อาการ
1. มีอาการปวด บวม กดแล้วเจ็บ ที่บริเวณเท้า
2. เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้ามีการฉีกขาดบางส่วน ปวด บวม ที่บริเวณเท้ามาก
3. ระดับนี้รุนแรงที่สุด เอ็นที่บริเวณเท้ามีการฉีกขาดทั้งหมด เดินลงน้ำหนักไม่ได้
3 ระดับความรุนแรง ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง
ระดับ 1 การบาดเจ็บภายในเส้นเอ็น แบบไม่มีการฉีดยาให้เห็น
ระดับ 2 มีการฉีกขาดบางส่วนของเส้นเอ็น
ระดับ 3 มีการฉีกขาดแบบสมบูรณ์
อาการบาดเจ็บที่มักเข้าใจผิดว่าข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง
1. ข้อเท้าแพลงแบบสูง
2. กระดูกแตกภายในเท้าหรือข้อเท้า
3. ผิวกระดูกอ่อนข้อเท้าบาดเจ็บ
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อข้อเท้าแพลง โดยหลักการ R.I.C.E
- ✿ R-Rest นั่งพักเพื่อสังเกตอาการจากข้อเท้าแพลงว่ารุนแรงไหม
- ✿ I-ICE ประคบเย็นเพื่อลดบวมและช่วยให้เลือกออกน้อยลง โดยประคบเย็นประมาณ 15 นาที ทุกๆ 2 ชม. ข้อห้ามไม่ควรประคบร้อน หรือนวดบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บในระยะแรกเพราะจะทำให้บวมมากยิ่งขึ้น
- ✿ C-Compression ใช้ผ้าพันบริเวณที่บวม และพยายามไม่เคลื่อนไหว ถ้าไม่จำเป็นเพราะจะทำให้ ปวดในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
- ✿ E-Evaluation ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดบวมและลดความเจ็บปวด
ในเบื้องต้นแพทย์จะตรวจร่างกายด้วยการจับ ขยับ และกดบริเวณข้อเท้า เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และบริเวณที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด หากอาการบาดเจ็บมีความรุนแรงมาก แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสแกนข้อเท้า เพื่อวินิจฉัยอาการจากภาพฉายภายใน ซึ่งจะตรวจสอบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับกระดูก กล้ามเนื้อ และเอ็นข้อต่อในข้อเท้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป โดยแพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
✿ การฉายภาพเอกซเรย์ (X-Ray) เป็นการใช้เครื่องฉายรังสีเอกซเรย์ผ่านบริเวณข้อเท้าของผู้ป่วย แล้วฉายภาพโครงสร้างภายในกระดูกข้อเท้าออกมาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
✿ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan: CT Scan) เป็นการใช้เครื่อง CT Scan ฉายรังสีเอกซเรย์บริเวณข้อเท้า แล้วให้เครื่องคอมพิวเตอร์ฉายภาพรายละเอียดภายในกระดูกข้อเท้า เนื้อเยื่อ และเอ็นข้อต่อออกมา
✿ การสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI Scan) เป็นการใช้เครื่อง MRI Scan ฉายคลื่นวิทยุผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พ่วงต่อจะฉายภาพโครงสร้างและรายละเอียดเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในข้อเท้าที่เกิดความเสียหายออกมา
การรักษา
วิธีการรักษาข้อเท้าแพลงขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ แต่โดยทั่วไป หากอาการข้อเท้าแพลงที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจรักษาดูแลบรรเทาอาการด้วยตนเองจนหายดีได้ภายในเวลาประมาณ 7-10 วัน ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
1. รับประทานยา
หากผู้ป่วยเจ็บปวดจากอาการข้อเท้าแพลง ให้รับประทานยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน
2. พันรัดบริเวณข้อเท้าแพลง
ใช้ผ้ายืดพันรัดรอบบริเวณที่ข้อเท้าแพลง เพื่อลดอาการบวม ให้พันผ้าไว้จนกว่าอาการบวมจะหายไป โดยระมัดระวังไม่พันรัดรอบข้อเท้าจนแน่นเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาการไหลเวียนของเลือด
3. ประคบเย็น
ใช้ถุงน้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่ข้อเท้าแพลงเป็นเวลา 15-20 นาที และประคบซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน ในวันแรกที่ข้อเท้าแพลง หลังจากนั้นให้ประคบเย็นอีกทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงใน 2 วันให้หลัง แต่หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือกำลังป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคเบาหวาน หรืออาการป่วยทางประสาทสัมผัสการรับรู้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรักษาด้วยวิธีนี้
4. ยกข้อเท้าขึ้น
ควรยกข้อเท้าขึ้นหรือใช้หมอนช่วยรองให้ข้อเท้าอยู่ในระดับที่สูงกว่าหัวใจขณะนอนราบ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงจะช่วยให้ของเหลวส่วนเกินที่คั่งอยู่ไหลออกจากบริเวณที่บาดเจ็บ ทำให้อาการบวมลดลงได้
5. พักผ่อน
เพื่อให้ข้อเท้าที่บาดเจ็บได้พักฟื้น ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มน้ำหนัก แรงกด หรือการกระทบกระเทือนที่อาจทำให้ข้อเท้าบาดเจ็บซ้ำอีก หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษาและฟื้นตัว ซึ่งผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการให้แน่ชัดว่ามีอาการรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับกระดูกหรือเนื้อเยื่อส่วนอื่นด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงใด แพทย์อาจมีวิธีการรักษาและแนะนำขั้นตอนปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
6. การใช้อุปกรณ์ช่วย
นอกจากการใช้ผ้ายืดพันยึดรอบข้อเท้า แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์แบบสวมพยุงข้อเท้า (ฺBrace) หรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงร่างกายในขณะเคลื่อนไหว ภาวะแทรกซ้อนของข้อเท้าพลิก - แพลง หากเกิดอาการข้อเท้าแพลงขึ้นแล้วปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาการเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นได้ เช่น เกิดอาการปวดอย่างเรื้อรัง เกิดภาวะเอ็นข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง เสี่ยงเกิดข้ออักเสบเร็วขึ้น เป็นต้น
การป้องกันข้อเท้า
✿ อบอุ่นร่างกายให้พร้อมก่อนการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา
✿ ระมัดระวังในขณะเดิน วิ่ง ทำกิจกรรม หรือทำงานบนพื้นผิวที่ขรุขระ
✿ หยุดพักหรือชะลอการทำกิจกรรม หากเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้า
✿ สวมใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่พอดีกับเท้าและเหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ
✿ หลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าส้นสูง เพราะเสี่ยงต่อการพลาดล้มจนเกิดการบาดเจ็บ
✿ ไม่เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่ตนไม่ถนัด หรือไม่เหมาะสมกับตนเอง
✿ หมั่นออกกำลังกายเพื่อฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว
✿ บริหารกล้ามเนื้อและเอ็นส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อรักษาความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
✿ หากมีอาการข้อเท้าแพลง หรือสงสัยว่าอาจเกิดข้อเท้าแพลง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิผลโดยเร็วที่สุด
สามารถใช้ได้ทั้งด้านซ้ายและขวาช่วยพยุงข้อเท้าที่บาดเจ็บ กล้ามเนื้อช้ำ หรือปวดและเจ็บข้อเท้าออกแบบให้เหมาะกับรูปร่างของข้อเท้า เพื่อความกระชับแถบ Elastic ปรับระดับความกระชับได้ตามต้องการ และให้การรองรับข้อเท้าอย่างเหมาะสมเนื้อผ้าอ่อนนุ่ม ให้ความรู้สึกสบายขณะสวมใส่ สามารถระบายอากาศได้ แนบกระชับกับสรีระจึงสามารถสวมรองเท้าทับได้
วิธีใช้
สวมอุปกรณ์พยุงข้อเท้า เข้าทางเท้าซ้าย โดยให้แถบ Elastic อยู่ทางปลายนิ้วก้อย และชี้ออกนอกลำตัว เลื่อนเข้ามาให้รองรับส้นเท้าพอดี จากนั้นพันแถบ Elastic ขึ้นด้านบน พันรอบข้อเท้าไปทางด้านหลัง ปรับระดับความกระชับตามความเหมาะสม (ถ้าต้องการสวมเท้าขวาให้กลับด้านในออกข้างนอก)
วิธีการดูแลรักษา
✿ ซักมือด้วยน้ำเย็นและสบู่อ่อน (หากซักด้วยเครื่อง ควรตั้งโปรแกรมแบบถนอมผ้าและใช้อุณหภฺมิต่ำ) ห้ามใช้ น้ำยากซักแห้ง น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือน้ำยาฟอกขาว
✿ ซับน้ำออกด้วยผ้าแห้ง ห้ามบิด
✿ ตากในที่ร่ม ลมโกรก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความร้อนโดยตรงและแสงแดด
✿ ห้ามซักแห้ง หรือปั่นให้แห้ง