แครนเบอร์รี่ Cranberry เป็นหนึ่งใน superfood ที่มีสารอาหารสูงและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ จากงานวิจัยมากมาย ทำให้แครนเบอร์รี่เป็นที่รู้จักในฐานะของตัวช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection; UTI) นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งบางชนิด การสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และลดความดันโลหิต
♦ ประโยชน์ของแครนเบอร์รี่
เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินชนิดต่าง ๆ และสารต้านอนุมูลอิสระ ในอดีตชนพื้นเมืองอเมริกันใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะและโรคไต ในเวลาต่อมาผู้คนที่อาศัยในประเทศอังกฤษใช้ในการบำบัดอาการเบื่ออาหาร ไม่สบายท้อง ปัญหาโรคเลือดและเลือดออกตามไรฟัน
♦ โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสา วะ (UTIs)
สารต้านอนุมูลอิสระ Proanthocyanidin (PACs) ที่พบมากในแครนเบอร์รี่ ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียยึดเกาะบนผนังทางเดินปัสสาวะ จึงมีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ แต่อย่างไรก็ดี ในงานวิจัยเกี่ยวกับผลของแครนเบอร์รี่ในการรักษาโรคติดเชื้อในทางเดือนปัสสาวยังคงพบผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกัน
• ตัวอย่างงานวิจัยในปี 2016 พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำแครนเบอร์รี่ให้กับหญิงที่มีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่เป็นซ้ำบ่อย ๆ และงานวิจัยในปี 2014 ที่มีอาสาสมัครจำนวน 516 คนรับประทานสารสกัดของแครนเบอร์รี่ชนิดแคปซูลวันละ 2 ครั้ง พบว่าช่วยลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้
• ในปี 2015 นักวิจัยระบุว่าการรับประทานแครนเบอร์รี่ในรูปแบบแคปซูลให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ เนื่องจากการได้รับสารสกัดเข้มข้นสามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียยึดเกาะผนัง ในขณะที่น้ำแครนเบอร์รี่ในท้องตลาดทั่วไปมีปริมาณสารสกัด PACs ไม่มากเพียงพอ
• แม้ว่าแครนเบอร์รี่จะไม่ได้ช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เพิ่มขึ้นในการติดเชื้อ UTIs แต่ผลงานวิจัยในปี 2019 ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดแครนเบอร์รี่เมื่อให้ร่วมกับ cyprylic acid ซึ่งเป็นส่วนประกอบในน้ำมันมะพร้าว และสารสกัดน้ำมัน oregano สามารถช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุด
♦ ประโยชน์ของแครนเบอร์รี่ในแง่อื่น ๆ
• การลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและหัวใจ งานวิจัยในปี 2019 ระบุว่าการรับประทานแครนเบอร์รี่เสริมในมื้ออาหารสามารถช่วยจัดการกับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตขณะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว (Systolic Blood Pressure; SBP) นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานอาหารเสริมแครนเบอร์รี่มีส่วนช่วยลดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) และเพิ่มระดับคลอเรสเตอรอลที่ดีต่อร่างกาย หรือ High-density lipoprotein (HDL)
• ประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร แครนเบอร์รี่ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pyroli) และลดการเกาะบนผิวเยื่อบุกระเพาะอาหารด้วย นอกจากนี้มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าจากคุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของแครนเบอร์รี่ พบว่าช่วยต่อต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
• ชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เมื่อนำสารประกอบของแครนเบอร์รี่มาทำการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า มีส่วนช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง และเร่งการทำลายเซลล์มะเร็ง รวมถึงลดการอักเสบได้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีผลการศึกษาในร่างกายของผู้ป่วยมะเร็ง แต่แครนเบอร์รี่ก็สามารถนำมาเสริมในแผนการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งได้
• สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก สาร PCAs ในผลแครนเบอร์รี่สามารถช่วยยับยั้งแบคทีเรียในช่องปากที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือก
ความเสี่ยงและข้อควรระวังในการบริโภคแครนเบอร์รี่
ผู้ที่รับประทานยาละลายลื่มเลือด เช่น วอร์ฟาริน (warfarin) ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทานแครนเบอร์รี่ เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับผลของการรับประทานแครนเบอร์รี่ต่อการแข็งตัวของเลือด
ในผลิตภัณฑ์แครนเบอร์รี่อาจทำให้เกิดการขับออกของ oxalate ในปัสสาวะได้มากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการสะสมของตะกอน calcium oxalate ในไตได้