365WECARE

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Thermometer) 


     เครื่องวัดอุหภูมิหรือ Digital Thermometer คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับวัดอุณหภูมิของวัตถุต่างๆ เช่น ของเหลว, ของแข็ง หรือก๊าซ   ประเภทเซ็นเซอร์ที่ถูกใช้มากที่สุดคือเทอร์โมรีซิสเตอร์ หรือ เทอร์มิสเตอร์ เซ็นเซอร์ประเภทนี้จะเปลี่ยนความต้านทานของตัวมันเอง    เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน วงจรอิเล็กทรอนิกส์จะวัดความต้านทานและแปลงเป็นค่าอุณหภูมิเพื่อแสดงผล หรือส่งสัญญาณทางไฟฟ้าไปควบคุมอุปกรณ์อื่นๆ

 

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลมี 2 แบบ 


เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer) 


     เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลที่วัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact) ด้วยรังสีอินฟราเรด (IR: Infrared) เป็นการวัดอุณหภูมิจากการ แผ่รังสีความร้อนของวัตถุ บางครั้งเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดจึงถูกเรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์แบบไม่สัมผัส เทอร์โมมิเตอร์แบบปืน หรือเลเซอร์ เทอร์โมมิเตอร์ (Laser Thermometer) ในกรณีที่แสงเลเซอร์ถูกใช้ในการช่วยวัดอุณหภูมิ คุณสมบัติของเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรด คือ สามารถ วัดอุณหภูมิวัตถุในระยะไกลได้ โดยเป็นการวัดอุณหภูมิพื้นผิว (Surface Temperature) ของวัตถุที่เราต้องการวัดเท่านั้น แม้จะวัดอุณหภูมิของ ของเหลวก็ตาม จะทราบเพียงอุณหภูมิพื้นผิวของของเหลว ไม่ใช่อุณหภูมิภายใน (Core Temperature) ของของเหลว

 

การเลือกใช้งานเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรด 

1. ย่านการวัดอุณหภูมิ (Range) : เลือกย่านการวัดอุณหภูมิให้เหมาะและครอบคลุมย่านการใช้งาน ย่านการวัดยิ่งสูง ราคาก็จะสูงตาม

2. หน่วยการวัดอุณหภูมิ (Unit) : หน่วยวัดอุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียส (ºC) องศาฟาเรนไฮน์ (ºF) องศาเคลวิน (ºK)

3. การปรับตั้งค่า Emissivity : เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถในการแผ่รังสีความร้อนของวัตถุที่อุณหภูมิใดๆ 

4. ความเที่ยงตรง (Accuracy) : ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ต้องการใช้ว่าต้องการความเที่ยงตรงในการวัดค่าอุณหภูมิมากน้อยแค่ไหน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการวัดค่า

5. ระยะห่างจากวัตถุและขนาดของลำส่อง (Distance to Spot Ratio) : วัตถุเป้าหมายต้องมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของลำส่องที่ตกกระทบกับวัตถุเป้าหมาย หากวัตถุเป้าหมายมีขนาดเล็กกว่าลำส่อง ต้องเข้าไปให้ใกล้ขึ้น ความเที่ยงตรงเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้นควรแน่ใจว่าวัตถุเป้าหมายมีขนาดใหญ่กว่าสองเท่าของลำส่องก็จะดีที่สุด   


     เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด สามารถใช้ได้กับทุกช่วงอายุได้รับความนิยมใช้ในสถานพยาบาลต่างๆ ใช้งานง่าย ปลอดภัยและอ่านค่าความร้อนได้แม่นยำแต่มีราคาแพงกว่าปรอทวัดไข้ประเภทอื่น เครื่องวัดอุณหภูมิประเภทนี้อ่านความร้อนอินฟราเรดจากด้านในของหูหรือหน้าผาก

 

วิธีใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด

  • การวัดไข้ทางหู โดยการใส่เครื่องเข้าไปในรูหู ทำการดึงใบหูเพื่อให้เครื่องวัดอุณหภูมิอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิค่ะ
  • ✿ การวัดไข้ทางหน้าผาก โดยการยิงแสงวัดไข้ไปที่บริเวณหน้าผ้าของลูกน้อย จากนั้นเครื่องก็จะแสดงค่าการวัดไข้ผ่านหน้าจอ

 

ข้อดี/ข้อเสียเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด

  • ✿ ข้อดี สามารถตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกายได้แม่นยำ ปลอดภัยและรวดเร็ว
  • ✿ ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง วิธีการใช้และการดูแลรักษาเครื่องอาจมีความยุงยากและควรระมัดระวังมากกว่าแบบอื่นค่ะ

 

ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล

     ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล สามารถใช้งานได้ในทุกช่วงอายุ การใช้งานคล้ายกับปรอทวัดไข้แบบธรรมดาหรือแบบแก้ว แต่ ให้การอ่านที่แม่นยำกว่าผ่านหน้าปัดตัวเลขดิจิทัล มีเสียงเตือนเมื่อค่าอุณหภูมินิ่งและสามารถวัดได้หลายจุดในร่างกาย ได้แก่ การวัดไข้ทางปาก การวัดไข้ทางรักแร้ การวัดไข้ทางทวารหนัก เป็นต้น

 

วิธีการใช้ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล

  • ✿ การวัดไข้ทางปาก เป็นการวัดอุณหภูมิจากใต้ลิ้นโดยให้ปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่ลิ้น เหมาะสำหรับเด็กที่สามารถสื่อสารได้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปรอทวัดไข้นี้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะอาจกัดจนปรอทแตกได้ค่ะ
  • ✿ การวัดไข้ทางรักแร้ ด้วยการหนีบปลายเทอร์โมมิเตอร์ไว้ที่ใต้รักแร้ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายแต่อาจได้ผลไม่แม่นยำเท่ากับการวัดทางปากหรือทางทวาร เหมาะสำหรับการวัดไข้ในเด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก
  • ✿ การวัดไข้ทางทวารหนัก ด้วยการเสียบปลายเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปทางก้น เป็นวิธีที่นิยกใช้วัดไข้เด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก ซึ่งควรทำอย่างระมัดระวังเพราะการเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บค่ะ

 

ข้อดี/ข้อเสีย ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล

  • ✿ ข้อดี สะดวกใช้งานง่าย มีเสียงแจ้งเตือนเมื่อถึงการอ่านค่าที่แสดงการวัดไข้
  • ✿ ข้อเสีย อาจเสียง่ายเมื่อมีการตกหล่นหรือกระแทก และไม่ควรนำไปล้างน้ำให้เปียกทั้งปรอท ควรเช็ดทำความสะอาดแค่บริเวณส่วนปลายที่ใช้วัดไข้

 

การแปลค่าตัวเลขของปรอท

  • ✿ 41 องศาเซลเซียน ขึ้นไป        เรียกว่า             ไข้สูงมาก
  • ✿ 39-41 องศาเซลเซียน          เรียกว่า             ไข้สูง  
  • ✿ 38-39 องศาเซลเซียน          เรียกว่า             ไข้ปานกลาง
  • ✿ 37-38 องศาเซลเซียน          เรียกว่า             ไข้เล็กน้อย
  • ✿ 36.5-37 องศาเซลเซียน        เรียกว่า             อุณหภูมิปกติ
  • ✿ 35.5-36.5 องศาเซลเซียน      เรียกว่า             อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ

: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, เทอโมมิเตอร์กับการดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้, เข้าถึงได้จาก: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/177 : ThaiNurseClub, สัญญาณชีพและการประเมินเบื้องต้น, เข้าถึงได้จาก: http://thainurseclub.blogspot.com/2014/06/blog-post_5022.html : หมอชาวบ้าน, การวัดปรอท, เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/6756

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น