Skip to content
Gout

โรคเกาต์ เกิดจากภาวะที่มีกรดยูริกอยู่ในกระแสเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานจนทำให้เกิดเป็นผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง และหากเกิดการตกตะกอนในเนื้อเยื่อต่าง ๆ จะเกิดเป็นก้อน เรียกว่า โทฟัส 

กรดยูริกในร่างกายกว่า 80% เป็นของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นและอีก 20% ร่างกายรับจากการบริโภคอาหาร และถูกขับออกทางน้ำปัสสาวะ แต่เมื่อร่างกายมีกรดยูริกมากเกินไปหรือมีปัจจัยที่ทำให้ขับกรดยูริกได้ โรคเกาต์มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ค่ากรดยูริกที่สูงเกินมาตรฐานอาจไม่ทำให้เกิดโรคเกาต์เสมอไป

อาการของโรคเกาต์

  1. ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อ 
  2. ส่วนใหญ่เป็นที่ข้อโคนนิ้วโป้งเท้า
  3. อาการปวดมักปวดรุนแรง โดยเฉพาะในช่วง 4-12 ชั่วโมงแรก
  4. หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม อาจเกิดการกำเริบซ้ำและอาจมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น มีจำนวนข้อที่อักเสบมากขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเกาต์

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ในระยะยาวอาจทำให้ข้อต่อถูกทำลายหรือเกิดความเสียหาย และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวายได้

การรักษาและการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์

  1. หากมีอาการปวดอักเสบ ควรพบแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประเมินอาการ และได้รับยาที่เหมาะสม
  2. ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ และป้องกันการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  3. ควบคุมการรับประทานอาหารที่มีปริมาณสารเพียวรีนสูง
  4. หากอยู่ขั้นตอนการรักษาควรมาพบแพทย์ตามนัด และหากกำลังได้รับยาขับกรดยูริกควรรับประทานยาตามคำแนะนำ ไม่ควรหยุดรับประทานยาเอง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาหารที่ทำให้เกิดโรคเกาต์

ที่ได้นำมาลงไว้ในวารสาร The New England Journal of Medicine เกี่ยวกับอาหารที่อาจก่อให้เกิดโรคเกาต์

  1. การบริโภคเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู หรือ เนื้อแกะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเกาต์เพราะมีปริมาณสารเพียวรีน
  2. การบริโภคผลิตภัณฑ์จากนม ประเภทนมไขมันต่ำ ลดการเกิดโรคเกาต์ เพราะมีปริมาณสารเพียวรีนต่ำ และพบว่าโปรตีนจากนม เช่น เคซีน หรือ แลคตาบูมินช่วยลดระดับกรดยูริกในกระแสเลือดได้ และพบว่าคนที่ดื่มนมตั้งแต่ 2 แก้วต่อวัน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกาต์ได้ 
  3. การรับประทานโยเกิร์ตไขมันต่ำช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกาต์
  4. การรับประทานอาหารทะเลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเกาต์ในเพศชายที่มี ดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 25

นอกจากนี้ยังได้พบว่าอาหารบางประเภทที่เคยเชื่อว่าก่อให้เกิดโรคเกาต์แต่เมื่อศึกษาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้เกิดโรคเกาต์เช่น

  1. การบริโภคผักที่มีปริมาณเพียวรีนสูง ไม่มีความเกี่ยวกับการเกิดโรคเกาต์
  2. การรับประทานโปรตีนทั้งจากพืชหรือสัตว์ ไม่มีความเกี่ยวกับการเกิดโรคเกาต์แต่พบว่าการบริโภคโปรตีนปริมาณมากจะเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะจึงส่งผลช่วยลดระดับกรดยูริกในกระแสเลือด และยังช่วยลดการกำเริบของโรคเกาต์ได้
  3. พบว่าดัชนีมวลกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเกาต์
click ที่นี่