Skip to content

ในช่วงปลายฝน ต้นหนาว คุณพ่อคุณแม่มักจะกังวลเรื่องของสุขภาพเด็ก ๆ โดยเฉพาะภาวะเจ็บป่วยของระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส อีกทั้งยังเป็นช่วงที่มีการเพาะพันธุ์ของยุงจำนวนมาก ทำให้เกิดโรคระบาดที่มาจากยุง  โดยโรคสำคัญที่มักระบาดในช่วงนี้คือ โรคชิคุนกุนยา, โรคไข้เลือดออก และ RSV (respiratory syncytial virus)

RSV คืออะไร ?

RSV มีชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus มีสองสายพันธุ์ คือ RSV-A และ RSV-B เป็นไวรัสก่อการติดเชื้อทางเดินหายใจของเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และมีการระบาดเกือบทุกปี

พาหะโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อ นั้นก็คือยุงลาย ซึ่งทั้ง 2 โรค มีอันตรายไม่แพ้กัน  และถ้าเกิดในเด็กอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและรุนแรง ต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น ตับ ไต และหัวใจได้ข้อแตกต่างของโรคชิคุนกุนยา, โรคไข้เลือดออก และ RSV (respiratory syncytial virus)  

  โรคชิคุนกุนยา โรคไข้เลือดออก RSV
Virus ก่อโรค Chikungunya Virus เชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4   Respiratory Syncytial Virus มีสองสายพันธุ์ คือ RSV-A และ RSV-B
สาเหตุ / พาหะ ยุงลายสวน, ยุงลายบ้าน ยุงลายตัวเมีย ติดต่อผ่านการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV
ระยะพักตัว 2-5 วัน หลังจากถูกยุงลายกัด ระยะเวลาฟักตัวในยุง (Extrinsic incubation ; EIP) ประมาณ 8 – 12 วัน ถึงสามารถแพร่เชื้อไวรัสไปสู่คนได้
    ระยะฟักตัวในคน (Intrinsic incubation period; IIP)  ใช้เวลาประมาณ 3 – 14 วัน (เฉลี่ย 4 – 7 วัน) ถึงจะแสดงอาการ 
หลังรับเชื้อ RSV สามารถแสดงอาการได้เร็วที่สุดหลังติดเชื้อ 2 วัน ช้าที่สุดประมาณ 8 วัน โดยส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ 4-6 วัน
อาการ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องเสีย (ไม่มีเกล็ดเลือดต่ำจนเลือดออก) ไข้สูงลอย, ผื่นแดงจำนวนมาก, ปวดเมื่อยน้อยกว่า, เกล็ดเลือดต่ำ-มีเลือดออก ช่วงแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาเช่น ไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล สำหรับเด็กเล็ก (ต่ำกว่า 2 ปี) ที่ติดเชื้อครั้งแรกพบร้อยละ 20-30 ที่มีอาการโรคลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยมักแสดงอาการไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีดหวิว หรือ เสียงครืดคราดในลำคอได้
การรักษา ไม่มียาเฉพาะ รักษาตามอาการ ไม่มียาเฉพาะ รักษาตามอาการ ห้ามรับประทานยาแอสไพรินและยากลุ่ม NSAID เด็ดขาดเพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายและมากขึ้น ไม่มียาเฉพาะ รักษาตามอาการ

วิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยา และ ไข้เลือดออก ที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงไม่ถูกยุงลายกัด ซึ่งสามารถทำได้โดย

  • ในบริเวณบ้านควรทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง  โดยไม่ให้มีน้ำท่วมขัง
  • ปลูกต้นไม้หรือจัดสวนให้โปร่งโล่ง ให้แสงแดดส่อง
  • นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงกัด
  • ช่วงที่มีการระบาดของยุงลาย ควรใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รวมถึงทายากันยุง แม้จะเป็นเวลากลางวันก็ตาม

การป้องกันโรค RSV ทำได้โดย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่มียาป้องกัน จึงควรป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้ ดังนี้
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งมือของตนเองและลูกน้อย
  • การใช้แอลกอฮอลเจลถูมือช่วยป้องกันโรคได้บ้าง ยังแนะนำให้ล้างมือบ่อยๆได้ประโยชน์กว่า
  • หลีกเลี่ยงเด็กทั้งสบายดีหรือป่วยไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด
  • ทำความสะอาดบ้าน รวมทั้งของเล่นเด็กเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำมากๆ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา
  • สำหรับครอบครัวใดที่มีเด็กป่วยเป็นไข้หวัด ควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ

อ้างอิง

พญ. ภัสสร บุณยะโหตระ. ชิคุนกุนยา อีกหนึ่งโรคร้ายจากยุงลายที่ควรรู้จัก [ออนไลน์]. 2563, แหล่งที่มา : www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ชิคุนกุนยา.[24 พฤศจิกายน 2565]

รศ.นพ.วินัย  รัตนสุวรรณ. ชิคุนกุนยา(Chikungunya) [ออนไลน์]. 2555, แหล่งที่มา : /www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=955#:~:text=โรคชิคุนกุน,จนช็อค%20อย่างโรคไข้เลือดออก. [24 พฤศจิกายน 2565]

แพทย์หญิง กิจจาวรรณ เฮงคราวิทย์, รองศาสตราจารย์(พิเศษ)นายแพทย์ ทวี โชติพิทยสุนนท์. โรคติดเชื้อRSV[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.pidst.or.th/A667.html [24 พฤศจิกายน 2565]