Amino Acid (กรดอะมิโน) คือ หน่วยที่เล็กของโปรตีน เพื่อไปสร้างเนื้อเยื่อต่างๆและให้พลังงานแก่ร่างกาย สำหรับกรดอะมิโนที่ใช้ในร่างกายมี 20 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กรดอะมิโนชนิดจำป็น (Essential amino acids) มี 9 ชนิด และกรดอะมิโนชนิดไม่จำเป็น (Nonessential amino acids) มี 11 ชนิด หากเราได้รับกรดอะมิโนน้อยไป ผลที่เกิดตามมา คือ จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตช้า อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวและน้ำหนักลด มีอาการเบื่ออาหาร มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อต่างๆง่าย เป็นต้น
Amino Acid (กรดอะมิโน) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
✿ กรดอะมิโนชนิดจำเป็น (Essential amino acids) เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของกรดอะมิโนเหล่านั้นให้เพียงพอ ร่างกายจึงจะสร้างขึ้นมาได้ ได้แก่ ฮีสทีดีน(Histidine) ไอโซลิวซีน(Isoleucine) ลิวซีน(Leucine) ไลซีน(Lysine) เมทไธโอนีน(Methionine) ฟีนิลอะลานีน(Phenylalanine) ทรีโอนีน(Threonine) ทริปโตเฟน(Tryptophan) วาลีน(Valine)
✿ กรดอะมิโนชนิดไม่จำเป็น (non-Essential amino acids) เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร โดยสร้างจากกรดอะมิโนชนิดจำเป็น
บทบาทของกรดอะมิโนในร่างกายมนุษย์คืออะไร
✿ กรดอะมิโนซึ่งเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโปรตีนไม่เพียง แต่ประกอบเป็นร่างกายของเรา แต่ยังควบคุมการทำงานที่สำคัญส่วนใหญ่ของร่างกายของเราด้วย ตัวอย่างโปรตีนที่พบบ่อย ได้แก่ คอลลาเจนเคราตินฮีโมโกลบินเป็นต้น
✿ กรดอะมิโนยังควบคุมและรักษาร่างกายของเราโดยการกลายเป็นเอนไซม์หรือฮอร์โมน ฮอร์โมนที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ไทรอยด์อินซูลินอะดรีนาลินเป็นต้น
✿ หน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของกรดอะมิโนคือการให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยปกติร่างกายที่แข็งแรงจากการรับประทานอาหารโดยเฉลี่ยจะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลัก แต่โปรตีนและกรดอะมิโนสามารถใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายได้เมื่อแหล่งที่มาหลักหมดลงเนื่องจากการออกกำลังกายอย่างเข้มงวด

Amino Acid มีความสำคัญอย่างไร
กรดอะมิโนแต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น Histidine สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว Leucine ช่วยสมานบาดแผลและกระดูกที่หักให้หายเร็ว ลดการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อ Lysine ยับยั้งไวรัส รักษา โรคเริม ทำให้กล้ามเนื้อใช้ออกซิเจนได้ดีขึ้น ลดความเหนื่อยล้า, Methionine เป็นสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด Tryptophan เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาทซีโรโตนิน ช่วยให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย เป็นต้น ดังนั้น หากเราได้รับกรดอะมิโนที่ไม่ครบถ้วนและไม่เพียงพอ ก็จะส่งกระทบผลต่อร่างกายได้ กรดอะมิโนที่พบในอาหาร พบว่า ไข่ มีกรดอะมิโนจำเป็นที่สมบูรณ์ครบถ้วนต่อความต้องการของร่างการวมถึงโปรตีนจากสัตว์ทั่วไป จำพวก เนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม และอื่นๆ ก็มีปริมาณกรดอะมิโนที่เพียงพอค่ะ ส่วนแหล่งที่มาของกรดอะมิโนในที่พบในพืช ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว เมล็ดธัญพืช ถั่ว และเมล็ดพืช แต่ถ้าว่าเลือกรับประทานแค่เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งก็จะได้รับปริมาณกรดอะมิโนที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรืออยากได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนจากพืชก็ควรสามารถตรวจสอบปริมาณของชนิดอาหารนั้นๆ เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายของอาหารประเภทพืชตระกูลถั่วต่างๆ และธัญพืช
ความสำคัญของกรดอะมิโน (amino acid)
✿ สร้างโครงสร้างของเซลล์
✿ มีบทบาทสำคัญในการขนส่งและการจัดเก็บสารอาหาร
✿ กรดอะมิโนมีอิทธิพลต่อหน้าที่ของอวัยวะ ต่อม เส้นเอ็น และเส้นเลือด
✿ มีความจำเป็นในการสร้างเอนไซม์หรือน้ำย่อยต่างๆ ร่วมถึงฮอร์โมน และสารสื่อประสาท
✿ มีความจำเป็นสำหรับการรักษาบาดแผลและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
✿ ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังและเส้นผมตลอดจนการกำจัดของเสียประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ
✿ กระบวนการย่อยสลายของสารอาหารภายในเซลล์ทั่วร่างกาย
วิธีรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง พร้อมอาหาร
13-2-00763-2-0074
Coenzyme Q10 เป็นสารธรรมชาติในร่างกายพบได้ในเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย มีหน้าที่หลักคือให้พลังงานแก่เซลล์ทุกเซลล์และเป็นสารสำคัญในกระบวนการ metabolism ของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์อนุมูลอิสระได้ อวัยวะที่มักพบ Coenzyme Q10 มากเป็นอวัยวะที่ต้องการใช้พลังงานสูง เช่น หัวใจ ม้าม ไต ปอด กล้ามเนื้อ เป็นต้น ถ้าร่างกายเรามี Coenzyme Q10 ที่ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยเนื้อตัวหรืออาจจะเป็นสาเหตุต่อการเกิดโรคบางโรค เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะไทรอยด์สูง เป็นต้น
โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) สารลดอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์มากกว่าการบำรุงผิว
โคเอนไซม์ คิวเทน พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกายที่มีชีวิต และมีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโคเอนไซม์ คิวเทน เป็นสารที่มีคุณสมบัติละลายในไขมัน โดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (membrane) ของไมโตคอนเดรีย ที่ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานพื้นฐานของเซลล์ สามารถพบโคเอนไซม์ คิวเทน มากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง เช่น หัวใจ สมอง ตับ ไต กล้ามเนื้อ การมีระดับ โคเอนไซม์ คิวเทนในร่างกายเพียงพอ จะทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานเป็นปกติอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากความสำคัญในการสร้างพลังงานพื้นฐานของเซลล์ต่างๆ แล้ว ยังมีคุณสมบัติเป็นสารลดอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายอีกด้วย
บทบาทสำคัญของ CoQ10 มี 2 กลุ่ม
1. โคเอนไซม์คิวเท็น กับสุขภาพของหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลวและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของมนุษย์ เกิดจากการสะสมของไขมันโดยตรงบนผนังหลอดเลือด หรือภาวะหลอดเลือดแข็งตัวโคเอนไซม์คิวเท็นมีบทบาทสำคัญมากในการลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว โดยจำกัดปริมาณของไขมันที่จะไปสะสมบนผนังหลอดเลือด นักวิจัยบางท่านเชื่อว่า การเสริมวิตามินอี (Vitamin E) ร่วมกับ โคเอนไซม์คิวเท็น ให้ผลในการลดความเสี่ยงและเพิ่มการป้องกันภาวะหลอดเลือดอุดตันได้มากกว่า การได้รับเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า โคเอนไซม์คิวเท็นสามารถช่วยและลดการสะสมของโคเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มเอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol) ได้ด้วย ผู้ที่มีอาการปวดเค้นหน้าอก (Angina) การเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโคเอนไซม์คิวเท็น สามารถลดอาการปวดเค้นหน้าอกลงได้ และยังมีความสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นด้วย
2. โคเอนไซม์คิวเท็น อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ร่างกายผลิตอนุมูลอิสระขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิ กระบวนการอักเสบภายในร่างกาย การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สิ่งแวดล้อม ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในร่างกาย แหล่งของอนุมูลอิสระ ได้แก่ มลภาวะ การออกกำลังกาย แสงแดด การสูบบุหรี่ ยาปราบศัตรูพืช รังสีเอ็กซ์ (x-ray) และอาหารทอด เป็นต้น ผิวหนังของคนเรามีสารต้านออกซิเดชันอยู่จำนวนมาก ได้แก่ วิตามินอี โคเอนไซม์คิวเท็น เป็นต้น แสงแดดมีผลให้ปริมาณของสารอนุมูลอิสระลดลง การมีอายุเพิ่มขึ้นพบว่ามีการสร้างโคเอนไซม์คิวเท็นลดลงเช่นกัน จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอยเมื่อมีอายุมากขึ้น โคเอนไซม์คิวเท็นมีบทบาทสำคัญในการเป็นสารอนุมูลอิสระ ทั้งที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาในร่างกายและจากสภาวะภายนอก จึงป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ที่กล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงปกป้องการทำลายดีเอ็นเอ (DNA) ได้ด้วย
Coenzyme Q10 ดีอย่างไร
เนื่องจากอนุมูลอิสระสามารถเกิดได้ตลอดเวลาในร่างกายเราไม่ว่าจะเป็นจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร การต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมภายนอกของร่างกาย การได้รับมลพิษ การสูบบุหรี่ แสงแดด สารเคมี เป็นต้น ทำให้เซลล์ในร่างกายบางส่วนได้รับความเสียหายหรือเซลล์ตายได้ จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่รับประทาน Coenzyme Q10 จะมีการสังเคราะห์สารอนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้แสงแดดสามารถกระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระในชั้นผิวได้ ยิ่งอายุมากขึ้นจะส่งผลให้ผิวหนังบางลง รังสี UV จากแสงแดดจากทำร้ายผิวและก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่มากขึ้น ซึ่งอนุมูลอิสระในชั้นผิวจะสร้างเอนไซม์มาสลายคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) ลดความแข็งแรง ความยืดหยุ่น เกิดริ้วรอย โดย Coenzyme Q10 จะช่วยลดอนุมูลอิสระเหล่านี้ ส่งผลให้ชั้นผิวแข็งแรงขึ้น ริ้วรอยดูตื่นขึ้น ช่วยชะลอวัย
ขนาดรับประทานที่แนะนำ
รับประทานครั้งละ 1 ซอฟท์เจล วันละ 1 ครั้ง พร้อมอาหาร
ควรรับประทานวันละ 50-150 มิลลิกรัม หลังอาหารและดื่มน้ำตามเยอะๆ ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป โดยประสิทธิภาพจะแปรผันตรงกับปริมาณ Coenzyme Q10 ที่ทานเข้าไป
ข้อควรระวัง
✿ เด็กและสตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
✿ Coenzyme Q10 เป็นสารที่ดูดซึมผ่านทางเดินอาหารยาก แต่จะดูดซึมได้ดีมากขึ้นในสภาวะที่มีไขมัน ดังนั้นในการรับประทาน จึงควรทานในมื้ออาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบเสมอ ไม่ควรทานตอนท้องว่าง
✿ การรับประทานเพื่อจุดมุ่งหมายในการช่วยดูแล ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ผู้ใช้ยาหรืออาหารเสริมตัวอื่นร่วม
✿ เลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ ในช่วงใช้ Coenzyme Q10 เพราะอาจทำให้ตัวสารมีประสิทธิภาพลดลง
✿ อาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้
วิธีรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1 ซอฟท์เจล วันละ 1 ครั้ง พร้อมอาหาร
เลขที่จดแจ้ง / เลข อย.13-2-00763-2-0077