Prowell Respa Well300g. โปรเวล เรสพาเวล

วิตามิน อาหารเสริม เวชสำอาง บำรุงผิว อุปกรณ์ดูแลสุขภาพ

เข้าสู่ระบบ    | ยังไม่มีสินค้า  
หน้าแรก  รีวิวสินค้า  ปัญหาสุขภาพ  วิธีสั่งซื้อ  ข่าวสาร  แนะนำสินค้า  สาระน่ารู้  ติดต่อเรา 
  PROWELL

Prowell Respa Well300g. โปรเวล เรสพาเวล

อาหารผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ

เรสพา เวลโปรตีนคุณภาพสูงภูมิคุ้มกัน เครื่องดื่มแทนมื้ออาหาร มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลตามหลักโภชนาการ มีโปรตีนคุณภาพสูง โอเมก้า3สูง เสริมกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อกล้ามเนื้อของการหายใจ รวมถึงกรดอะมิโนสายกิ่ง (BCAA) ทำให้ความสามารถในการรับอาหารของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้มวลกล้ามเนื้อระบบหายใจแข็งแรงขึ้น ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและภูมิคุ้มกันร่างกาย อาหารสำหรับผู้ป่วย หอบหืด ปอด และทางเดินหายใจ เพื่อ ฟื้นฟู บำรุง และให้พลังงานปอดให้แข็งแรงขึ้น
รหัสสินค้า22018

ขนาด300 g.
ราคาปกติ 1150 บาท
ผู้ผลิตPROWELL
สถานะสินค้ามีสินค้า in stock
ราคา 1 กระปุก 1,020 บาท
ราคาพิเศษ
    สั่งซื้อ  
การจัดส่ง FLASH EXPRESS ทุกวันจันทร์ - เสาร์ ตัดรอบ 11.00 น. (1-2 วันทำการ)
การชำระเงิน ดูรายละเอียด
 
รายละเอียดสินค้า
RESPA WELL ราสพาเวล เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหาร เรสพาเวล เครื่องดื่มแทนมื้ออาหาร มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลตามหลักโภชนาการ มีโปรตีนคุณภาพสูง โอเมก้า3สูง เสริมกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อกล้ามเนื้อของการหายใจ รวมถึงกรดอะมิโนสายกิ่ง(BCAA) ทำให้ความสามารถในการรับอาหารของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้มวลกล้ามเนื้อระบบหายใจแข็งแรงขึ้น ทำให้ได้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ลดคาร์บอนไดออกไซด์ลง มีใยอาหารสูง อนุมูลอิสระสูง ให้พลังงานสูง ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและภูมิคุ้มกันร่างกาย คุณสมบัติ : เป็นเครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผง ชงละลายง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างชัดเจน ตรงตามหลักทางโภชนาการ ● โปรตีนสูง เพื่อชดเชยและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อปอดเพื่อช่วยขับคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากร่างกาย และเพิ่มออกซิเจนให้กับระบบหายใจ ● คาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการย่อย ลดภาระของปอด ● ไขมันคุณภาพดีสูง (มีกรดไขมันจำเป็นครบทั้งโอเมก้า 3, 6 และ9) ซึ่งจำเป็นต่อผนังเซลล์ ฮอร์โมน สมอง และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ เป็นแหล่งพลังงานสูงที่ให้คาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด ● โคลินและอิโนซิทอล ช่วยนำไขมันและโคเลสเตอรอลไปใช้งาน ● อาร์จีนีน ช่วยให้หน้าที่ของ T-cell ดีขึ้น มีส่วนช่วยให้ระดับของ T-helper-cell สูงขึ้นอีกด้วย และยังกระตุ้นการทำงานของ macrophage และnatural killer cellได้อีกด้วย ● กรดอะมิโนสายกิ่ง BCAA ( Branch Chain Amino Acid) ได้แก่ Leucine 50% , Isoleucine 25% และ Valine 25% มีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากมีปริมาณกล้ามเนื้อลดลง และเป็นโปรตีนโมเลกุลเล็กที่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าโปรตีนรูปอื่นๆ ทำให้ความสามารถของการรับอาหารเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อหายใจและระบบภูมิคุ้มกันจะดีขึ้นร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น รวมถึงช่วยชะลอความเสื่อมของปอดให้ถูกทำลายหรือทำงานให้น้อยที่สุด ● กลูตามีน ช่วยเสริมภูมิต้านทานของลำไส้ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว (lymphocyte) มีการเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้นและทำให้ผนังเซลล์ (cell membrane) แข็งแรงและทนต่อการถูกทำลาย (phagocytosis) จึงเสริมภูมิต้านทานของลำไส้ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้ได้ยากขึ้น ● นิวคลีโอไทด์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อโรค ● สารต้านทานอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินเอ/ซี/อี/ ซีลีเนียม สังกะสี ธาตุเหล็ก ช่วยผลิตและเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านการอักเสบ และป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรคลดลง ลดอาการอักเสบของปอด อาการหอบดีขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลวได้ ● มีแร่ธาตุครบ 15ชนิด และวิตามินครบทั้ง 14 ชนิด ● ไม่เติมน้ำตาล ไม่มีแลคโตส ไม่มีกลูเท็น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD) ปอดเป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจที่มีหน้าที่หลักในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ของเลือด คือรักษาระดับของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร? โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง คือ ภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนล่างอย่างถาวร ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าหรือออกจากถุงลมปอดได้ตามปกติ ประกอบด้วย 1. โรคถุงลมโป่งพอง 2. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 3. โรคหอบหืด สาเหตุ : ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค COPD ได้แก่ การสูบบุหรี่ โดยสารในควันบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดลมและเนื้อปอด โดยจะมีเซลล์อักเสบเข้ามาสะสมอยู่ในปอด และหลั่งสารต่างๆ ที่ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด (protease) ทำให้ถุงลมปอดถูกทำลาย เกิดภาวะถุงลมโป่งพองและหลอดลมตีบตัว เนื่องจากมีการอักเสบและบวมของเยื่อบุผิว ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังตามมา อาการแสดงของโรค มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติการสูบบุหรี่มานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก มีอาการเหนื่อยง่ายขึ้น ไม่สามารถทำกิจการต่างๆ ที่เคยทำได้ โดยอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยตลอดเวลา เกิดภาวะหายใจวายเรื้อรัง นอกจากนี้เวลาที่ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ก็อาจเกิดภาวะหายใจวายเฉียบพลันได้ง่าย ข้อที่ควรระลึกเสมอ คือ ปอดของเราทุกคนมีความสามารถในการทำงานสำรองไว้มาก กล่าวคือ ถึงแม้จะสูญเสียการทำงานของปอดไปแล้วส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยยังอาจจะไม่มีอาการผิดปกติ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย แสดงว่าการทำงานของปอดได้เสียไปเป็นปริมาณค่อนข้างมากและไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ แนวทางการรักษาโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังที่สำคัญประกอบด้วย 1. การชะลอการเสื่อมของปอด วิธีเดียวที่สามารถชะลอการเสื่อมของปอดอย่างได้ผลคือ การหยุดสูบบุหรี่ 2. การแก้ไขภาวะอุดกั้นของหลอดลม อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในโรคนี้จะมีการอุดกั้นของหลอดลมอย่างถาวร ซึ่งต่างจากโรคหอบหืดที่มีการอุดกั้นเป็นๆ หายๆ การดูแลสุขภาพทั่วไป : การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหมั่นออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำไหวอย่างสม่ำเสมอ อาหารที่เหมาะแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยโรค COPD ควรกินอาหารเพื่อ 1. ให้มีน้ำหนักตัวคงที่ 2. ให้กล้ามเนื้อหายใจทำงานได้ดี 3. เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับเชื้อโรค การให้อาหารได้เหมาะสมจะช่วยลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดและการหายใจดีขึ้น ซึ่งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน จะถูกเผาพลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน พร้อมทั้งได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำออกมา แต่การกินคาร์โบไฮเดรตจะผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากที่สุด และการกินไขมันจะผลิต คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยที่สุด ผู้ป่วยที่มักหอบเหนื่อยหรือมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงภายหลังจากกินอาหารที่มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตสูง ควรเปลี่ยนมากินอาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูงแทน วิธีกินอาหารที่ช่วยให้การหายใจดีขึ้น ● กินอาหารที่ให้พลังงานสูงในตอนเช้า ● ควรกิน 6 มื้อเล็กๆ /วัน แทนการกิน 3 มื้อใหญ่/วัน เพื่อไม่ให้เหนื่อยง่ายขณะกินอาหาร รวมทั้งควรให้เสิร์ฟอาหารหวานหลังกินอาหารหลักไปแล้ว 30-60 นาที ● เคี้ยวช้าๆ เพื่อให้ละเอียดจะได้ไม่กลืนอากาศเข้าไปมากในขณะกลืน ● เลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่าย ● จำกัดเกลือเพราะเกลือทำให้ร่างกายบวมน้ำและหายใจเหนื่อยขึ้น ● เลี่ยงอาหารที่ผลิตแก๊สมาก เพราะจะทำให้ท้องตึงจนหายใจลำบาก เช่นบรอคโคลี่ กะหล่ำปลี ถั่ว ข้าวโพด แตงกวา แตงโม หัวหอม แอปเปิ้ล อาหารทอด น้ำอัดลม ● กินในท่านั่งเพื่อให้ปอดทำงานได้ดี ● ดื่มน้ำหลังกินอาหารเสร็จ ไม่ควรดื่มน้ำบ่อยระหว่างกินอาหารเพราะจะอิ่มเร็ว ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้เสมหะไอออกง่าย และป้องกันภาวะขาดน้ำ ● ดมออกซิเจนในขณะกินอาหาร เพราะการกินและย่อยอาหารล้วนต้องใช้ออกซิเจนทั้งสิ้น ● จำกัดการกินอาหารที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนรบกวนการดูดซึมยาบางอย่าง และทำให้ใจสั่น ● พักผ่อนหลังกินอาหารเสร็จ การแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักลด : น้ำหนักลดทำให้พยากรณ์โรคไม่ดีเมื่อ body mass index (BMI)ลดลง > 21% จากน้ำหนักของคนปกติ พบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีน้ำหนักลดลง มักมีน้ำหนักน้อย และเสียชีวิตได้ง่ายกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวคงที่ ผู้ป่วยที่น้ำหนักตัวลด จะเกิดผลลบคือ ง่ายต่อการติดเชื้อ อ่อนแรงและเหนื่อยง่าย กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง ถ้าต้องการพลังงานเพิ่มหรือเพิ่มน้ำหนักควรกิน อาหารโปรตีนที่มีพลังงานสูง เส้นใยสูง มีเกลือและวิตามิน และอาหารเสริม การแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเพิ่ม : ภาวะอ้วนคือ BMI เพิ่มขึ้น >20% จากค่าปกติ โดยจะทำให้ปอดต้องเพิ่มการหายใจมากขึ้นไปด้วย เมื่อผู้ป่วยอ้วนจะก่อให้เกิดผลลบ คือ หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น การหายใจลำบากขึ้น มีอาการ obstructive sleep apnea มากขึ้นในคนอ้วน ดังนั้นแนะนำให้ผู้ป่วยพยายามกินมื้อละน้อยและถี่ขึ้น เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารโป่งตึงจนกดการทำงานของกระบังลม ก็ทำให้ไม่เหนื่อยมากนัก อาหารมื้อละน้อยๆ ก็ไม่ทำให้เกิดการสูดสำลัก ใช้พลังงานในการเคี้ยวและย่อยน้อยลง รวมทั้งควรคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการออกกำลังกาย นอกจากนี้ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมากขึ้นทำให้ระบบย่อยทำงานดีขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ควรกินเส้นใย 20-35 กรัม/วัน เพื่อให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น สรุป โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยต้องออกแรงมากกว่าคนปกติ ในการหายใจ โดยเฉพาะในการหายใจออก ทำให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการหายใจ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนล้า ความต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ในขณะที่อาการของโรค COPD แย่ลงไปตามกาลเวลาก็ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเป็นระยะๆ เพื่อให้การรักษาด้วยอาหารได้เหมาะสมอันจะทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิตและพยากรณ์ของโรคดีขึ้น การดูแลปัญหาสุขภาพตามหลักโภชนาการ อาหารบำบัดสำหรับผู้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจอุดตันมีความสำคัญมาก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยต้องออกแรงมากกว่าคนปกติในการหายใจ โดยเฉพาะช่วงการหายใจออก จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการหายใจและต้องใช้กล้ามเนื้อในการหายใจที่แข็งแรง การให้อาหารที่สมดุล และเหมาะสมกับสภาวะของโรคจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และพยากรณ์ของโรคดีขึ้น เหมาะสำหรับ: ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอุกตัน (COPD) เช่น โรคปอดบวม อักเสบ โรคหอบหืด ภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง วัณโรค เป็นต้น วิธีรับประทาน ชงร้อน:เรสพาเวล 3ช้อนตวง ต่อน้ำร้อน 150มล. คนหรือเขย่าให้เข้ากันจะได้เรสพาเวล 200มล. (ให้พลังงาน 310กิโลแคลอรี่) ชงเย็น/ปั่น: น้ำร้อนครึ่งแก้ว 75มล.ลงในเรสพาเวล3ช้อนตวง คนให้เข้ากันดี เติมน้ำแข็งตามชอบ ผ่านการตรวจ GMP Certified ตามกฏหมาย เลขที่ อ.ย. 73-1-05055-1-0011 เลขที่ ฮาลาล 10 A777 341 01 56 คาร์โบไฮเดรตต่ำ,EPAสูง,พลังงานสูง,BCAA,โอเมก้า 3 สูง

RESPA WELL

ราสพาเวล เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหาร


เรสพาเวล เครื่องดื่มแทนมื้ออาหาร มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลตามหลักโภชนาการ มีโปรตีนคุณภาพสูง โอเมก้า3สูง เสริมกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อกล้ามเนื้อของการหายใจ รวมถึงกรดอะมิโนสายกิ่ง(BCAA) ทำให้ความสามารถในการรับอาหารของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้มวลกล้ามเนื้อระบบหายใจแข็งแรงขึ้น ทำให้ได้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ลดคาร์บอนไดออกไซด์ลง มีใยอาหารสูง อนุมูลอิสระสูง ให้พลังงานสูง ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและภูมิคุ้มกันร่างกาย

● อาหารสำหรับผู้ป่วย หอบหืด ปอด และทางเดินหายใจ เพื่อ ฟื้นฟู บำรุง และให้พลังงานปอดให้แข็งแรงขึ้น

คุณสมบัติ :

เป็นเครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผง ชงละลายง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างชัดเจน ตรงตามหลักทางโภชนาการ

●  โปรตีนสูง เพื่อชดเชยและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อปอดเพื่อช่วยขับคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากร่างกาย และเพิ่มออกซิเจนให้กับระบบหายใจ

●  คาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการย่อย ลดภาระของปอด

●  ไขมันคุณภาพดีสูง (มีกรดไขมันจำเป็นครบทั้งโอเมก้า 3, 6 และ9) ซึ่งจำเป็นต่อผนังเซลล์ ฮอร์โมน สมอง และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ เป็นแหล่งพลังงานสูงที่ให้คาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด

●  โคลินและอิโนซิทอล ช่วยนำไขมันและโคเลสเตอรอลไปใช้งาน

●  อาร์จีนีน ช่วยให้หน้าที่ของ T-cell ดีขึ้น มีส่วนช่วยให้ระดับของ T-helper-cell สูงขึ้นอีกด้วย และยังกระตุ้นการทำงานของ macrophage และnatural killer cellได้อีกด้วย

●  กรดอะมิโนสายกิ่ง BCAA ( Branch Chain Amino Acid) ได้แก่ Leucine 50% , Isoleucine 25% และ Valine 25% มีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากมีปริมาณกล้ามเนื้อลดลง และเป็นโปรตีนโมเลกุลเล็กที่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าโปรตีนรูปอื่นๆ ทำให้ความสามารถของการรับอาหารเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อหายใจและระบบภูมิคุ้มกันจะดีขึ้นร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น รวมถึงช่วยชะลอความเสื่อมของปอดให้ถูกทำลายหรือทำงานให้น้อยที่สุด

●  กลูตามีน ช่วยเสริมภูมิต้านทานของลำไส้ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว (lymphocyte) มีการเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้นและทำให้ผนังเซลล์ (cell membrane) แข็งแรงและทนต่อการถูกทำลาย (phagocytosis) จึงเสริมภูมิต้านทานของลำไส้ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้ได้ยากขึ้น

●  นิวคลีโอไทด์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อโรค

●  สารต้านทานอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินเอ/ซี/อี/ ซีลีเนียม สังกะสี ธาตุเหล็ก ช่วยผลิตและเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านการอักเสบ และป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรคลดลง ลดอาการอักเสบของปอด อาการหอบดีขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลวได้

●  มีแร่ธาตุครบ 15ชนิด และวิตามินครบทั้ง 14 ชนิด

●  ไม่เติมน้ำตาล ไม่มีแลคโตส ไม่มีกลูเท็น

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD)

ปอดเป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจที่มีหน้าที่หลักในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ของเลือด คือรักษาระดับของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร?

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง คือ ภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนล่างอย่างถาวร ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าหรือออกจากถุงลมปอดได้ตามปกติ ประกอบด้วย

1. โรคถุงลมโป่งพอง

2. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

3. โรคหอบหืด

สาเหตุ :  ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค COPD ได้แก่ การสูบบุหรี่ โดยสารในควันบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดลมและเนื้อปอด โดยจะมีเซลล์อักเสบเข้ามาสะสมอยู่ในปอด และหลั่งสารต่างๆ ที่ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด (protease) ทำให้ถุงลมปอดถูกทำลาย เกิดภาวะถุงลมโป่งพองและหลอดลมตีบตัว เนื่องจากมีการอักเสบและบวมของเยื่อบุผิว ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังตามมา

 

อาการแสดงของโรค
มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติการสูบบุหรี่มานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก มีอาการเหนื่อยง่ายขึ้น ไม่สามารถทำกิจการต่างๆ ที่เคยทำได้ โดยอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยตลอดเวลา เกิดภาวะหายใจวายเรื้อรัง นอกจากนี้เวลาที่ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ก็อาจเกิดภาวะหายใจวายเฉียบพลันได้ง่าย

ข้อที่ควรระลึกเสมอ คือ ปอดของเราทุกคนมีความสามารถในการทำงานสำรองไว้มาก กล่าวคือ ถึงแม้จะสูญเสียการทำงานของปอดไปแล้วส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยยังอาจจะไม่มีอาการผิดปกติ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย แสดงว่าการทำงานของปอดได้เสียไปเป็นปริมาณค่อนข้างมากและไม่สามารถกลับเป็นปกติได้
 

แนวทางการรักษาโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังที่สำคัญประกอบด้วย

1. การชะลอการเสื่อมของปอด วิธีเดียวที่สามารถชะลอการเสื่อมของปอดอย่างได้ผลคือ การหยุดสูบบุหรี่

2. การแก้ไขภาวะอุดกั้นของหลอดลม อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในโรคนี้จะมีการอุดกั้นของหลอดลมอย่างถาวร ซึ่งต่างจากโรคหอบหืดที่มีการอุดกั้นเป็นๆ หายๆ

การดูแลสุขภาพทั่วไป : การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหมั่นออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำไหวอย่างสม่ำเสมอ
 

อาหารที่เหมาะแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรค COPD ควรกินอาหารเพื่อ

1. ให้มีน้ำหนักตัวคงที่

2. ให้กล้ามเนื้อหายใจทำงานได้ดี

3. เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับเชื้อโรค

การให้อาหารได้เหมาะสมจะช่วยลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดและการหายใจดีขึ้น ซึ่งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน จะถูกเผาพลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน พร้อมทั้งได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำออกมา

แต่การกินคาร์โบไฮเดรตจะผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากที่สุด และการกินไขมันจะผลิต คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยที่สุด ผู้ป่วยที่มักหอบเหนื่อยหรือมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงภายหลังจากกินอาหารที่มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตสูง ควรเปลี่ยนมากินอาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูงแทน
 

วิธีกินอาหารที่ช่วยให้การหายใจดีขึ้น

กินอาหารที่ให้พลังงานสูงในตอนเช้า

ควรกิน 6 มื้อเล็กๆ /วัน แทนการกิน 3 มื้อใหญ่/วัน เพื่อไม่ให้เหนื่อยง่ายขณะกินอาหาร รวมทั้งควรให้เสิร์ฟอาหารหวานหลังกินอาหารหลักไปแล้ว 30-60 นาที

เคี้ยวช้าๆ เพื่อให้ละเอียดจะได้ไม่กลืนอากาศเข้าไปมากในขณะกลืน

เลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่าย

จำกัดเกลือเพราะเกลือทำให้ร่างกายบวมน้ำและหายใจเหนื่อยขึ้น

เลี่ยงอาหารที่ผลิตแก๊สมาก เพราะจะทำให้ท้องตึงจนหายใจลำบาก เช่นบรอคโคลี่ กะหล่ำปลี ถั่ว ข้าวโพด แตงกวา แตงโม หัวหอม แอปเปิ้ล อาหารทอด น้ำอัดลม

กินในท่านั่งเพื่อให้ปอดทำงานได้ดี

ดื่มน้ำหลังกินอาหารเสร็จ ไม่ควรดื่มน้ำบ่อยระหว่างกินอาหารเพราะจะอิ่มเร็ว ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้เสมหะไอออกง่าย และป้องกันภาวะขาดน้ำ

ดมออกซิเจนในขณะกินอาหาร เพราะการกินและย่อยอาหารล้วนต้องใช้ออกซิเจนทั้งสิ้น

จำกัดการกินอาหารที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนรบกวนการดูดซึมยาบางอย่าง และทำให้ใจสั่น

พักผ่อนหลังกินอาหารเสร็จ
 

การแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักลด : น้ำหนักลดทำให้พยากรณ์โรคไม่ดีเมื่อ body mass index (BMI)ลดลง > 21% จากน้ำหนักของคนปกติ
 

พบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีน้ำหนักลดลง มักมีน้ำหนักน้อย และเสียชีวิตได้ง่ายกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวคงที่

ผู้ป่วยที่น้ำหนักตัวลด จะเกิดผลลบคือ ง่ายต่อการติดเชื้อ อ่อนแรงและเหนื่อยง่าย กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง

ถ้าต้องการพลังงานเพิ่มหรือเพิ่มน้ำหนักควรกิน อาหารโปรตีนที่มีพลังงานสูง เส้นใยสูง มีเกลือและวิตามิน และอาหารเสริม
 

การแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเพิ่ม : ภาวะอ้วนคือ BMI เพิ่มขึ้น >20% จากค่าปกติ โดยจะทำให้ปอดต้องเพิ่มการหายใจมากขึ้นไปด้วย
 

เมื่อผู้ป่วยอ้วนจะก่อให้เกิดผลลบ คือ หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น การหายใจลำบากขึ้น มีอาการ obstructive sleep apnea มากขึ้นในคนอ้วน

ดังนั้นแนะนำให้ผู้ป่วยพยายามกินมื้อละน้อยและถี่ขึ้น เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารโป่งตึงจนกดการทำงานของกระบังลม ก็ทำให้ไม่เหนื่อยมากนัก อาหารมื้อละน้อยๆ ก็ไม่ทำให้เกิดการสูดสำลัก ใช้พลังงานในการเคี้ยวและย่อยน้อยลง รวมทั้งควรคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการออกกำลังกาย

นอกจากนี้ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมากขึ้นทำให้ระบบย่อยทำงานดีขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด ควรกินเส้นใย 20-35 กรัม/วัน เพื่อให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น
 

สรุป โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยต้องออกแรงมากกว่าคนปกติ ในการหายใจ โดยเฉพาะในการหายใจออก ทำให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการหายใจ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนล้า ความต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ในขณะที่อาการของโรค COPD แย่ลงไปตามกาลเวลาก็ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเป็นระยะๆ เพื่อให้การรักษาด้วยอาหารได้เหมาะสมอันจะทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิตและพยากรณ์ของโรคดีขึ้น

การดูแลปัญหาสุขภาพตามหลักโภชนาการ

อาหารบำบัดสำหรับผู้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจอุดตันมีความสำคัญมาก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยต้องออกแรงมากกว่าคนปกติในการหายใจ โดยเฉพาะช่วงการหายใจออก
จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการหายใจและต้องใช้กล้ามเนื้อในการหายใจที่แข็งแรง การให้อาหารที่สมดุล และเหมาะสมกับสภาวะของโรคจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และพยากรณ์ของโรคดีขึ้น

เหมาะสำหรับ: ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอุกตัน (COPD) เช่น โรคปอดบวม อักเสบ โรคหอบหืด ภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง วัณโรค เป็นต้น

วิธีรับประทาน

ชงร้อน: เรสพาเวล 3ช้อนตวง ต่อน้ำร้อน 150มล. คนหรือเขย่าให้เข้ากันจะได้เรสพาเวล 200มล. (ให้พลังงาน 310กิโลแคลอรี่)

ชงเย็น/ปั่น: น้ำร้อนครึ่งแก้ว 75มล.ลงในเรสพาเวล3ช้อนตวง คนให้เข้ากันดี เติมน้ำแข็งตามชอบ 

 ผ่านการตรวจ GMP Certified ตามกฏหมาย 
 

เลขที่ อ.ย. 73-1-05055-1-0011

เลขที่ ฮาลาล 10 A777 341 01 56
 

คาร์โบไฮเดรตต่ำ,EPAสูง,พลังงานสูง,BCAA,โอเมก้า 3 สูง 

Prowell Respa Well300g. โปรเวล เรสพาเวล

Prowell Respa Well300g. โปรเวล เรสพาเวล

คำเตือน เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
ควรกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ
ไม่มีผลในการป้องกัน หรือรักษาโรค

สืบเนื่องจาก พรบ.โฆษณาอาหาร ทำให้ไม่สามารถใส่สรรพคุณสินค้าได้โดยตรง
ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID : @365Wecare
หรือโทรศัพท์สอบถามโดยตรงได้ที่เบอร์ 082-619-2414 ค่ะ



Copyright © 2011-2023 www.365wecare.com | Site Map