ปวด บวม ช้ำ (Brunt Trauma)
365wecare
เข้าสู่ระบบ    | ยังไม่มีสินค้า  
หน้าแรก  รีวิวสินค้า  ปัญหาสุขภาพ  วิธีสั่งซื้อ  ข่าวสาร  แนะนำสินค้า  สาระน่ารู้  ติดต่อเรา 
ปวด บวม ช้ำ (Brunt Trauma)

ปวด บวม ช้ำ (Brunt Trauma)


ปวด บวม ช้ำ เกิดได้หลากหลายสาเหตุ enlightened


     ปวด บวม ช้ำ (Brunt Trauma) เป็นอาการบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง เนื่องจากเส้นเลือดฝอยแตกจนเกิดเลือดสะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ รอยช้ำเป็นอาการที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย อาการเริ่มต้นมักเป็นสีแดง ปวดและ/หรืออาจมีอาการบวมร่วมด้วย จากนั้นจะค่อยๆ คล้ำขึ้นหรือเป็นสีม่วงเข้มภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการแดงขึ้น หลังจากนั้นอาจเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เขียวหรือสีอื่นๆ เช่น น้ำตาล น้ำตาลอ่อน หลังผ่านไปจาก 2-3 วัน แสดงถึงการคั่งของเลือดเสียในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อรอยช้ำเริ่มจางลงแต่รอยสีดังกล่าวจะค่อยๆ จางไปเมื่อเวลาผ่านไป รอยช้ำที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปจะมีอาการกดเจ็บและบางครั้งอาจสร้างความเจ็บปวดในช่วง 2-3 วันแรก แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและอาการเจ็บจะหายไปพร้อมกับสีที่จางลง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกายเมื่อถูกกระแทก ถูกชน หรือถูกต่อย ทำให้มีเลือดออกในชั้นใต้ผิวหนังมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแรงที่มากระทบ


1. Acute injury ซึ่งเป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือแรงกระทำที่มากพอจะทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นมาในทันทีและมักมีอาการบวมตามมา โดยจะบวมจะเกิดขึ้นมากที่สุดหลังจากได้รับบาดเจ็บประมาณ 2-3 ชั่วโมง การบาดเจ็บเฉียบพลันที่พบบ่อย ได้แก่ กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีกขาดข้อเคลื่อน บาดแผล ฟกช้ำ


2. Overuse injury เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือแรงมากระทำซ้ำๆ (repetitive injury) โดยแต่ละครั้งมีความรุนแรงไม่มากพอที่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บขึ้นมาทันที ร่างกายจะมีการซ่อมแซมและปรับสภาพ แต่เนื่องจากได้รับบาดเจ็บต่อเนื่องซ้ำๆ จนร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมได้ทัน จะทำให้เกิดอาการตามมาภายหลัง ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการบาดเจ็บชนิดนี้คือ ความรุนแรงและความถี่ของการบาดเจ็บ ส่วนปัจจัยเสริมอื่นที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บง่ายขึ้นได้แก่ แนวของรยางค์ผิดปกติ (malalignment) , กล้ามเนื้อไม่สมดุล (muscle imbalance) การฝึกฝนที่ผิดและการใช้อุปกรณ์ผิดประเภท สาเหตุเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เกิดภาวะบาดเจ็บนี้ได้ การบาดเจ็บชนิดนี้พบได้บ่อยในระหว่างการฝึกฝนกีฬา (training)



สาเหตุหลักของการเกิดการบาดเจ็บ enlightened

 

  •  กล้ามเนื้อไม่สมดุล (muscle imbalance) โดยเฉพาะในระหว่างการเล่นกีฬาซึ่งกล้ามเนื้อหลายมักจะทำงานไปพร้อมกัน กล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแอจะมีการคลายตัวที่ช้ากว่าปกติจึงมักจะเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ซึ่งพบได้บ่อยในการฝึกกล้ามเนื้อเฉพาะมัด

 

  •  กล้ามเนื้อที่ขาดความยืดหยุ่น (muscle inflexibility) กล้ามเนื้อที่ขาดความยืดหยุ่นจะมีการตอบสนองที่ลดลง ส่งผลให้การคลายตัวจะช้าลง ทำให้ถูกกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ตรงข้ามในขณะเกร็งตัวอยู่หรือคลายตัวไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้โดยเฉพาะการใช้งานอย่างหนัก

 

  •  กล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บมาก่อน (previous injury) กล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บจะมีการตึงตัว, ความยืดหยุ่นและการตอบสนองที่ลดลง ดังนั้นกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ จะมีการบาดเจ็บที่ง่ายกว่ากล้ามเนื้อปกติ

 

  •  การบาดเจ็บซ้ำๆ (repetitive injury) การบาดเจ็บซ้ำๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บมาก่อน

 

  •  เทคนิคการใช้งานกล้ามเนื้อที่ผิด เช่น การวิ่งที่พยายามแอ่นเข้าไปด้านหลัง ขณะที่เท้ากระทบพื้น จะทำให้กล้ามเนื้อด้านหลังถูกยืดอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้เกิดการฉีกขาดได้

 


การรักษารอยช้ำด้วยตนเองในเบื้องต้น yes

 

  1.     1. ประคบเย็นบริเวณที่เกิดอาการช้ำ ด้วยสำลีหรือผ้าชุบน้ำเย็น อาจใช้ถุงน้ำแข็งห่อด้วยผ้าประคบลงบนบริเวณที่มีอาการประมาณ 10-15 นาทีและไม่ควรให้ผิวหนังสัมผัสน้ำแข็งโดยตรง เพราะความเย็นอาจทำให้ผิวหนังเสียหายได้ หากเกิดรอยช้ำขนาดใหญ่บริเวณขาหรือเท้าในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังได้รับบาดเจ็บ ควรยกขาให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

  1.     2. หากมีอาการฟกช้ำในภาย 48 ชั่วโมงแรก ควรประคบเย็นด้วยน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-30 นาที ส่วนรอยช้ำบริเวณศีรษะและใบหน้าให้ประคบด้วยน้ำแข็ง หรืออาจใช้ผ้าม้วนให้หนาพอ กดบริเวณที่ฟกช้ำเพื่อลดบวม

 

  1.     3. หลังเกิดอาการช้ำประมาณ 48 ชั่วโมง สามารถประคบร้อน ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นวางประคบบริเวณที่เกิดรอยช้ำประมาณ 10 นาที จำนวน 2-3 ครั้ง/วัน ซึ่งอาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในบริเวณที่เกิดรอยช้ำได้และช่วยให้ผิวหนังสามารถดูดซึมเลือดกลับได้เร็วยิ่งขึ้น รอยช้ำก็จะค่อยๆ จางหายไปในที่สุด

 

  1.     4. การใช้ยาบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น พาราเซตามอลและควรหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน (Aspirin) หรือไอบูโบรเฟน (Ibuprofen) เพราะอาจเสี่ยงทำให้มีอาการเลือดไหลเพิ่มมากขึ้น จากผลข้างเครียงของตัวยาและอาจพบอาการแพ้ยาได้ในบางคน

 


การป้องกันการเกิดอาการปวด บวม ช้ำ 


    enlightened จัดวางเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ในบ้านให้เรียบร้อย ไม่ให้กีดขวางทางเดินหรือประตู ควรระมัดระวังให้มากเมื่อในบ้านมีผู้สูงอายุหรือเด็กเล็ก

 
    enlightened ควรระมัดระวังอยู่ ในกรณีที่พื้นเปียกไม่ว่าจากการทำความสะอาด ทำงานบ้านหรือฝนตก ควรดูพื้นว่าแห้งดีหรือไม่ เพราะอาจทำให้ลื่นล้มได้


    enlightened ในทางเดินส่วนต่างๆในบ้าน ควรจัดสรรให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ


    enlightened สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายในขณะเล่นกีฬา สำหรับส่วนที่สำคัญต่างๆ ตามบริเวณข้อพับต่างๆ


    enlightened หากแพทย์สั่งจ่ายยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ และอาจมีการปรับการใช้ยาเมื่อจำเป็น


 

เอกสารอ้างอิง


 กิติพงษ์ ขัติยะและคณะ.(มปป.) สุขภาพเพื่อการดำรงชีวิต : เอกสารประกอบการสอนวิชา ศท 013. หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลยแม่โจ้.
 ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร.[ออนไลน์]. การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา . แหล่งที่มา : med.mahidol.ac.th [29 มิถุนายน 2558].

ผลิตภัณฑ์สำหรับ ปวด บวม ช้ำ (Brunt Trauma) ที่เราแนะนำ

  • Better You Magnesium Joint Body Spray 100ml. เบทเตอร์ยู สเปรย์น้ำมันแมกนีเซียม
    Better You Magnesium Joint Body Spray 100ml. เบทเตอร์ยู สเปรย์น้ำมันแมกนีเซียม

  • Tonphor Orange Body Firming Mask ต้นโพธิ์ ออเร้นจ์ บอดี้ เฟิร์มมิ่ง มาส์ค
    1แถม1 Tonphor Orange Body Firming Mask ต้นโพธิ์ ออเร้นจ์ บอดี้ เฟิร์มมิ่ง มาส์ค

  • Green Leaf Aroma Black Firming Mask Gentle Gold กรีน ลีฟ อโรม่า แบล็ค เฟิร์มมิ่ง มาส์ค เจนเทิล โกลด์
    1 แถม 1 Green Leaf Aroma Black Firming Mask Gentle Gold กรีน ลีฟ อโรม่า แบล็ค เฟิร์มมิ่ง มาส์ค เจนเทิล โกลด์

  • REXI CARE BB-309B-EB 9 Size M dark blue. แร็กซี่ แคร์ ถุงร้อนเย็นอเนกประสงค์
    REXI CARE BB-309B-EB 9 Size M dark blue. แร็กซี่ แคร์ ถุงร้อนเย็นอเนกประสงค์

  • REXI+CARE OB-306-EPB 6 dark blue w/white แร็กซี่ แคร์ ถุงร้อนเย็นอเนกประสงค์
    REXI+CARE OB-306-EPB 6 dark blue w/white แร็กซี่ แคร์ ถุงร้อนเย็นอเนกประสงค์

ปวด บวม ช้ำ (Brunt Trauma)


ปวด บวม ช้ำ เกิดได้หลากหลายสาเหตุ enlightened


     ปวด บวม ช้ำ (Brunt Trauma) เป็นอาการบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง เนื่องจากเส้นเลือดฝอยแตกจนเกิดเลือดสะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ รอยช้ำเป็นอาการที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย อาการเริ่มต้นมักเป็นสีแดง ปวดและ/หรืออาจมีอาการบวมร่วมด้วย จากนั้นจะค่อยๆ คล้ำขึ้นหรือเป็นสีม่วงเข้มภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการแดงขึ้น หลังจากนั้นอาจเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เขียวหรือสีอื่นๆ เช่น น้ำตาล น้ำตาลอ่อน หลังผ่านไปจาก 2-3 วัน แสดงถึงการคั่งของเลือดเสียในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อรอยช้ำเริ่มจางลงแต่รอยสีดังกล่าวจะค่อยๆ จางไปเมื่อเวลาผ่านไป รอยช้ำที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปจะมีอาการกดเจ็บและบางครั้งอาจสร้างความเจ็บปวดในช่วง 2-3 วันแรก แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและอาการเจ็บจะหายไปพร้อมกับสีที่จางลง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกายเมื่อถูกกระแทก ถูกชน หรือถูกต่อย ทำให้มีเลือดออกในชั้นใต้ผิวหนังมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแรงที่มากระทบ


1. Acute injury ซึ่งเป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือแรงกระทำที่มากพอจะทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นมาในทันทีและมักมีอาการบวมตามมา โดยจะบวมจะเกิดขึ้นมากที่สุดหลังจากได้รับบาดเจ็บประมาณ 2-3 ชั่วโมง การบาดเจ็บเฉียบพลันที่พบบ่อย ได้แก่ กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีกขาดข้อเคลื่อน บาดแผล ฟกช้ำ


2. Overuse injury เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือแรงมากระทำซ้ำๆ (repetitive injury) โดยแต่ละครั้งมีความรุนแรงไม่มากพอที่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บขึ้นมาทันที ร่างกายจะมีการซ่อมแซมและปรับสภาพ แต่เนื่องจากได้รับบาดเจ็บต่อเนื่องซ้ำๆ จนร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมได้ทัน จะทำให้เกิดอาการตามมาภายหลัง ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการบาดเจ็บชนิดนี้คือ ความรุนแรงและความถี่ของการบาดเจ็บ ส่วนปัจจัยเสริมอื่นที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บง่ายขึ้นได้แก่ แนวของรยางค์ผิดปกติ (malalignment) , กล้ามเนื้อไม่สมดุล (muscle imbalance) การฝึกฝนที่ผิดและการใช้อุปกรณ์ผิดประเภท สาเหตุเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เกิดภาวะบาดเจ็บนี้ได้ การบาดเจ็บชนิดนี้พบได้บ่อยในระหว่างการฝึกฝนกีฬา (training)



สาเหตุหลักของการเกิดการบาดเจ็บ enlightened

 

  •  กล้ามเนื้อไม่สมดุล (muscle imbalance) โดยเฉพาะในระหว่างการเล่นกีฬาซึ่งกล้ามเนื้อหลายมักจะทำงานไปพร้อมกัน กล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแอจะมีการคลายตัวที่ช้ากว่าปกติจึงมักจะเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ซึ่งพบได้บ่อยในการฝึกกล้ามเนื้อเฉพาะมัด

 

  •  กล้ามเนื้อที่ขาดความยืดหยุ่น (muscle inflexibility) กล้ามเนื้อที่ขาดความยืดหยุ่นจะมีการตอบสนองที่ลดลง ส่งผลให้การคลายตัวจะช้าลง ทำให้ถูกกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ตรงข้ามในขณะเกร็งตัวอยู่หรือคลายตัวไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้โดยเฉพาะการใช้งานอย่างหนัก

 

  •  กล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บมาก่อน (previous injury) กล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บจะมีการตึงตัว, ความยืดหยุ่นและการตอบสนองที่ลดลง ดังนั้นกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ จะมีการบาดเจ็บที่ง่ายกว่ากล้ามเนื้อปกติ

 

  •  การบาดเจ็บซ้ำๆ (repetitive injury) การบาดเจ็บซ้ำๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บมาก่อน

 

  •  เทคนิคการใช้งานกล้ามเนื้อที่ผิด เช่น การวิ่งที่พยายามแอ่นเข้าไปด้านหลัง ขณะที่เท้ากระทบพื้น จะทำให้กล้ามเนื้อด้านหลังถูกยืดอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้เกิดการฉีกขาดได้

 


การรักษารอยช้ำด้วยตนเองในเบื้องต้น yes

 

  1.     1. ประคบเย็นบริเวณที่เกิดอาการช้ำ ด้วยสำลีหรือผ้าชุบน้ำเย็น อาจใช้ถุงน้ำแข็งห่อด้วยผ้าประคบลงบนบริเวณที่มีอาการประมาณ 10-15 นาทีและไม่ควรให้ผิวหนังสัมผัสน้ำแข็งโดยตรง เพราะความเย็นอาจทำให้ผิวหนังเสียหายได้ หากเกิดรอยช้ำขนาดใหญ่บริเวณขาหรือเท้าในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังได้รับบาดเจ็บ ควรยกขาให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

  1.     2. หากมีอาการฟกช้ำในภาย 48 ชั่วโมงแรก ควรประคบเย็นด้วยน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-30 นาที ส่วนรอยช้ำบริเวณศีรษะและใบหน้าให้ประคบด้วยน้ำแข็ง หรืออาจใช้ผ้าม้วนให้หนาพอ กดบริเวณที่ฟกช้ำเพื่อลดบวม

 

  1.     3. หลังเกิดอาการช้ำประมาณ 48 ชั่วโมง สามารถประคบร้อน ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นวางประคบบริเวณที่เกิดรอยช้ำประมาณ 10 นาที จำนวน 2-3 ครั้ง/วัน ซึ่งอาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในบริเวณที่เกิดรอยช้ำได้และช่วยให้ผิวหนังสามารถดูดซึมเลือดกลับได้เร็วยิ่งขึ้น รอยช้ำก็จะค่อยๆ จางหายไปในที่สุด

 

  1.     4. การใช้ยาบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น พาราเซตามอลและควรหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน (Aspirin) หรือไอบูโบรเฟน (Ibuprofen) เพราะอาจเสี่ยงทำให้มีอาการเลือดไหลเพิ่มมากขึ้น จากผลข้างเครียงของตัวยาและอาจพบอาการแพ้ยาได้ในบางคน

 


การป้องกันการเกิดอาการปวด บวม ช้ำ 


    enlightened จัดวางเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ในบ้านให้เรียบร้อย ไม่ให้กีดขวางทางเดินหรือประตู ควรระมัดระวังให้มากเมื่อในบ้านมีผู้สูงอายุหรือเด็กเล็ก

 
    enlightened ควรระมัดระวังอยู่ ในกรณีที่พื้นเปียกไม่ว่าจากการทำความสะอาด ทำงานบ้านหรือฝนตก ควรดูพื้นว่าแห้งดีหรือไม่ เพราะอาจทำให้ลื่นล้มได้


    enlightened ในทางเดินส่วนต่างๆในบ้าน ควรจัดสรรให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ


    enlightened สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายในขณะเล่นกีฬา สำหรับส่วนที่สำคัญต่างๆ ตามบริเวณข้อพับต่างๆ


    enlightened หากแพทย์สั่งจ่ายยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ และอาจมีการปรับการใช้ยาเมื่อจำเป็น


 

เอกสารอ้างอิง


 กิติพงษ์ ขัติยะและคณะ.(มปป.) สุขภาพเพื่อการดำรงชีวิต : เอกสารประกอบการสอนวิชา ศท 013. หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลยแม่โจ้.
 ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร.[ออนไลน์]. การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา . แหล่งที่มา : med.mahidol.ac.th [29 มิถุนายน 2558].

เอกสารอ้างอิง

กิติพงษ์ขตัิยะและคณะ.(มปป.) สุขภาพเพื่อการดำรงชีวิต : เอกสารประกอบการสอนวิชา ศท 013. หลกสัตรวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลยแม่โจ้.

ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร.[ออนไลน์]. การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา . แหล่งที่มา : med.mahidol.ac.th [29 มิถุนายน 2558].



Copyright © 2011-2023 www.365wecare.com | Site Map