ผิวหนังถือเป็นปราการด่านแรกในการป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมและเชื้อก่อโรคต่าง ๆ เป็นหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมไปถึงป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำ (dehydration) ป้องกันการถูกทำลายจากแสง UV และการบาดเจ็บอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นบริเวณที่มีกระบวนการ metabolism และการสร้างพลังงานระดับเซลล์ เพื่อผลิตความร้อนและควบคุมการรักษาสมดุลความร้อนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สำหรับผู้ที่ละเลยการดูแลผิวพรรณให้แข็งแรง อาจจะด้วยชีวิตที่เร่งรีบและคิดว่า การดูแลผิวเป็นเพียงตัวเลือกของคนที่รักสวยรักงามเท่านั้น ความคิดนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะนอกจากจะได้รูปลักษณ์ภายนอกที่ดูดีขึ้น ยังทำให้สุขภาพดีขึ้นอีกด้วย สำหรับบทความนี้จะขอนำเสนอหนึ่งในทางเลือกของการรักษาผิว ด้วยประโยชน์จากสารสกัดเมล็ดองุ่น (Grape seed extract)
ในเมล็ดขององุ่นสายพันธุ์ Vitis vinifera ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำมาผลิตไวน์แดง อุดมไปด้วยสารในกลุ่ม Polyphenols โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาร Proanthocyanidins หรือ OPCs (Oligomeric Procyanidins) ซึ่งมีประโยชน์ในการต้านกระบวนการอักเสบ (Anti-inflammation) และกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)
จากงานวิจัยทางการแพทย์มากมายระบุว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่น มีความสามารถในการช่วยชะลอความแก่ของเซลล์ จะปกป้องไม่ให้เซลล์เผชิญกับสภาวะ Oxidative stress ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการกระตุ้นกลไกการเกิดเซลล์มะเร็งและความแก่ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ จากทั้งในสิ่งแวดล้อม เช่น แสง UV, รังสีที่ก่อไอออนต่าง ๆ เช่น X-rays มลภาวะและโลหะหนัก เป็นต้น รวมถึงอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นเองภายในร่างกาย โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงกระตุ้นกระบวนการอักเสบ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง
ประโยชน์ที่ได้จากสารสกัดเมล็ดองุ่นในแง่มุมการต้านอนุมูลอิสระ และต้านกระบวนการอักเสบ
- ผิวสวยกระจ่างใส ลดเลือนริ้วรอย จุดด่างดำ และช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิว
- ทำให้หลอดเลือดฝอยมีความแข็งแรง ช่วยบรรเทาความผิดปกติของเส้นเลือดขอด เส้นเลือดฝอยแตก
- เป็นส่วนหนึ่งในการยับยั้งปัจจัยก่อโรคเรื้อรังต่างๆ ที่พบได้บ่อย
นอกจากนี้ ในน้ำมันของเมล็ดองุ่น (Grape seed oil) ยังประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์ ในการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune disease) การบริโภคสารสกัดเมล็ดองุ่น ควรพิจารณาที่ให้สารสำคัญ OPCs ตั้งแต่ 95% ขึ้นไป โดยเริ่มต้นที่วันละ 50 มิลลิกรัม สำหรับการดูแลผิว หากรับประทานเพื่อหวังผลการรักษาเส้นเลือดขอด แนะนำที่วันละ 150-300 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าสามารถรับประทานได้มากถึง 600 มิลลิกรัมต่อวันโดยไม่พบผลข้างเคียง
เอกสารอ้างอิง
รุ่งฤดี ศรีสวัสดิ์. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของระบบปกคลุมร่างกายมนุษย์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก: http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/334/1/OTOP49_11.pdf
Pizzino G, Irrera N, Cucinotta M, Pallio G, Mannino F, Arcoraci V, Squadrito F, Altavilla D, Bitto A. Oxidative Stress: Harms and Benefits for Human Health. Oxid Med Cell Longev. 2017;2017:8416763. doi: 10.1155/2017/8416763. Epub 2017 Jul 27. PMID: 28819546; PMCID: PMC5551541.
Gupta M, Dey S, Marbaniang D, Pal P, Ray S, Mazumder B. Grape seed extract: having a potential health benefits. J Food Sci Technol. 2020 Apr;57(4):1205-1215. doi: 10.1007/s13197-019-04113-w. Epub 2019 Sep 30. PMID: 32180617; PMCID: PMC7054588.
Sochorova L, Prusova B, Cebova M, Jurikova T, Mlcek J, Adamkova A, Nedomova S, Baron M, Sochor J. Health Effects of Grape Seed and Skin Extracts and Their Influence on Biochemical Markers. Molecules. 2020 Nov 14;25(22):5311. doi: 10.3390/molecules25225311. PMID: 33202575; PMCID: PMC7696942.