![]() |
||
![]()
|
||
ความเครียด (Stress) ทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมน ซึ่งในขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะเครียดนั้น ร่างกายจะถูกกระตุ้นและทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้ร่างกาย เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เป็นต้น หากภาวะเครียดดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีอาการซึมเศร้า กล้ามเนื้อเกร็งตัว นอนไม่หลับ ปวดประจำเดือน สมรรถภาพทางเพศลดลง ตลอดจนอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ ตามมาเช่น โรค ผลิตภัณฑ์สำหรับ เครียด นอนไม่หลับ (Stress and Insomnia) ที่เราแนะนำ
นอนไม่หลับ (insomnia) เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งจากพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสม ความเครียด หรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น อาการของโรคแม้จะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการนอนใหม่ ในบางรายอาจต้องใช้การทานยาร่วมด้วยขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค เมลาโทนิน (Melatonin) กับการนอนหลับ สำหรับความเครียดของผู้คนในยุคปัจจุบัน ทำให้การนอนหลับในแต่ละวันเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ส่งผลให้ป่วยบ่อย สุขภาพกายและสุขภาพจิตไม่แข็งแรง ก่อให้เกิดความผิดปกติและโรคเรื้อรังหลายๆชนิดตามมา หลายคนจึงเริ่มหาแนวทางเพื่อให้นอนหลับไต้ง่ายขึ้นและมีคุณภาพที่ดี หนึ่งในตัวช่วยที่ผู้คนนิยมก็คือเมลาโทนิน (Melatonin) เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนธรรมชาติในร่างกายหมนุษย์ที่สร้างขึ้นจากต่อมไพเนียล (pineal gland) โดยมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมวงจรการนอนหลับของมนุษยิโตยการตอบสนองขึ้นอยู่กับแสงสว่างและแสงอาทิตย์ ซึ่งร่างกายของเราจะเริ่มหลั่งสารนี้ออกมาในช่วงเย็นเมื่อตวงอาทิตย์เริ่มตกตินและเริ่มมีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ทำให้รู้สึกง่วงนอนและต้องการนอนหลับ ในปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าการได้รับแสงสีฟ้า เช่น แสงจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ สามารถยับยั้งหรือชะลอการหลั่งเมลาโทนินได้ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุมีจะมีการหลั่งสารเมลาโทนินลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จึงทำให้พบภาวะนอนหลับยากที่สัมพันธ์กับอายุได้ (age-related sleep disorder)สำหรับอาการข้างเคียงอาจพบได้ขณะใช้ยา เช่น ง่วงซึม ปวดหัว ได้ดังนั้นควรเลี่ยงการขับขี่ยาหนะ หรือทำงานที่ความเสี่ยงสูงหากมีอาการง่วงซึมขณะใช้ยานี้ ▶ แรกเกิด ต้องการการนอนหลับ 20 ชั่วโมง ขึ้นไป ▶ ขวบปีแรก ต้องการนอนหลับ 12 ชั่วโมง ขึ้น ▶ เด็กวัยประถม 9-11 ชั่วโมง ▶ เด็กวัยรุ่น 10 ชั่วโมง ▶ เด็กมหาวิทยาลัย 7-9 ชั่วโมง ▶ ผู้ใหญ่ตอนต้น 7-9 ชั่วโมง ▶ ผู้ใหญ่ตอนกลาง ถึงตอนปลาย 7-8 ชั่วโมง สุขลักษณะเพื่อการนอนหลับที่ดี (Sleep hygiene) ควรกระทำควบคู่กับการรักษาหรือใช้ยาไปด้วยเพื่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมส่งเสริมการนอนหลับที่มีคุณภาพ ㆍพยายามนอนหลับให้เป็นเวลาเดี่ยวกันทุกวัน ㆍนอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน ㆍผู้ที่ใช้อุปกรณ์สื่อสารเป็นกิจวัตรควรปิตอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 30 นาทีก่อนการเข้านอน ㆍงดการทานมื้อตึกหรือหากเสี่ยงไม่ไต้ ให้ทานอาหารที่ย่อยง่าย เสี่ยงอาหารย่อยยาก ㆍงดการดื่มน้ำเป็นปริมาณมาก ก่อนนอนสัก 3 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้ตื่นกลางตึก ㆍควรจัดห้องนอนให้เป็นระเบียบมีอากาศถ่ายเทสะดวก ㆍควรให้ห้องนอนมืดสนิทขณะนอนหลับเพราะแสงบางส่วนอาจรบกวนการนอนได้
เอกสารอ้างอิง |