปรตีนที่มีพลังงานสูง เส้นใยสูง มีเกลือและวิตามิน และอาหารเสริม การแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเพิ่ม : ภาวะอ้วนคือ BMI เพิ่มขึ้น >20% จากค่าปกติ โดยจะทำให้ปอดต้องเพิ่มการหายใจมากขึ้นไปด้วย เมื่อผู้ป่วยอ้วนจะก่อให้เกิดผลลบ คือ หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น การหายใจลำบากขึ้น มีอาการ obstructive sleep apnea มากขึ้นในคนอ้วน ดังนั้นแนะนำให้ผู้ป่วยพยายามกินมื้อละน้อยและถี่ขึ้น เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารโป่งตึงจนกดการทำงานของกระบังลม ก็ทำให้ไม่เหนื่อยมากนัก อาหารมื้อละน้อยๆ ก็ไม่ทำให้เกิดการสูดสำลัก ใช้พลังงานในการเคี้ยวและย่อยน้อยลง รวมทั้งควรคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการออกกำลังกาย นอกจากนี้ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมากขึ้นทำให้ระบบย่อยทำงานดีขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ควรกินเส้นใย 20-35 กรัม/วัน เพื่อให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น สรุป โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยต้องออกแรงมากกว่าคนปกติ ในการหายใจ โดยเฉพาะในการหายใจออก ทำให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการหายใจ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนล้า ความต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ในขณะที่อาการของโรค COPD แย่ลงไปตามกาลเวลาก็ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเป็นระยะๆ เพื่อให้การรักษาด้วยอาหารได้เหมาะสมอันจะทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิตและพยากรณ์ของโรคดีขึ้น การดูแลปัญหาสุขภาพตามหลักโภชนาการ อาหารบำบัดสำหรับผู้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจอุดตันมีความสำคัญมาก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยต้องออกแรงมากกว่าคนปกติในการหายใจ โดยเฉพาะช่วงการหายใจออก จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการหายใจและต้องใช้กล้ามเนื้อในการหายใจที่แข็งแรง การให้อาหารที่สมดุล และเหมาะสมกับสภาวะของโรคจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และพยากรณ์ของโรคดีขึ้น เหมาะสำหรับ: ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอุกตัน (COPD) เช่น โรคปอดบวม อักเสบ โรคหอบหืด ภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง วัณโรค เป็นต้น วิธีรับประทาน ชงร้อน:เรสพาเวล 3ช้อนตวง ต่อน้ำร้อน 150มล. คนหรือเขย่าให้เข้ากันจะได้เรสพาเวล 200มล. (ให้พลังงาน 310กิโลแคลอรี่) ชงเย็น/ปั่น: น้ำร้อนครึ่งแก้ว 75มล.ลงในเรสพาเวล3ช้อนตวง คนให้เข้ากันดี เติมน้ำแข็งตามชอบ ผ่านการตรวจ GMP Certified ตามกฏหมาย เลขที่ อ.ย. 73-1-05055-1-0011 เลขที่ ฮาลาล 10 A777 341 01 56 คาร์โบไฮเดรตต่ำ,EPAสูง,พลังงานสูง,BCAA,โอเมก้า 3 สูง

RESPA WELL

ราสพาเวล เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหาร


เรสพาเวล เครื่องดื่มแทนมื้ออาหาร มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลตามหลักโภชนาการ มีโปรตีนคุณภาพสูง โอเมก้า3สูง เสริมกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อกล้ามเนื้อของการหายใจ รวมถึงกรดอะมิโนสายกิ่ง(BCAA) ทำให้ความสามารถในการรับอาหารของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้มวลกล้ามเนื้อระบบหายใจแข็งแรงขึ้น ทำให้ได้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ลดคาร์บอนไดออกไซด์ลง มีใยอาหารสูง อนุมูลอิสระสูง ให้พลังงานสูง ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและภูมิคุ้มกันร่างกาย

อาหารสำหรับผู้ป่วย หอบหืด ปอด และทางเดินหายใจ เพื่อ ฟื้นฟู บำรุง และให้พลังงานปอดให้แข็งแรงขึ้น

คุณสมบัติ :

เป็นเครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผง ชงละลายง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างชัดเจน ตรงตามหลักทางโภชนาการ

●  โปรตีนสูง เพื่อชดเชยและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อปอดเพื่อช่วยขับคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากร่างกาย และเพิ่มออกซิเจนให้กับระบบหายใจ

●  คาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการย่อย ลดภาระของปอด

●  ไขมันคุณภาพดีสูง (มีกรดไขมันจำเป็นครบทั้งโอเมก้า 3, 6 และ9) ซึ่งจำเป็นต่อผนังเซลล์ ฮอร์โมน สมอง และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ เป็นแหล่งพลังงานสูงที่ให้คาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด

●  โคลินและอิโนซิทอล ช่วยนำไขมันและโคเลสเตอรอลไปใช้งาน

●  อาร์จีนีน ช่วยให้หน้าที่ของ T-cell ดีขึ้น มีส่วนช่วยให้ระดับของ T-helper-cell สูงขึ้นอีกด้วย และยังกระตุ้นการทำงานของ macrophage และnatural killer cellได้อีกด้วย

●  กรดอะมิโนสายกิ่ง BCAA ( Branch Chain Amino Acid) ได้แก่ Leucine 50% , Isoleucine 25% และ Valine 25% มีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากมีปริมาณกล้ามเนื้อลดลง และเป็นโปรตีนโมเลกุลเล็กที่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าโปรตีนรูปอื่นๆ ทำให้ความสามารถของการรับอาหารเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อหายใจและระบบภูมิคุ้มกันจะดีขึ้นร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น รวมถึงช่วยชะลอความเสื่อมของปอดให้ถูกทำลายหรือทำงานให้น้อยที่สุด

●  กลูตามีน ช่วยเสริมภูมิต้านทานของลำไส้ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว (lymphocyte) มีการเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้นและทำให้ผนังเซลล์ (cell membrane) แข็งแรงและทนต่อการถูกทำลาย (phagocytosis) จึงเสริมภูมิต้านทานของลำไส้ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้ได้ยากขึ้น

●  นิวคลีโอไทด์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อโรค

●  สารต้านทานอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินเอ/ซี/อี/ ซีลีเนียม สังกะสี ธาตุเหล็ก ช่วยผลิตและเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านการอักเสบ และป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรคลดลง ลดอาการอักเสบของปอด อาการหอบดีขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลวได้

●  มีแร่ธาตุครบ 15ชนิด และวิตามินครบทั้ง 14 ชนิด

●  ไม่เติมน้ำตาล ไม่มีแลคโตส ไม่มีกลูเท็น

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD)

ปอดเป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจที่มีหน้าที่หลักในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ของเลือด คือรักษาระดับของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร?

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง คือ ภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนล่างอย่างถาวร ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าหรือออกจากถุงลมปอดได้ตามปกติ ประกอบด้วย

1. โรคถุงลมโป่งพอง

2. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

3. โรคหอบหืด

สาเหตุ :  ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค COPD ได้แก่ การสูบบุหรี่ โดยสารในควันบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดลมและเนื้อปอด โดยจะมีเซลล์อักเสบเข้ามาสะสมอยู่ในปอด และหลั่งสารต่างๆ ที่ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด (protease) ทำให้ถุงลมปอดถูกทำลาย เกิดภาวะถุงลมโป่งพองและหลอดลมตีบตัว เนื่องจากมีการอักเสบและบวมของเยื่อบุผิว ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังตามมา

 

อาการแสดงของโรค
มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติการสูบบุหรี่มานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก มีอาการเหนื่อยง่ายขึ้น ไม่สามารถทำกิจการต่างๆ ที่เคยทำได้ โดยอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยตลอดเวลา เกิดภาวะหายใจวายเรื้อรัง นอกจากนี้เวลาที่ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ก็อาจเกิดภาวะหายใจวายเฉียบพลันได้ง่าย

ข้อที่ควรระลึกเสมอ คือ ปอดของเราทุกคนมีความสามารถในการทำงานสำรองไว้มาก กล่าวคือ ถึงแม้จะสูญเสียการทำงานของปอดไปแล้วส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยยังอาจจะไม่มีอาการผิดปกติ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย แสดงว่าการทำงานของปอดได้เสียไปเป็นปริมาณค่อนข้างมากและไม่สามารถกลับเป็นปกติได้
 

แนวทางการรักษาโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังที่สำคัญประกอบด้วย

1. การชะลอการเสื่อมของปอด วิธีเดียวที่สามารถชะลอการเสื่อมของปอดอย่างได้ผลคือ การหยุดสูบบุหรี่

2. การแก้ไขภาวะอุดกั้นของหลอดลม อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในโรคนี้จะมีการอุดกั้นของหลอดลมอย่างถาวร ซึ่งต่างจากโรคหอบหืดที่มีการอุดกั้นเป็นๆ หายๆ

การดูแลสุขภาพทั่วไป : การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหมั่นออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำไหวอย่างสม่ำเสมอ
 

อาหารที่เหมาะแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรค COPD ควรกินอาหารเพื่อ

1. ให้มีน้ำหนักตัวคงที่

2. ให้กล้ามเนื้อหายใจทำงานได้ดี

3. เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับเชื้อโรค

การให้อาหารได้เหมาะสมจะช่วยลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดและการหายใจดีขึ้น ซึ่งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน จะถูกเผาพลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน พร้อมทั้งได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำออกมา

แต่การกินคาร์โบไฮเดรตจะผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากที่สุด และการกินไขมันจะผลิต คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยที่สุด ผู้ป่วยที่มักหอบเหนื่อยหรือมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงภายหลังจากกินอาหารที่มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตสูง ควรเปลี่ยนมากินอาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูงแทน
 

วิธีกินอาหารที่ช่วยให้การหายใจดีขึ้น

● กินอาหารที่ให้พลังงานสูงในตอนเช้า

● ควรกิน 6 มื้อเล็กๆ /วัน แทนการกิน 3 มื้อใหญ่/วัน เพื่อไม่ให้เหนื่อยง่ายขณะกินอาหาร รวมทั้งควรให้เสิร์ฟอาหารหวานหลังกินอาหารหลักไปแล้ว 30-60 นาที

● เคี้ยวช้าๆ เพื่อให้ละเอียดจะได้ไม่กลืนอากาศเข้าไปมากในขณะกลืน

● เลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่าย

● จำกัดเกลือเพราะเกลือทำให้ร่างกายบวมน้ำและหายใจเหนื่อยขึ้น

● เลี่ยงอาหารที่ผลิตแก๊สมาก เพราะจะทำให้ท้องตึงจนหายใจลำบาก เช่นบรอคโคลี่ กะหล่ำปลี ถั่ว ข้าวโพด แตงกวา แตงโม หัวหอม แอปเปิ้ล อาหารทอด น้ำอัดลม

● กินในท่านั่งเพื่อให้ปอดทำงานได้ดี

● ดื่มน้ำหลังกินอาหารเสร็จ ไม่ควรดื่มน้ำบ่อยระหว่างกินอาหารเพราะจะอิ่มเร็ว ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้เสมหะไอออกง่าย และป้องกันภาวะขาดน้ำ

● ดมออกซิเจนในขณะกินอาหาร เพราะการกินและย่อยอาหารล้วนต้องใช้ออกซิเจนทั้งสิ้น

● จำกัดการกินอาหารที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนรบกวนการดูดซึมยาบางอย่าง และทำให้ใจสั่น

● พักผ่อนหลังกินอาหารเสร็จ
 

การแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักลด : น้ำหนักลดทำให้พยากรณ์โรคไม่ดีเมื่อ body mass index (BMI)ลดลง > 21% จากน้ำหนักของคนปกติ
 

พบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีน้ำหนักลดลง มักมีน้ำหนักน้อย และเสียชีวิตได้ง่ายกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวคงที่

ผู้ป่วยที่น้ำหนักตัวลด จะเกิดผลลบคือ ง่ายต่อการติดเชื้อ อ่อนแรงและเหนื่อยง่าย กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง

ถ้าต้องการพลังงานเพิ่มหรือเพิ่มน้ำหนักควรกิน อาหารโปรตีนที่มีพลังงานสูง เส้นใยสูง มีเกลือและวิตามิน และอาหารเสริม
 

การแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเพิ่ม : ภาวะอ้วนคือ BMI เพิ่มขึ้น >20% จากค่าปกติ โดยจะทำให้ปอดต้องเพิ่มการหายใจมากขึ้นไปด้วย
 

เมื่อผู้ป่วยอ้วนจะก่อให้เกิดผลลบ คือ หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น การหายใจลำบากขึ้น มีอาการ obstructive sleep apnea มากขึ้นในคนอ้วน

ดังนั้นแนะนำให้ผู้ป่วยพยายามกินมื้อละน้อยและถี่ขึ้น เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารโป่งตึงจนกดการทำงานของกระบังลม ก็ทำให้ไม่เหนื่อยมากนัก อาหารมื้อละน้อยๆ ก็ไม่ทำให้เกิดการสูดสำลัก ใช้พลังงานในการเคี้ยวและย่อยน้อยลง รวมทั้งควรคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการออกกำลังกาย

นอกจากนี้ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมากขึ้นทำให้ระบบย่อยทำงานดีขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ควรกินเส้นใย 20-35 กรัม/วัน เพื่อให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น
 

สรุป โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยต้องออกแรงมากกว่าคนปกติ ในการหายใจ โดยเฉพาะในการหายใจออก ทำให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการหายใจ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนล้า ความต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ในขณะที่อาการของโรค COPD แย่ลงไปตามกาลเวลาก็ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเป็นระยะๆ เพื่อให้การรักษาด้วยอาหารได้เหมาะสมอันจะทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิตและพยากรณ์ของโรคดีขึ้น

การดูแลปัญหาสุขภาพตามหลักโภชนาการ

อาหารบำบัดสำหรับผู้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจอุดตันมีความสำคัญมาก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยต้องออกแรงมากกว่าคนปกติในการหายใจ โดยเฉพาะช่วงการหายใจออก
จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการหายใจและต้องใช้กล้ามเนื้อในการหายใจที่แข็งแรง การให้อาหารที่สมดุล และเหมาะสมกับสภาวะของโรคจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และพยากรณ์ของโรคดีขึ้น

เหมาะสำหรับ: ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอุกตัน (COPD) เช่น โรคปอดบวม อักเสบ โรคหอบหืด ภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง วัณโรค เป็นต้น

วิธีรับประทาน

ชงร้อน: เรสพาเวล 3ช้อนตวง ต่อน้ำร้อน 150มล. คนหรือเขย่าให้เข้ากันจะได้เรสพาเวล 200มล. (ให้พลังงาน 310กิโลแคลอรี่)

ชงเย็น/ปั่น: น้ำร้อนครึ่งแก้ว 75มล.ลงในเรสพาเวล3ช้อนตวง คนให้เข้ากันดี เติมน้ำแข็งตามชอบ 

 ผ่านการตรวจ GMP Certified ตามกฏหมาย 
 

เลขที่ อ.ย. 73-1-05055-1-0011

เลขที่ ฮาลาล 10 A777 341 01 56
 

คาร์โบไฮเดรตต่ำ,EPAสูง,พลังงานสูง,BCAA,โอเมก้า 3 สูง 

PROWELL Respa Well 300g. โปรเวล เรสพาเวล

คำเตือน เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
ควรกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ
ไม่มีผลในการป้องกัน หรือรักษาโรค

สืบเนื่องจาก พรบ.โฆษณาอาหาร ทำให้ไม่สามารถใส่สรรพคุณสินค้าได้โดยตรง
ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID : @365Wecare
หรือโทรศัพท์สอบถามโดยตรงได้ที่เบอร์ 082-619-2414 ค่ะ



Copyright © 2011-2023 www.365wecare.com | Site Map