Skip to content

มิลค์ ทิสเซิล (Milk thistle) สมุนไพรปกป้องตับ

มิลค์ ทิสเซิล (Milk Thistle) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และถูกนำไปแพร่หลายในยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกา ที่มาของชื่อมาจาก มิลค์ ที่แปลว่า น้ำนม เนื่องจากพืชชนิดมียางสีขาวคล้ายน้ำนม และ ทิสเซิล ที่แปลว่า ไม้มีหนาม ซึ่งต้นไม้ชนิดนี้เป็นไม้ดอกต้นเล็กๆ สีม่วง และมีหนาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Silybum marianum
          เป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในการบำรุงรักษาตับมาอย่างยาวนานกว่า 2000 ปี โดยดอกของต้นมิลค์ ทิสเซิล จะอุดมไปด้วยสารในกลุ่ม Flavonoids โดยสารสำคัญหลักที่ถูกสกัดและนำมาใช้ในการบำรุงรักษาตับ คือ สาร Silymarin
          Silymarin สารสำคัญจาก มิลค์ ทิสเซิล พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันตับจากสารเคมี เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส รวมไปถึงป้องกันตับอักเสบและตับแข็ง
โดยกลไกของ Silymarin ที่คาดว่าเป็นกลไกปกป้องตับ ได้แก่
1.  ต่อต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) โดย Silymarin จะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆที่เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รวมไปถึงสารเคมี เช่น แอลกอฮอร์ เป็นต้น ทำให้อนุมูลอิสระเปลี่ยนเป็นสารที่เสถียรขึ้น silymarin ยังเปลี่ยนแปลงเยื่อหุ้มชั้นนอกของเซลล์ตับ เพื่อป้องกันไม่ให้สารพิษต่าง ๆ มาจับกับเซลล์ตับได้ นอกจากนี้ Silymarin ยังเพิ่มความเข้มข้นของ glutathione ซึ่งเป็นถูกใช้ในกระบวนการล้างสารพิษในตับ
2.  ต่อต้านตับอักเสบ(Antihepatitis) Silymarin ยับยั้งการสร้าง COX-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบ รวมไปถึงยับยั้งการกระตุ้น Nf-kb ซึ่งเป็นโปรตีนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของตับ
3.  ป้องกันตับแข็ง(Anticirrhotic effects) Silymarin ยับยั้งการเกิดผังผืดและไขมันพอกตับ รวมทั้งเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนและเพิ่มความสามารถในการสร้างเซลล์ใหม่ภายในตับ ลดโอกาสการเกิดไขมันพอกตับและโรคตับแข็งได้

ข้อบ่งใช้
          Silymarin ถูกนำมาใช้ Hepatoprotection คือ ปกป้องตับจากสารอนุมูลอิสระ ป้องกันตับอักเสบ และป้องกันตับแข็ง โดยรับประทาน Silymarin 140 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 6-8 สัปดาห์ แล้วจึงลดขนาดลงเหลือ 140 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ข้อควรระวัง
          จากการศึกษาทางเภสัชวิทยา เนื่องจาก Silymarin เป็นสารจากธรรมชาติ จึงมีความปลอดภัย และโอกาสพบผลข้างเคียงต่ำ โดยอาจทำให้ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ระบบทางเดินอาหารอักเสบ หรืออาจเกิดอาการแพ้ได้ นอกจากนี้ยังพบผลข้างเคียงต่อค่าตับในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

เอกสารอ้างอิง
1.  Abenavoli, L., Izzo, A. A., Milić, N., Cicala, C., Santini, A., & Capasso, R. (2018). Milk thistle (Silybum marianum ): A concise overview on its chemistry, pharmacological, and nutraceutical uses in liver diseases. Phytotherapy Research. doi:10.1002/ptr.6171
2.  Achufusi TGO, Patel RK. Milk Thistle. 2022 Sep 12. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2023 Jan–. PMID: 31082119.
3.  LiverTox: Clinical and Research Information on Drug-Induced Liver Injury [Internet]. Bethesda (MD): National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases; 2012–. Milk Thistle. 2020 Jan 21. PMID: 31644124.
4.  MIMS Thailand. Samarin. Available at: https://www.mims.com/thailand/drug/info/samarin.