โรคลมแดด หรือHeatstroke เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนจัด จนอุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นรวดเร็ว จนไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ทันที มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อน หรือบริเวณที่มีความชื้นสูง ซึ่งส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท หัวใจ และไต และส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต
โรคลมแดด หรือ Heatstroke แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
1. โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลังกาย (Exertional Heatstroke) สาเหตุหลักมาจากร่างกายสูญเสียเหงื่อและเกลือแร่ ทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน มักพบในนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายหนักในอากาศร้อนจัด
2. โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกาย (Non-exertional or classic heatstroke)สาเหตุหลักมาจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวต่ออากาศร้อนจัดได้ทัน มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก และผู้ที่อยู่ในสภาพอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน
อาการที่มักพบ ดังนี้
- มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น สับสน กระวนกระวาย เพ้อ เดินโซเซ
- ปวดศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง
- ผิวหนังแห้งแดงร้อน มีไข้สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส
- เหงื่อออกมากผิดปกติหรือไม่มีเหงื่อเลย
- กล้ามเนื้อหดเกร็ง ชัก
- เป็นลมหมดสติ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- แจ้งสายด่วนเจ็บป่วยฉุกเฉิน
- พาผู้ป่วยไปพื้นที่ร่ม มีอาการถ่ายเทสะดวก
- หากใส่ชุดหนา รัดแน่น ให้ถอดหรือคลายเครื่องแต่งกายออก
- ระบายความร้อนในร่างกายผู้ป่วยด้วยความเย็น เช่น ผ้าชุบน้ำ ถุงน้ำแข็ง โดยประคบหรือวางบริเวณ หน้าผากและข้อพับต่างๆ เช่น คอ รักแร้และขาหนีบ หรือใช้น้ำสเปรย์หรือราดตัวผู้ป่วยได้เลย
การป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคลมแดด
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน
- สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ถ่ายเทอากาศได้ดี
- ทาครีมกันแดดอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งที่มีอากาศร้อน หรือบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวก