Skip to content

Astaxanthin (แอสตาแซนทิน) ที่สุดแห่งสารต้านอนุมูลอิสระจากแสงแดด

Astaxanthin (แอสตาแซนทิน) ชื่อนี้ที่ทุกคนอาจจะคุ้นหูกันดี เพราะเป็นราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งพบในหมู่มากในสาหร่ายแดง แต่มันอาจจะหายากเลยก็ว่าได้ แต่ก็มีอยู่ในตัวของ ผักผลไม้ที่มีสีส้มหรือเหลือง อย่างแครอท ฟักทอง และยังพบได้ในสัตว์ทะเลบางชนิดที่กินสาหร่ายสีแดงเป็นอาหารเช่น ปลาแซลมอล

ประโยชน์ของ Astaxanthin 

– ผลต่อระบบผิวหนัง

ช่วยทำให้ collagen fiber กลับฟื้นคืนสภาพภายหลังถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ ส่งผลทำให้ผิวหนังยืดหยุ่นดีขึ้น ยังมีส่วนช่วยในการ ยับยั้งการสร้างเมลาโทนิน และกระบวนการอักเสบที่ชั้น epidermis ได้

– ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ

การต้านอนุมูลอิสระสูง กว่า เบตาแคโรทีน (β-carotene) ลูทีน (Lutein) ซีแซนธิน (zeaxanthin) และแคนธาแซนธิน (Canthaxantin) ประมาณ 10 เท่า และมีประสิทธิภาพ สูงกว่า วิตามินอี (α-tocopherol) ประมาณ 500 เท่า 

– ผลต่อระบบกล้ามเนื้อ

            ช่วยเสริมกระบวนการเมแทบอลิซึมของกล้ามเนื้อ และเพิ่มการแพร่ของ lactic acid ในกล้ามเนื้อ จึงช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อมล้า ช่วยลดการสร้าง lactic acid เพิ่มกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมันแทนน้ำตาลในระหว่างการออกกำลังกาย ทำให้เพิ่มความทนทานในการออกกำลังกายมากขึ้น

– เสริมฤทธิ์ภูมิต้านทาน

            การศึกษาในหลอดทดลองของ Astaxanthin พบว่ามีส่วนช่วยในการเสริมภูมิต้านทาน เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวหลายชนิด

– ฤทธิ์ต้านมะเร็ง

มีการรายงานผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าแอสตาแซนธินอาจมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ หรืออาจช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอกและกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูได้  และยังมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังจากรังสีอุลตราไวโอเลต

– ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

สารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบว่ามีส่วนช่วย ในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของ LDL-cholesterol ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยลดโอกาสการเกิดการอุดตัน ในระบบหลอดเลือดหัวใจได้

เพิ่มการดูดซึม Astaxanthin ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

Astaxanthin มีคุณสมบัติละลายในไขมันได้ดี จากการศึกษาพบว่า Astaxanthin ในสูตรตำรับ lipid based เช่น Vitamin E จะช่วยเพิ่มการดูดซึม 3.7 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับสูตรที่มีเฉพาะ Astaxanthin เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การรับประทานหลังอาหารที่มีไขมัน จะทำให้เพิ่มการดูดซึมแอสตาแซนธินได้ดีขึ้นเช่นกัน

อ้างอิง
  • อ.ภญ.ฑิภาดา สามสีทอง. บทบาทและการออกฤทธิ์ของ astaxanthin ในทางคลินิก(2561). วงการยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566,จากเว็บไซต์: https://www.wongkarnpat.com/upfilecpe/CPE239.pdf
  • ดร.วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์ และ ดร.มารุจ ลิมปะวัฒนะ. แอสตาแซนธิน: คุณค่าที่มากกว่าความเป็นสี(2552-2553). วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 5(1), 7-10