![]() |
||
![]() |
||
เนื่องจากกระบวนการในการรักษาโรคมะเร็งหลายๆ ครั้ง (ไม่ว่าจะเป็นการให้เคมีบำบัด หรือการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ก็ตาม) คนไข้มักมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง และเป็นเหตุที่ทำให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นอาหารทางการแพทย์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานลดลง ที่ต้องการโปรตีนสูง , พลังงานสูงและสารอาหารต่างๆ ที่ครบถ้วน สามารถเป็นแหล่งให้สารอาหาร หรือเป็นอาหารเสริมได้ เป็นสูตรอาหารที่มีกลูตามีน อาร์จีนีน น้ำมันปลา ซึ่งช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ป่วย 1. อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา ไข่ นม ถั่ว ต่างๆ เพราะผู้ป่วยมะเร็งมีอัตราการสลายโปรตีนเพิ่มขึ้น การได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างเพียงพอ จึงเป็นสิ่งสำคัญในผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน 2. อาหารที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากผู้ป่วยมักกินอาหารได้ในปริมาณน้อย 3. กินผักผลไม้ให้ครบวันละ 5 สี จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามได้ (ควรล้างให้สะอาด) เช่น มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ คะน้า แขนงผัก บล็อคโคลี ผักโขม กะหล่ำปลีสีม่วง ถั่ว ส้ม แก้วมังกรสีชมพู มะม่วง (สุก-ดิบ) เป็นต้น 1. ได้รับสารอาหารพอเพียง คนที่เป็นมะเร็ง ร่างกายจะอักเสบ ทำให้เผาผลาญพลังงาน และเผาผลาญโปรตีนสูงกว่าคนปกติ จึงควรรับอาหารเสริมเพิ่มเติมให้พอเพียงต่อวัน 2. ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดเพิ่มขึ้น สามารถเข้ารับการรักษา cycle รอบถัดไปได้ โดยไม่ต้องเลื่อนการรักษา ผู้ป่วยจะไม่ต้องทนทุกข์ใจ หรือต้องรอเวลา เพราะหากต้องเลื่อนการรักษา ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่เซลล์มะเร็งจะพัฒนาในช่วงที่ถูกเลื่อนไป 3. ช่วยลดอาการอักเสบในช่องปาก (mucositis) ในกลุ่มที่ได้เคมีบำบัดร่วมกับฉายแสง ซึ่งหากมีอาการนี้ จะทรมานและทำให้กินอาหารลำบาก ส่งผลให้สุขภาพทรุดลง การได้รับอาหารเสริมเฉพาะทางนี้ จะช่วยลดอาการอักเสบ ป้องกันไม่ให้รุนแรงได้ 2.1. ร่างกายฟื้นตัวได้รวดเร็ว 2.2. เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ อาหารเสริมที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง คือ อาหารเสริมชนิดสำเร็จรูปเกรดการแพทย์ ที่มีความบริสุทธิ์และไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ การเลือกอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องคำนึกถึงปริมาณโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ไม่มากจนเกินไปจนอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกายต้องทำงานหนักซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ผลิตภัณฑ์สำหรับ ที่เราแนะนำ
เอกสารอ้างอิง 1.สิริพันธุ์ จุลกรังคะ, โภชนศาสตร์เบื้องต้น, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550 2.เนตรนภิส ธีระวัลย์ชัย, โภชนาการ บทที่23 โภชนาการ 1002 – 1042, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.งานโภชนศาสตร์คลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, โภชนศาสตร์ทางคลินิก ปี2551 4.รายงานคณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารประจำวันที่ร่างกายควรได้รับของประชาชนไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข พ.ศ.2532. 5.เจริญศรี มังกรกาญจน์. โภชนาการ ใน: ดารณี ชุมนุมศิริวัฒน์, สมทรง เลขะกุล, บรรณาธิการ. ชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เล่ม2. กรุงเทพฯ: บริษัทพรประเสริฐ พริ้นติ้ง จำกัด, 2536. 6.วรนันท์ ศุภพิพัฒน์. อาหาร โภชนาการและสารเป็นพิษ. กรุงเทพฯ: แสงการพิมพ์, 2538. 7.Nutrition in Clinical Medicine,สาขาโภชนศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่1 ตุลาคม 2553 : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร 8.Cohn RM, Roth KS. Biochemistry and disease. Baltimore: Williams & Wilkins, 1996. 9.Linder MC. Nutritional biochemistry and metabolism with clinical application. 2nd ed. New Jersey : Prentice-Hall International Inc., 1991. 10.Mahan LK, Escott-Stump S. Krause’s food, nutrition & diet therapy. 9th ed. Philadelphia : W.B0Saunders Company, 1996 |