Skip to content

เคล็ดไม่ลับสารอาหารช่วยควบคุมน้ำตาล ชะลอการเกิดโรคเบาหวาน

รู้จักกับโรคเบาหวาน
เบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนทำให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรืออาจเกิดจากการที่ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินส่งผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่

อาการเริ่มแรกของโรคเบาหวาน
1.  อาการน้ำตาลในเลือดสูง: กินจุ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย
2.  ภาวะน้ำตาลสูงเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้น ทำให้แผลหายช้า หรืออาจเกิดการอุดตันจนปลายเท้าขาดเลือด
3.  ภาวะน้ำตาลสูงเรื้อรัง ทำให้น้ำตาลไปเกาะเม็ดเลือดขาว ทำให้เม็ดเลือดขาวมีความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคลดลง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อง่ายขึ้น
4.  เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ตามัว ไตวาย ชาปลายมือปลายเท้า เป็นต้น
          อย่างไรก็ตามในระยะแรกที่ผู้ป่วยเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดที่ยังไม่สูงมาก อาการจะยังไม่เด่นชัด 

ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน
          เมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลที่สูงจะส่งผลต่อหลอดเลือดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้ง่ายกว่าคนปกติ 
          ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ได้รับการรักษาดูแลที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่

ภาพประกอบจาก https://x.com/SiPHHospital/status/1062331589672153088

•  ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นจอตา ไตวาย เส้นประสาททำงานผิดปกติ
•  ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันทำให้เกิดแผลที่เท้า อัมพฤกษ์ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
1.  ควบคุมอาหาร: เน้นการทานผักใบเขียว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ลดการบริโภคเกลือทั้งเกลือเค็มและเกลือจืด เช่น ในเบเกอรี่ สามารถทานผลไม้ได้ แต่ควรเลือกผลไม้ที่หวานน้อย ดื่มนมรสจืดพร่องมันเนย
2.  ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ การออกกำลังกายชนิดต้านน้ำหนัก เช่น การยกเวท อย่างน้อย 45 นาที ต่อวัน อย่างน้อย 2 วัน ต่อสัปดาห์
3.  ดื่มน้ำสะอาด  อย่างน้อย 2 แก้ว ต่อวัน
4.  ควมคุมน้ำหนัก
5.  งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6.  พบแพทย์ตามนัด รับประทานยา หรือใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
7.  ตรวจติดตามวัดค่าน้ำตาลด้วยตนเองที่บ้าน
8.  เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากยาเบาหวาน เช่น รู้สึกไม่สบาย หิวมาก มือสั่น เหงื่อออก ให้รับประทานน้ำหวานหรือลูกอม แต่หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง อาจทำให้มีอาการชักถึงขึ้นหมดสติได้ ในกรณีนี้ไม่ควรให้อาหารทางปาก แนะนำให้ส่งโรงพยาบาล

สารอาหารที่ช่วยควบคุมน้ำตาล ชะลอการเกิดโรคเบาหวาน
1.  Chromium picolinate (โครเมี่ยม พิโคลิเนต): 
          โครเมียมเป็นแร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญในการเผาผลาญแป้ง น้ำตาล และไขมัน มีการศึกษาพบว่าโครเมียมสามารถช่วยลดไขมันในเนื้อเยื่อและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้โครเมี่ยมยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับ HbA1C ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 
          ขนาดที่แนะนำต่อวัน : 350-1000 ไมโครกรัม

2.  Alpha liproic acid (อัลฟา ไลโปอิค แอซิด):
          อัลฟา ไลโปอิค แอซิด ช่วยเพิ่มความไวของตัวรับอินซูลินและเพิ่มการเผาผลาญน้ำตาลในกล้ามเนื้อและเซลล์ไขมัน
          ขนาดที่แนะนำต่อวัน : สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น อาการชาควรใช้ขนาด 600 มก.ต่อวัน และแนะนำให้ทานขณะท้องว่าง

3.  Cinnamon extract (สกัดจากอบเชย)
          Cinnamon ช่วยเพิ่มการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส ช่วยลดน้ำตาลสะสม HbA1c ช่วยส่งเสริมระบบเผาผลาญของน้ำตาลกลูโคส ช่วยเพิ่ม insulin sensitivity ขนาดแนะนำในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วยลดระดับ fasting glucose, HbA1C และระดับน้ำตาลกลูโคสหลังรับประทานอาหาร
          ขนาดที่แนะนำต่อวัน : 1-6 กรัมต่อวัน
          ขนาดแนะนำในกรณีทานเป็นสารสกัด Cinnamon 360 mg ต่อวัน พบว่าช่วยลดระดับ HbA1C จาก 8.9% เหลือ 8.0%

4.  Magnesium (แมกนีเซียม)
          แมกนีเซียมมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลิน ลดระดับไขมันและขยายหลอดเลือด เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต พบว่าผู้ที่มีระดับแมกนีเซียมต่ำสัมพันธ์กับการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานแมกนีเซียมในขนาดสูงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 
          ขนาดที่แนะนำต่อวัน : 500-1,500 มก.ต่อวัน

5.  Bilberry (สารสกัดบิลเบอร์รี่)
          ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตาและช่วยเพิ่มความคมชัดของการมองเห็นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน สารโพลีฟีนอลในบิลเบอร์รี่ช่วยยับยั้งเอนไซม์ Alpha-glucosidase ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ในลำไส้ซึ่งมีหน้าที่ในการย่อยคาร์โบไฮเดรต จึงช่วยลดระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารได้
          ขนาดที่แนะนำต่อวัน : 100 mg ต่อวัน

6.  Curcumin (สารสกัดจากขมิ้นชัน)
          ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ช่วยเพิ่ม Insulin sensitivity และส่งเสริมการทำงานของ beta-cell ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินในร่างกาย 
          ขนาดที่แนะนำต่อวัน : 400-630 mg ต่อวัน

7.  Momordica charantia (มะระขี้นก)
          เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน
          ขนาดที่แนะนำต่อวัน : เมื่อใช้เป็นผงมะระขี้นก 3-15 g ต่อวัน หรือ 300-600 mg เมื่อใช้ในรูปแบบสารสกัด

เอกสารอ้างอิง
1.  Available: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/diabetes-2
2.  Available: https://www.medparkhospital.com/content/diabetes-mellitus
3.  Life Extension. Disease Prevention and Treatment, 6th ed. LE Publications, Inc.. Kindle Edition. 
4.  Available: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/90/%
5.  Available: https://www.drugs.com/npp/bitter-melon.html