กรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal Reflux Disease ซึ่งเรียกกันย่อ ๆ ว่า GERD สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยมากมักจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
อาการ
แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ หน้าอก และลำคอ (Heartburn) เป็นมากขึ้นเมื่อมีพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ยกของหนัก โน้มตัวไปข้างหน้า หรือนอนหงายและอาจมีอาการอื่น ๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น เรอเปรี้ยว มีกลิ่นปาก ไอแห้ง ระคายคอ รวมถึงอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้หรืออาเจียนหลังรับประทานอาหาร
อาการรุนแรงที่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน: กลืนลำบาก กลืนเจ็บ, เลือดออกในทางเดินอาหาร, ภาวะซีด, น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ, อาเจียนมากกว่า 10 ครั้งใน 1 วัน อาการเหล่านี้ควรพบแพทย์และได้รับการตรวจด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคกรดไหลย้อน
- การสูบบุหรี่
- ความเครียดและกังวล ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- การสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป
- มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อคุณมีอาการของโรคกรดไหลย้อน
- อาหารที่มีความมันสูง เช่น ของทอด ของมัน ฟาสต์ฟู้ด ช็อกโกแลต รวมไปถึงอาหารจำพวกกะทิ นมและผลิตภัณฑ์นม เช่น ชีส ไอศกรีม
- อาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด เช่น ชา กาแฟ โซดา น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจัด
- อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อาหารหมักดอง
การรักษากรดไหลย้อนที่ดีที่สุดคือการหมั่นสังเกตพฤติกรรมตนเองและปรับปรุงแก้ไข ควบคู่ไปกับการใช้ยา
ส่วนการรักษา ตามแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563
- รักษาด้วยยากลุ่ม Proton-pump inhibitors (PPI) เป็นเวลาอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
- รักษาด้วยยาอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการร่วมของผู้ป่วย เช่น Sodium Algenate, Domperidone, Metoclopramide, Antacids
ถ้าไม่อยากเป็นกรดไหลย้อนบ่อยๆ ควรปฏิบัติดังนี้
- รับประทานโปรไบโอติกส์ที่มีคุณสมบัติในการปรับสมดุลลำไส้และทางเดินอาหาร ช่วยย่อยกากอาหารเก่าที่สะสมในลำไส้ ซึ่งอาจปล่อยแก๊สพิษ และคอยดันอาหารที่เข้าไปใหม่ออกมาทางหลอดอาหาร สมดุลที่ดีของโปรไบโอติกในลำไส้จะช่วยลดอาการท้องอืด และกรดไหลย้อนได้อย่างถาวร
- สมุนไพรที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการของโรคกระเพาะและกรดไหลย้อน เช่น ขมิ้นชัน ขิง มะละกอ แก้วมังกร ตรีผลา เป็นต้น