ต่อมลูกหมากต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมาก คือ อวัยวะส่วนหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ขนาดเท่า ๆ กับผลวอลนัท หนักประมาณ 20 กรัม ทำหน้าที่สร้างของเหลวที่มีขาวลักษณะคล้ายน้ำนมที่เป็นส่วนหนึ่งประมาณ 30 % ของน้ำอสุจิ รวมถึงสร้างเคมีและอาหารสำคัญบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอสุจิ ( ต่อมลูกหมากไม่ได้สร้างอสุจิ)
เนื่องจากต่อมลูกหมากจะห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ดังนั้นเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นทำให้ไปกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะติดขัด เมื่อปล่อยไว้อาจทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นเนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นจากการที่ท่อปัสสาวะตีบลงเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบ ๆ ซึ่งต่อมาอาจจะทำให้กระเพาะปัสสาวะกักเก็บน้ำปัสสาวะได้น้อยลง ผู้ป่วยจึงมีอาการปัสสาวะบ่อย ๆ
โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติ และการเกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับอายุ ประมาณ 50 % ของผู้ป่วยเป็นชายที่อายุมากกว่า 60 ปี
ยังไม่พบว่ามีความสัมพันธ์หรือหลักฐานที่แสดงชัดว่าโรคต่อมลูกหมากโตจะนำไปสู่การเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างไรก็ตามอาการความผิดปกติทั้งในโรคต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากมีความคล้ายคลึงกัน แต่โรคต่อมลูกหมากโตนั้นสามารถรักษาได้
สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต
- ยังไม่มีหลักฐานยืนยันสาเหตุที่แน่ชัด
- อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต
- ปัสสาวะบ่อยและต้องปัสสาวะทันที
- ปัสสาวะนาน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยด ๆ
- ปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
- ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
- อาจมีเลือดปนในปัสสาวะ
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
- หากมีอาการเพียงเล็กน้อยไม่ต้องรักษา
- ควรงดดื่มแอลกอฮอล์หรือของเหลวในปริมาณที่มากเกินไป โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
- แพทย์อาจสั่งยาที่ช่วยให้ต่อมลูกหมากที่ขนาดเล็กลง
- ใช้คลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นความถี่วิทยุในการรักษา
- รักษาด้วยการผ่าตัด
และก็อีกเช่นเคย สำหรับท่านที่ต้องการป้องกัน และบรรเทาอาการต่อมลูกหมากโตด้วยวิธีธรรมชาติ เราก็มีสาระดี ๆ มานำเสนอเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับทุกท่านค่ะ
ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตนั้นส่วนใหญ่จะใช้ยาหรือการผ่าตัดในการรักษา อย่างไรก็ดี แนวคิดใหม่ในการรักษาที่เน้นใช้อาหาร และอาหารเสริมเพื่อบรรเทาอาการผิดปกติที่บริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่สัมพันธ์กับโรคต่อมลูกหมากโต บทความนี้ไม่เพียงแต่ต้องการนำเสนอการค้นพบใหม่ ๆ แต่ยังจะพิสูจน์ถึงข้อยืนยันในประสิทธิภาพอาหารและอาหารเสริมในการป้องกันและรักษาโรคต่อมลูกหมากโตดังกล่าว
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตวิธีใหม่
บทความนี้เขียนโดย คุณหมอจีโอวานนี่ เอสปิโนซา ( Dr. Geovanni Espinosa ) ผู้อำนวยการศูนย์ดูแลไตแบบองค์รวม ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย Langone มลรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเน้นการใช้อาหารเสริมในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตโดยใช้เดี่ยวหรือร่วมกับการรับประทานยา คุณหมอให้คำอธิบายว่า การทำการเปลี่ยนแปลงอาหารการกินรวมทั้งการรับประทานอาหารเสริมสามารถป้องกัน บรรเทาอาการ หรือแม้แต่รักษาโรคต่อมลูกหมากโตได้โดยมีหลักฐานการศึกษาวิจัยยืนยัน ซึ่งอาหารและอาหารเสริมดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
• โปรตีนจากสัตว์นั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคต่อมลูกหมากโตมากกว่าโปรตีนจากพืช ดังนั้นท่านชายจึควรเพิ่มปริมาณโปรตีนจากพืชให้มากขึ้น พืชที่ให้โปรตีนได้แก่ พืชจำพวกถั่ว ควิโน ส่วนปลาจากทะเลเขตหนาวเช่น ซาลมอน หรือ เฮอร์ริงนั้นจะมีโปรตีนต่ำกว่าเล็กน้อย
• ผักต่าง ๆ ที่ช่วยในการป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งมีการศึกษายืนยันผลดังกล่าว โดยเมื่อรับประทานเหล่านี้ในปริมาณ 4 ส่วนต่อวันเป็นอย่างน้อยจะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่อมลูกหมากโตอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานผักน้อยกว่า 1 ส่วนต่อวัน
• การรับประทานผักและการออกกำลังกายเป็นเกราะช่วยป้องกันการเกิดเป็นต่อมลูกหมากโตได้ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน The Physician and Sportsmedicine รายงานว่า การออกกำลังที่ใช้ออกซิเจนทุกวันร่วมกับการรับประทานอาหารไขมันต่ำ มีเส้นใยมาก สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อมลูกหมากโตได้
• จะเป็นการดีเป็นอย่างยิ่งหากเราสามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งขัดขาวไม่ว่าจะเป็น ขนมปัง เส้นพาสต้า ข้าวขัดขาว มีการศึกษาที่ทำในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตกว่า 1300 รายพบว่าการรับประทานแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตขัดขาวสัมพันธ์หรือทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่อมลูกหมากโต โดยเชื่อว่าค่าไกลซีมิคนั้นเป็นสาเหตุของการทำให้ต่อมลูกหมากโต
การรักษาและอาหารรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
มีวิธีธรรมชาติหลากหลายวิธีในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตไม่ว่าจะเป็นอาหาร สมุนไพร ที่มีการศึกษาวิจัยยืนยันถึงผลการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตดังกล่าว ดังนี้
• เบตา-สิโตสเตอรอล ช่วยบรรเทาอาการของโรคต่อมลูกหมากโต มีการศึกษาในผู้ชายมากกว่า 500 คนที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตโดยให้รับประทาน เบตา-สิโตสเตอรอล ผลการศึกษาพบว่า เบตา-สิโตสเตอรอล ช่วยบรรเทาที่เกิดเนื่องจากระบบการปัสสาวะผิดปกติจาก โรคต่อมลูกหมากโต (Wilt 1999)
• แครนเบอร์รี ช่วยป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตได้
• เคอร์คูมิน ขมิ้นชัน เป็นเครื่องเทศอย่างหนึ่งที่มีสารเคอร์คูมินซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ทรงประสิทธิภาพ เป็นสารต้านการอักเสบโดยการไปลดสารตั้งต้นขบวนการอักเสบ จึงบรรเทาอาการอักเสบได้
• ชาเขียว มีสารที่ชื่อว่า catechins ซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากและมีผลการรักษาที่ยืนยันว่าช่วยบรรเทาอาการโรคต่อมลูกหมากโตได้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียและไวรัส catechins ยังช่วยลดระดับของ dihydrotestosterone (DHT) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดโรคต่อมลูกหมากโต
![]() • Pygeum เป็นสารสกัดสมุนไพรที่ได้จาก ต้น Prunus Africana เป็นต้นไม้ที่มีสีเขียวชอุ่มขนาดใหญ่ที่พบในภาคกลางและภาคใต้ของแอฟริกา สารสกัดจากเปลือก pygeum มีสารหลายคิดว่าจะเป็นประโยชน์ในต่อมลูกหมากสุขภาพ สารสกัดจาก Pygeum ถูกใช้มานานกว่า 40 ปีในฝรั่งเศสเยอรมนีและออสเตรียสำหรับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต ซึ่งมีการศึกษายืนยันว่าสามารถบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคต่อมลูกหมากโตได้อย่างมีนัยสำคัญ (Ishani 2000)
• Quercetin เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์และต้านการอักเสบที่ทรงประสิทธิภาพ พบได้ใน องุ่นแดง หัวหอม เป็นต้น ส่วนผสมระหว่าง quercetin และ ยาฟิแนสเทอไรด์(ยารักษาโรคต่อมลูกหมากโต) ให้ผลอย่างชัดเจนในการลดขนาดของต่อมลูกหมาก (Ma 2004)
• Saw palmetto เป็นที่สนใจในเรื่องของประสิทธิภาพในการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ผลจากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า สารสกัดจาก saw palmetto สามารถยับยั้งเอนไซม์ตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต (Pais 2010)
![]() • Stinging nettle เน็ตเทิ่ล (Stinging Nettle)
![]() ชื่อวิทยาศาสตร์ Urtica dioica วงศ์ Urticaceae เป็นพืชพื้นเมืองในยุโรป และอเมริกาเหนือ มีดอกเล็กสีม่วง ชาวยุโรปใช้พืชชนิดนี้เป็นยาสมุนไพรมาอย่างยาวนานถึงปัจจุบัน ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ (The University of Maryland Medical Center) รายงานว่า stinging nettle ถูกใช้ในการเยียวยารักษาอาการของโรคต่างๆ อาทิ อาการปวดข้อ ข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ โรคเก๊าท์ งานวิจัยใหม่ได้ค้นพบคุณสรรพคุณเด่นของรากเน็ทเทิ่ลในการเยียวยาภาวะผิดปกติของฮอร์โมนในเพศชาย นอกจากนี้ยังสามารถรักษา อาการต่อมลูกหมากโต และผมร่วง Dr. Marty Sawaya กล่าวว่าสารสกัดจากรากเน็ทเทิ่ล (Nettle Root Extracts) ถูกใช้ในการรักษาอาการของภาวะต่อมลูกหมากโต (Treat enlarged prostate glands) โดยพบว่า สารสกัดจากรากเน็ทเทิ่ล จะช่วยยับยั้งการสร้างฮอร์โมน Dihydrotestosterone (DHT) ซึ่งหากฮอร์โมนชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นมามากก็จะส่งผลให้เกิดภาวะต่อมลูกหมากโตในเพศชาย และเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะที่ทำให้ผมร่วงจากสาเหตุของฮอร์โมน โดยฮอร์โมนชนิดนี้(DHT) จะส่งผลให้ต่อมรากผมหดตัวจนเป็นเหตุให้เส้นเลือดฝอยบริเวณหนังศรีษะไม่สามารถส่งสารอาหารไปเลี้ยงรากผมได้ตามปกติ จึงทำให้เส้นผมมีขนาดลีบเล็กลงเรื่อยๆ และหลุดร่วงไปในที่สุด ปัสสาวะ มีการศึกษาที่ทำในชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตจำนวน 620 ราย พบว่า 81% ของผู้ที่รับประทาน Stinging nettle มีอาการดีขึ้น(Safarinejad 2005)
• วิตามินดี พบว่าการที่ร่างกายมีการลดต่ำลงของวิตามินดีสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคต่อมลูกหมากโต ดังนั้นท่านชายควรได้รับวิตามินดีให้เพียงพอที่ร่างกายต้องการ
• ซิงค์หรือธาตุสังกะสี เชื่อกันว่าธาตุสังกะสีมีผลต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดเป็นโรคต่อมลูกหมากโต มีการศึกษาของมหาวิทยาลัยโอเรกอนที่ชี้ว่า ธาตุสังกะสีมีบทบาทที่สำคัญทำให้เซลล์ของต่อมลูกหมากที่โตขึ้นนั้นฝ่อและตายไป ช่วยรักษาต่อมลูกหมากโต (Yan 2010) แต่ถ้าหากรับประทานมากเกินไป (มากกว่า 100 มก. ต่อวัน) ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้
ดังนั้นท่านชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโตหรือผู้ที่ต้องการป้องกันโรคนี้ควรเลือกวิธีธรรมชาติในการรักษาหรือป้องกันโดยการรับประทานอาหารที่มีสารประกอบที่กล่าวมาข้างต้น หรือการรับประทานอาหารเสริมที่มีจำหน่ายในท้องตลาดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับท่านที่กำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่นะคะ
เอกสารอ้างอิง
1. Barnard RJ, Aronson WJ. Benign prostatic hyperplasia: does lifestyle play a role? The Physician and Sportsmedicine 2009 Dec; 37(4): 141-46
2. Dutkiewicz S. Usefulness of cernilton in the treatment of benign prostatic hyperplasia. Int Urol Nephrol 1996; 28(1): 49-53
3. Espinosa G. Nutrition and benign prostatic hyperplasia. Current Opinions in Urology 2013 Jan; 23(1): 38-41
4. Ishani A et al. Pygeum africanum for the treatment of patients with benign prostatic hyperplasia: a systematic review and quantitative meta-analysis. American Journal of Medicine 2000 Dec 1; 109(8): 654-64
5. Ma Z et al. Reduction of rat prostate weight by combined quercetin-finasteride treatment is associated with cell cycle deregulation. J Endocrinol 2004 Jun; 181(3): 493-507
6. Pais P. Potency of a novel saw palmetto ethanol extract, SPET-05, for inhibition of 5 alpha reductase II. Adv Ther 2010 Aug; 27(8): 555-63
7. Safarinejad MR. Urtica dioica for treatment of benign prostatic hyperplasia: a prospective, randomized, double-blind, placebo-controlled, crossover study. J Herb Pharmacother 2005; 5(4):1-11.
8. Wilt TJ et al. Beta-sitosterol for the treatment of benign prostatic hyperplasia: systematic review. BJU Int 1999 Jun; 83(9): 976-83
9. Yan M et al. Differential response to zinc-induced apoptosis in benign prostate hyperplasia and prostate cancer cells. J Nutr Biochem 2010 Aug; 21(8): 687-94
10. Zhang QY et al. Reducing effect of curcumin on expressions of TNF-alpha, IL-6 and IL-8 in rats with chronic nonbacterial prostatitis. Zhonghua Nan Ke Xue 2010 Jan; 16(1): 84-88
11. Dr. Geovanni Espinosa, director of the Integrative Urological Center, New York University Langone Medical Center, Can Diet and Supplements Treat BPH (Enlarged Prostate) ? , February 05, 2013, [online] https://prostate.net/articles/can-diet-and-supplements-treat-bph-enlarged-prostate
| ||
Copyright © 2011-2023 www.365wecare.com | Site Map
|