SOMA SM-250.5 Aluminium ล้อ 14 นิ้ว เหลือง โซม่า รถเข็นผู้ป่วย

วิตามิน อาหารเสริม เวชสำอาง บำรุงผิว อุปกรณ์ดูแลสุขภาพ

เข้าสู่ระบบ    | ยังไม่มีสินค้า  
หน้าแรก  รีวิวสินค้า  ปัญหาสุขภาพ  วิธีสั่งซื้อ  ข่าวสาร  แนะนำสินค้า  สาระน่ารู้  ติดต่อเรา 
  SOMA

SOMA SM-250.5 Aluminium ล้อ 14 นิ้ว เหลือง โซม่า รถเข็นผู้ป่วย

รถเข็นพับได้ น้ำหนักเบา ประหยัด

รถเข็นน้ำหนักเบา พับได้ ดีไซน์สวย ราคาประหยัด เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ จัดส่งทุกวัน
รหัสสินค้า23672

ขนาด1 คัน
ราคาปกติ 6800 บาท
ผู้ผลิตSOMA
สถานะสินค้ามีสินค้า in stock
PROMOTION       ราคาพิเศษ
ราคา 1 ชิ้น 5,690 บาท
ราคาพิเศษ
    สั่งซื้อ  
การจัดส่ง FLASH EXPRESS ทุกวันจันทร์ - เสาร์ ตัดรอบ 11.00 น. (1-2 วันทำการ)
การชำระเงิน ดูรายละเอียด
 
รายละเอียดสินค้า

โซม่า soma รุ่น SM 250.5 โครงเหลือง เบาะดำ “พกพาสะดวก ขนาดเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา”

 

- โครงรถผลิตจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์น้ำหนักเบา 

- ล้อหน้า 6 นิ้ว ล้อหลังเป็นล้อแม็กยางตัน 14 นิ้ว 

- เบาะผ้ากว้าง 16 นิ้ว 

- โครงสร้าง cross bar ใต้เบาะรับน้ำหนักสูงสุด 100 กิโลกรัม

- เบรกมือ

- รถเข็นหนัก 9.9 กิโลกรัม 

- พับหนักพิงหลังและสวิงเก็บที่พักเท้าไว้ด้านข้างได้

- รับประกันโครงรถ 1 ปี

เงื่อนไขการรับประกันสินค้า

 

1. บริษัท รับประกันความเสียหายซึ่งเกิดจากความบกพร่องของชิ้นส่วนที่อยู่ในระยะ

รับประกัน หรือการชำรุดเสียหายซึ่งเกิดจากความผิดพลาดจากมาตรฐานการผลิต ตั้งแต่แรกส่ง ภายใน 30 วัน เราจะเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้ทันที ถ้าเรามีสินค้าในสต๊อคแต่ถ้าสินค้าหมดสต๊อค รอ เปลี่ยนสินค้าให้เมื่อสินค้าใหม่เข้ามา

 

2. การรับประกันไม่ครอบคลุมความเสียหายอันกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ เจตนาทำลายของผู้ใช้จากการใช้งานไม่ถูกต้อง, ใช้ผิดวิธี การเสียหายที่ได้จากภัยธรรมชาติ

 

3. หากสิ้นสุดการรับประกัน ทางบริษัท คิดค่าบริการอะไหล่ตามตกลง

 

 

 

บทความน่ารู้เกี่ยวกับการใช้รถเข็น(1)

 

 

 

(หัวข้อที่ 1)

ขั้นตอนแรกของการให้การดูแล : ทักษะการใช้รถเข็นที่ประหยัดแรงและปลอดภัย

สำหรับผู้ดูแลแล้ว ความเครียดจากการให้การดูแล เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ยากที่จะรับรู้ได้ด้วยตาเปล่า อีกทั้งความเจ็บป่วยที่อาจเกิดกับร่างกายของผู้ดูแลซึ่งมักถูกมองข้าม นั่นคือ ความเสียหายของกล้ามเนื้อและข้อต่อของร่างกาย ด้วยทักษะของการดูแลมักเน้นที่ “ความเหมาะสม” ไม่ใช่การใช้กำลังมากเกินไป หากผู้ดูแลออกแรงอย่างไม่เหมาะสม ด้วยมุมของเอวและหลังหรือขยับท่าทางไม่ถูกต้อง ในระยะยาวร่างกายจะเกิดการอักเสบเรื้อรัง ตั้งแต่อาการปวดเอว ปวดหลังถึงขั้นได้รับบาดเจ็บจากอาการเจ็บกระดูกสันหลัง ข้อต่อหรือแม้กระทั่งเส้นประสาท ดังนั้นการอาศัยความช่วยเหลือจากอุปกรณ์ช่วยที่ดีบวกกับทักษะการใช้งานรถเข็นที่ประหยัดแรงและปลอดภัย ไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระของผู้ดูแลให้น้อยลง ยังเป็นการป้องกันร่างกายของตนเองไม่ให้ได้รับบาดเจ็บอีกด้วย

 

การป้องกัน “อาการบาดเจ็บสะสมของกล้ามเนื้อและกระดูก”

ก่อนอื่นควรเลือกรถเข็นแบบเข็นมือสำหรับให้การดูแล ซึ่งการออกแบบจะอาศัยมุมมองจากผู้ให้การดูแลเป็นส่วนใหญ่ เช่น ระดับของเบรคที่ไม่ต้องก้มลงเวลาเบรครถเข็น ตำแหน่งของมือจับที่ช่วยประหยัดแรงและเข็นได้อย่างง่ายดาย บวกกับทักษะการเข็นที่ถูกต้องดังต่อไปนี้

(1) วิธีการเข็น – เมื่อเข็นรถเข็นต้องรักษาช่วงเอวให้ตั้งตรง

(2) การขึ้นลงรถเข็น – เมื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการขึ้นหรือลงรถเข็น จำเป็นต้องเบรครถและถอดที่พักเท้าออก ทั้งนี้นอกจากเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ป่วยสะดุดหกล้มแล้ว ยังช่วยลดระยะห่างของรถเข็นลงซึ่งเป็นการช่วยลดภาระที่เกิดขึ้นแก่ช่วงเอวด้วย

(3) การขึ้นลงพื้นที่เป็นขั้นบันไดหรือต่างระดับ – เวลาที่ต้องเผชิญกับพื้นที่ยกขึ้นสูงต่างระดับจะต้องใช้ “แท่นเหยียบข้ามพื้น” เพื่อประกอบการใช้งาน ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้อมือได้รับบาดเจ็บจากการออกแรงยกรถเข็นมากเกินไป

(4) การเคลื่อนย้ายรถเข็น – หากจำเป็นต้องยกรถเข็นขึ้นทั้งคัน เช่น การนำรถเข็นใส่ไว้ที่กระโปรงหลังรถยนต์ หากรถเข็นสามารถถอดแยกชิ้นส่วนได้ก็ควรถอดชิ้นส่วนบางส่วนของรถเข็นออกก่อน เพื่อลดน้ำหนักโดยรวมทั้งมวล ทางที่ดีที่สุดคือการหาผู้ช่วยในการยก

 

 

(หัวข้อที่ 2)

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถเข็นไปเตียงและจากเตียงไปรถเข็น

สำหรับผู้ป่วยที่นั่งรถเข็น การเคลื่อนย้ายตำแหน่งเป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก และหากเคลื่อนย้ายอย่างไม่ถูกวิธีจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงสำหรับการลื่นหกล้ม 

(1) การเคลื่อนย้ายจากรถเข็นไปเตียง ให้ผู้ดูแลเข็นผู้ป่วยไปชิดกับขอบเตียง ด้านหน้ารถเข็นทำมุม 45 องศากับขอบเตียง ล็อคเบรครถเข็นและพับเก็บที่พักเท้า จากนั้นให้ผู้ป่วยเอนตัวไปด้านหน้าแล้วค่อยๆลุกขึ้นยืน มือหนึ่งจับที่ขอบเตียง อีกมือจับผู้ดูแลแล้วค่อยๆหมุนตัว หย่อนสะโพกลงบนเตียง โดยผู้ดูแลจะต้องคอยจับผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้ลื่นหรือสะดุดล้ม

(2) การเคลื่อนย้ายจากเตียงไปรถเข็น ให้ผู้ดูแลวางตำแหน่งรถเข็นเฉียงอยู่ด้านหน้าทำมุม 45 องศากับเตียง ล็อคเบรครถเข็นและเก็บที่พักเท้า จากนั้นให้ผู้ป่วยเอนตัวไปด้านหน้าแล้วค่อยๆลุกขึ้นยืน มือหนึ่งจับที่พักแขน อีกมือจับผู้ดูแลแล้วค่อยๆหมุนตัว หย่อนสะโพกลงที่รถเข็น โดยผู้ดูแลจะต้องคอยจับผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้ลื่นหรือสะดุดล้ม 

 

เพื่อความปลอดภัย ช่วยประหยัดแรงและสะดวกในการเคลื่อนย้ายร่างกายมากยิ่งขึ้น รถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยที่มีการออกแบบถูกต้องและสอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้ใช้จะต้องอำนวยความสะดวกให้ได้มากที่สุด โดยรถเข็นที่มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายร่างกาย(Transfer) ควรมีคุณสมบัติดังนี้ 1.ที่พักแขนสามารถยกขึ้นหรือถอดออกได้ 2.ที่วางเท้าสามารถพับหรือสวิงเข้าออกกระทั่งถอดออกได้ ซึ่งทำให้ด้านข้างและด้านหน้าของรถเข็นมีที่ว่างเพิ่มขึ้น เป็นการช่วยลดระยะห่างระหว่างที่นั่งของรถเข็นกับจุดที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไป เช่น เตียง ด้วยรถเข็นที่มีคุณสมบัติดังนี้จะสามารถทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้โดยใช้แรงน้อยที่สุด รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดการลื่นหกล้มอีกด้วย

โดยรถเข็นรุ่นที่เหมาะแก่การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย มีคุณสมบัติที่จำเป็นครบถ้วนได้แก่ Karma wheelchair ECON 800

SOMA SM-250.5 Aluminium ล้อ 14 นิ้ว เหลือง โซม่า รถเข็นผู้ป่วย



Copyright © 2011-2023 www.365wecare.com | Site Map