เทปแต่งแผล (Adhesive Tape roll)
เทปติดผิวหนัง, เทปทำแผล, เทปแต่งแผล เป็นเทปกาวที่มีความยืดหยุ่น การระบายอากาศได้ดีและความชื้นได้เร็วเป็นพิเศษ ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบริเวณแผลได้ ผลิตจากฟิล์มโพลีโอเลฟินที่ยืดหยุ่นและซึมซับได้ดี และ เนื้อกาวอะคริลิกชนิดดูดซึมความชื้นได้สูง เทปนี้มีความระคายเคืองต่ำมาก ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและง่ายดาย ใช้ยึดผ้าปิดแผล และตกแต่งแผลทั่วไป เนื้อเทปมีรูระบายอากาศ ป้องกันการอับชื้น มีผสมของกาวไฮโปอัลเลอจินิก ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
การเลือกใช้วัสดุเทปปิดแผล 
เทปปิดแผล ที่เหมาะสมจะช่วยให้การหายของแผลเร็วขึ้น โดยต้องมีคุณลักษณะ ที่ไม่ไปรบกวนกระบวนการหายของแผล ไม่ทำให้ติดแผล หรือทำให้แผลแห้ง ดังนี้
- ✿ สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านวัสดุได้ปริมาณของออกซิเจนต่ำ จะทำให้การหายของแผลช้าลง
- ✿ วัสดุจะต้องช่วยรักษาความชุ่มชื้นของบาดแผล
- ✿ ช่วยรักษาอุณหภูมิของบาดแผลให้มีความใกล้คียงกับอุณหภูมิของร่างกาย โดยการป้องกันการระเหยของน้ำ และสิ่งคัดหลั่งท่ีอยู่บนบาดแผล
- ✿ ต้องไม่ยอมใหเชื้อโรคจากภายนอกเข้า สู่บาดแผล และเชื้อโรคในบาดแผลไม่สามารถแพร่กระจายออกสู่ภายนอกได้
- ✿ มีความสามารถดูดซับสิ่งคัดหลั่งได้ดี ราคาไม่แพง ท่ีสำคัญ ควรมองเห็นแผลเพื่อการประเมินการ เปลี่ยนแปลงแผลได้
เทปแต่แผลมีหลากหลายชนิด เช่น
- 1. เทปแต่งแผลชนิดเยื่อกระดาษ
- 2. เทปแต่งแผลชนิดใส
ประโยชน์ของเทปแต่งแผล 
ฟิล์มโพลีโอเลฟินส์ที่มีความยืดหยุ่นสูงและซึมซับได้ดี เนื้อกาวอะคริลิกชนิดดูดซึมความชื้นได้สูง อ่อนโยน ไม่ระคายเคืองผิว ปลอดภัย ใช้งานง่ายการระบายอากาศได้ดีและระบายความชื้นได้เร็วเป็นพิเศษ
คุณสมบัติ
✿ เทปแต่งแผล ชนิดเยื่อกระดาษ
✿ ใช้ยึดผ้าปิดแผล และแต่งแผลทั่วไป
✿ สำหรับบริเวณผิวที่บอบบาง เช่น ใบหน้า ผิวเด็ก หรือผิวที่บอบบางแพ้ง่าย
✿ กาวไฮโปอัลเลอจินิก ไม่ทำให้ระคายเคืองผิว
วิธีการใช้
เมื่อเกิดแผล ควรล้างทำความสะอาดแผล เพื่อช่วยลดความรุนแรงของบาดแผล และช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
✿ ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
✿ ล้างแผลให้สะอาดด้วยการเปิดน้ำให้ไหลผ่านบริเวณบาดแผล เพื่อขจัดสิ่งสกปรก ฝุ่นผง และเชื้อแบคทีเรียและใส่ยาฆ่าเชื้อ
✿ หากแผลสกปรกมาก อาจจำเป็นต้องใช้ผ้าสะอาดถูแผลเบา ๆ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดและมีเลือดออกขณะทำความสะอาดแผลได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการขัดล้างแผลแรงเกินไป เพราะอาจทำให้แผลเปิดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
✿ ติดผ้าปิดแผล หรือผ้าก๊อซ แล้วใช้เทปยึด และแต่งแผลปิดแผล
✿ ควรระมัดระวังอย่าให้ถูกแผลโดยตรง
ข้อควรระวัง
✿ ความตึงของเทปมากเกินไปอาจทำให้ผิวเกิดอาการระคายเคือง
✿ ห้ามใช้ปิดกับแผลโดยตรง
✿ หยุดใช้ทันที เมื่อเกิดผื่นแดงหรือระคายเคืองต่อผิวหนัง
✿ ลากออกอย่างช้าๆตามแนวเส้นผมเพื่อไม่ให้ผิวระคายเคือง
✿ การเก็บรักษา เก็บที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากน้ำความชื้นและแสงแดด
ขั้นตอนการใช้พลาสเตอร์ปิดแผล 
เมื่อเกิดแผล ควรล้างทำความสะอาดแผลและปิดพลาสเตอร์อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยลดความรุนแรงของบาดแผล และช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ✿ ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แล้วจึงสวมถุงมือก่อนใช้แหนบคีบเศษดินหรือสิ่งสกปรกออกจากบาดแผล
- ✿ ล้างแผลให้สะอาดด้วยการเปิดน้ำให้ไหลผ่านบริเวณบาดแผล เพื่อขจัดสิ่งสกปรก ฝุ่นผง และเชื้อแบคทีเรีย
- ✿ หากแผลสกปรกมาก อาจจำเป็นต้องใช้ผ้าสะอาดถูแผลเบา ๆ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดและมีเลือดออกขณะทำความสะอาดแผลได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการขัดล้างแผลแรงเกินไป เพราะอาจทำให้แผลเปิดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
- ✿ ใช้ผ้าสะอาดซับแผลให้แห้ง แล้วใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ทาลงบริเวณที่เป็นแผลบาง ๆ ก่อนปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
พลาสเตอร์กับชนิดของแผล 
สมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Family Physicians) ได้ให้คำแนะนำในการใช้พลาสเตอร์ในแต่ละประเภท ดังนี้
- ✿ พลาสเตอร์แบบแถบกาวหรือผ้าก๊อซ ควรใช้พลาสเตอร์ชนิดนี้กับแผลบนฝ่ามือ หัวเข่า และบริเวณอื่นที่เสียดสีกับเสื้อผ้าหรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย หากแผลมีขนาดเล็กและไม่ได้อยู่ในบริเวณดังกล่าว อาจไม่จำเป็นต้องปิดพลาสเตอร์ เนื่องจากแผลจะแห้งเร็วและหายได้เองแม้ไม่ใช้พลาสเตอร์ปิดแผลไว้
- ✿ พลาสเตอร์ชนิดพิเศษแบบปิดแน่นหรือกึ่งปิดแน่น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้พลาสเตอร์ชนิดนี้กับแผลที่มีขนาดใหญ่ เพื่อคงความชุ่มชื้นและลดการเกิดรอยแผลเป็น