Skip to content
osteoarthritis

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคข้อเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของอาการปวดเข่าที่พบมากที่สุด

ส่วนสาเหตุของโรคเกิดจากกระดูกอ่อนที่อยู่ที่ปลายของกระดูก หรือ กระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular Cartilage) มีหน้าที่เหมือนฟองน้ำหรือกันชน ที่ช่วยลดการเสียดสีของกระดูกในขณะข้อมีการเคลื่อนไหว เกิดการเสื่อมทำให้มีการแตกกร่อน มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำไขข้อทำให้คุณสมบัติการหล่อลื่นลดลง นำไปสู่อาการฝืดข้อและเจ็บข้อได้  ส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ และอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ความอ้วน อุบัติเหตุที่บริเวณข้อ กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง เส้นประสาทรอบข้อเสียความสามารถในการรับความรู้สึก การอักเสบของเนื้อเยื่อหุ้มข้อ และส่วนน้อยเป็นผลจากพันธุกรรม

โรคข้อเสื่อมพบได้ที่หลายๆข้อ ส่วนใหญ่มักเป็นกับข้อที่คอยรับน้ำหนักหรือข้อที่ต้องใช้งานมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อของกระดูกสันหลังบริเวณหลังและลำคอ ข้อเล็กๆ ของนิ้วมือและข้อของนิ้วหัวแม่เท้า อื่น ๆพบได้น้อย ยกเว้นแต่ว่าจะเกิดขึ้นหลังเกิดอุบัติเหตุ การติดเชื้อ หรือการใช้งานมากๆ

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อาการปวด มี ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน มักเป็นเรื้อรังและมากขึ้นเมื่อใช้งาน หรือลง น้ำหนักบนข้อนั้นๆ อาการจะทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน หากโรครุนแรงขึ้นอาจทำให้ปวดตลอดเวลา
  • ข้อฝืด พบได้บ่อย มักเป็นตอนเช้าแต่มักไม่เกิน 30 นาที อาการฝืดอาจเกิดขึ้นชั่วคราว ในช่วงแรกของการเคลื่อนไหวหลังจากพักเป็นเวลานาน
  • ข้อบวมและผิดรูป อาจพบขาโก่ง หรือเข่าฉิ่ง ข้อที่บวมเป็นการบวมจากกระดูกงอกโปน บริเวณข้อ
  • สูญเสียการเคลื่อนไหวและการทำงาน ผู้ป่วยมีอาการเดินไม่สะดวก
  • มีเสียงดังกรอบแกรบ ในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว

โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่ทำการรักษาได้ถึงแม้ว่าจะไม่หายขาด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นด้วยการรักษา การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง

กรณีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ใช้ยา

1.ลดน้ำหนัก ทุกๆ น้ำหนักตัวที่ลดลง 1 กิโลกรัม จะไปลดน้ำหนักที่กดทับลงบนข้อเข่า 4 กิโลกรัม ในเเต่ละก้าวที่เดินจะช่วยลดเเรงกระเเทกที่หัวเข่าได้

2.กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด

  • เพิ่มความแข็งแรง ความทนทานและความ ยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อ
  • เพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ และ ป้องกันการติดของข้อ
  • เพิ่มความมั่นคงของข้อ
  • ใช้เครื่องช่วยพยุงข้อ รู้จักวิธีการใช้ข้อที่ถูกต้อง ฝึกเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อสร้าง ความแข็งแกร่ง และออกกำลังกายเพื่อรักษาพิสัยการเคลื่อนไหว ข้ออย่างสม่ำเสมอ

3.ออกกำลังกาย (Therapeutic exercise) การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในระดับพอเหมาะไม่หักโหมหรือรุนแรง จะช่วยให้อาการต่าง ๆ ของคนที่เป็นโรคข้ออักเสบดีขึ้น

click ที่นี่