สายสวนปัสสาวะ (Foley Balloon Catheter)
สายสวนปัสสาวะ คือ การสอดสายสวนที่เรียกว่า foley Catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะออกสู่ภายนอก ทำให้กระเพราะปัสสาวะว่าง วัสดุผลิตจากซิลิโคนทางการแพทย์ แบ่งตามเทคนิคได้ 2 ชนิด ได้แก่ การสวนปัสสาวะชนิดเป็นครั้งคราว และการสวนปัสสาวะชนิดคาสายปัสสาวะ สำหรับสวนคาสายปัสสาวะ ชนิด 2 ทาง
ʕᵔᴥᵔʔ ช่องทางแรก เป็นทางให้ปัสสาวะไหลออกมา
ʕᵔᴥᵔʔ ช่องทางที่สอง เป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นบริสุทธิ์ (Sterile water)
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะมี 2 วิธี คือ
- 1. การสวนปัสสาวะแบบสวนทิ้ง (intermittent catheterization) ใช้สายสวนปัสสาวะชนิดตรงที่ทำด้วยยางแดง ปลายข้างที่ใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ มีลักษณะเป็นปลายมน มีรูเปิดตาเดียว ภายในเป็นท่อกลวงท่อเดียว ใช้สวนปัสสาวะแบบสวนทิ้ง
สายสวนปัสสาวะแบบทิ้ง มี 2 แบบ
● สายสวนปัสสาวะชาย
● สายสวนปัสสาวะหญิง
- 2. การสวนปัสสาวะแบบคาสายปัสสาวะ (indwelling catheterization or retained catheterization) เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิดโฟเล่ย์ (Foley’s catheter) เพื่อระบายปัสสาวะและคาสายสวนไว้เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกมาได้ตลอดเวลา มีทั้งชนิด 2 หาง และ 3 หาง การใส่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ดังนี้
● สายสวนปัสสาวะ 1 หาง เป็นทางสำหรับระบายน้ำปัสสาวะ
● สายสวนปัสสาวะ 2หาง เป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นที่ปลอดเชื้อเข้าไปในบอลลูน ให้สายสวนสามารถค้างในกระเพาะปัสสาวะได้
● สายสวนปัสสาวะ 3 หาง เป็นทางสำหรับใส่สารน้ำเข้าไปล้างในกระเพาะปัสสาวะตลอดเวลา(continuous irrigation)
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะแบบสวนทิ้ง
- 1. ผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง
- 2. เก็บปัสสาวะส่งตรวจเพื่อตรวจเพื่อเพาะหาเชื้อ (urine culture)
- 3. ตรวจวัดปริมาณของปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ (residual urine)
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะแบบคาสายปัสสาวะ
- 1. เพื่อป้องกันการระคายเคือง การอักเสบและติดเชื้อของผิวหนัง ในผู้ป่วยที่เป็นแผลอักเสบของผิวหนังบริเวณฝีเย็บ และขาหนีบ
- 2. เพื่อเป็นช่องทางระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้
- 3. เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างก่อนส่งตรวจพิเศษ หรือในระหว่างการผ่าตัด
- 4. เพื่อการติดตามวัดปริมาณน้ำปัสสาวะในผู้ป่วยหนัก เช่น ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อค ผู้ป่วยที่เสียเลือด
- 5. เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะในรายที่มีเลือดออก มีลิ่มเลือด มีหนองหรือตะกอนขุ่นมากในระบบทางเดินปัสสาวะ
- 6. เพื่อตรึงท่อปัสสาวะ (splint) เช่น ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ
- 7. เพื่อเป็นช่องทางในการใส่ยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
-
ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ
1. ดื่มน้ำประมาณวันละ 3000 ซีซี ถ้าไม่มีข้อจำกัด เรื่องการควบคุมน้ำดื่ม
2. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนและแอลกอฮอล์เนื่องจากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น ชา กาแฟ เหล้า เบียร์
3.แขวนถุงเก็บปัสสาวะให้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะประมาร 30 ซม ไม่ควรเกิน 40 ซม ระวังการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะ
4. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งโดยใช้สบู่กับน้ำสะอาด ห้ามใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อาจทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนัง
5. การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ขณะที่คาสายสวนปัสสาวะโดยการล้างอวัยวะเพศและบริเวณขาหนีบ รวมทั้งบริเวณสายสวนปัสสาวะที่ต่อออกมาจากรูเปิดของท่อปัสสาวะให้สะอาด และล้างสายสวนปัสสาวะออกมาทางด้านนอกตัวผู้ป่วยอย่างนุ่มนวล
6. การยึดตรึงสายสวนปัสสาวะสำหรับผู้หญิงให้ยึดตรึงสายไว้บริเวณหน้าขาข้างใดข้างหนึ่งทั้งในท่านอนท่านั่ง
7. การยึดตรึงสายสวนปัสสาวะสำหรับผู้ชายขณะนอนบนเตียง ให้ยึดตรึงสายบริเวณหน้าท้อง เพื่อให้มีการระบายปัสสาวะที่ดีและยึดตรึงสายบริเวณหน้าขาขณะนั่ง
8. เปลี่ยนถุงปัสสาวะทุกสัปดาห์หรือเมื่อสกปรกมาก หรือรั้วซึมด้วยวิธีปราศจากเชื้อ
9. เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทุกๆ 2 สัปดาห์
10. ขนาดของสายสวนปัสสาวะที่เหมาะสมกับเพศ ในผู้ชายใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 12 ถึง 14 Fr และในผู้หญิง ใช้ขนาด 14 ถึง 16 Fr
11. ดูแลสายสวนปัสสาวะไม่ให้มีการพับงอ
12. ควรเทปัสสาวะในถุงเก็บปัสสาวะอย่างน้อยทุก 3 ชม หรือเมื่อมีปัสสาวะประมาณ 2 ใน 3 ของถุงเก็บปัสสาวะ
13. ล้างมือก่อนและหลังจากเทปัสสาวะทุกครั้ง
สาเหตุของใส่สายสวนปัสสาวะมากที่สุด คือ เพื่อระบายปัสสาวะจากภาวะ acute obstruction หรือ neurogenic bladder สาเหตุรองลงมาคือการใส่เพื่อ monitor urine output ดังนั้นการเลือกขนาดของสายสวนปัสสาวะจะขึ้นกับข้อบ่งชี้ในการใส่, อายุของผู้ป่วยและชนิดของ fluid ที่จะระบาย ขนาดของสายสวนปัสสาวะจะมีหน่วยเป็น French (Fr) ซึ่ง 1 Fr จะมีค่าเท่ากับ 0.33 mm. ขนาดของสายสวนปัสสาวะเป็นส่วนของเส้นรอบวง (external diameter) ไม่ใช่ขนาดของ lumen size
หลักการในการเลือกขนาดของสายสวนปัสสาวะมีดังนี้ 
ในผู้ป่วยเด็ก มีหลักการเลือกสายสวนปัสสาวะดังนี้ 
✿ เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 5-8 Fr
✿ เด็กอายุ 5-10 ปี เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 8-10 Fr
✿ เด็กอายุ 10-14 ปี เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 10 Fr
✿ เด็กมากกว่า 14 ปี เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 10-14 Fr
สาเหตุของการปัสสาวะยากมักจะเกิดจาก ต่อมลูกหมากโต (prostate enlarge), ท่อปัสสาวะตีบ (urethral stricture) คอกระเพาะปัสสาวะตีบ (bladder neck contracture) หรือมีการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะก่อนหน้าผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและไม่มีประวัติ sexually transmitted infections (STD), urethral trauma, urethral surgery สาเหตุของใส่สายสวนปัสสาวะลำบากมักจะเกิดจาก ต่อมลูกหมากโต จะต้องใช้สายสวนปัสสาวะที่มีขนาดใหญ่คือ 18 Fr ขึ้นไปและต้องใช้ lubricant gel ให้เพียงพอ แต่ในผู้ป่วยที่มีประวัติสงสัยเรื่อง urethral stricture เช่นผู้ป่วยที่มีประวัติติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อุบัติเหตุตกคร่อมต่อ หรือ กระดูกเชิงกรานหัก