เป็นท่อโค้ง 2 ชั้น ประกอบด้วย สวมซ้อนกัน สามารถถอดแยกออกจากกันได้ ท่อชั้นในสามารถถอด และล้างเสมหะออกได้ เพื่อป้องกันการอุดตันของเสมหะ เมื่อต้องใส่ระยะยาว ผลิตภัณฑ์สำหรับ ชุดสายงวงช้างคอลลูเกต ผู้ป่วยเจาะคอ ( Corrugated Tube ) ที่เราแนะนำ
ชนิดของชุดสายงวงช้างคอลลูเกต ผู้ป่วยเจาะคอ ท่อหลอดลมคอ ท่อหลอดลมคอแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
วิธีดูแลชุดสำหรับชุดสายงวงช้างคอลลูเกต ผู้ป่วยเจาะคอ
✿ ดื่มน้ำอุ่นๆ วันละ 8-10 แก้ว ในผู้ใหญ่ และ 4-6 แก้วในเด็ก เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว และขับออกมาได้ง่าย ✿ รับประทานยาละลายเสมหะ หรือขับเสมหะตามแพทย์สั่ง ✿ นอนหงายราบ ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น หายใจเข้าลึกๆ เต็มที่จนท้องโป่งและกลั้นหายใจไว้ประมาณ 3 วินาที ✿ หายใจออกทางปากช้าๆ ทำปากห่อคล้ายผิวปาก เพื่อให้อากาศออกจากปอดมากที่สุด ✿ ทำบ่อยๆ ประมาณ 8-10 ครั้ง/ ทุก 2 ชั่วโมง 5.) ไออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยขับเสมหะออกจากหลอดลมและปอด ทำวันละหลายๆ ครั้ง ดังนี้ ✿ นั่งในท่าโน้มตัวไปข้างหน้า หรือครึ่งนั่ง ครึ่งนอน ✿ ก่อนไอ หายใจเข้า ✿ ออกลึกๆ ประมาณ 4-5 ครั้ง สูดลมหายใจเข้าเต็มที่ กลั้นไว้แล้วหายใจออกพร้อมกับไอแรงๆ 2-3 ครั้ง
✿ เขียนบอกในกระดาษ ✿ ผู้ป่วยสามารถออกเสียง หรือพูดเป็นประโยคสั้นๆโดยใช้นิ้วมืออุดรูท่อหลอดลมคอไว้ขณะพูดหรือสื่อสาร เป็นระยะเวลาช่วงสั้นๆ ให้มีเสียงเปล่งเป็นคำๆ ออกมา แต่อาจไม่สามารถพูดคุยตามปกติได้นาน หรือเป็นประโยค เพราะต้องเปิดท่อบ้างเพื่อรับอากาศหายใจ ✿ ใช้ภาษามือ ประกอบการใช้ริมฝีปากเวลาพูด ✿ ท่อหลอดลมคอหลุด ท่อชั้นในหาย หรือใส่เข้าไม่ได้ ✿ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย แม้ว่าจะดูดเสมหะ หรือถอดล้างท่อชั้นในแล้วก็ตาม ✿ มีการติดเชื้อที่แผลเจาะคอเช่น มีไข้สูง ปวด บวม แดง มีหนองออกจากแผล ✿ มีเลือดออกจากท่อหลอดลมคอ หรือจากรอบๆท่อ ✿ มีการติดเชื้อในปอด หรือหลอดลม เช่น ไอมาก เสมหะข้น มีสีเขียว สีเหลืองและมีกลิ่นเหม็น และมีไข้ร่วมด้วย
อุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดชุดสำหรับเจาะคอ ประกอบด้วย ✿ ภาชนะใส่น้ำ ✿ ชาม หรือหม้อ ✿ แปรงขนาดเล็ก ขนเป็ด หรือขนไก่ ✿ สบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจาน ✿ ลูกยางแดง หรือเครื่องดูดเสมหะ
วิธีทำความสะอาดชุดสำหรับชุดสายงวงช้างคอลลูเกต ผู้ป่วยเจาะคอ มีขั้นตอนดังนี้ ✿ ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ✿ มือข้างที่ไม่ถนัดจับท่อหลอดลมคอชั้นนอก ส่วนมือข้างที่ถนัดหมุนล็อคช้าๆ และถอดท่อหลอดลมคอชั้นในจากคอ แช่น้ำทิ้งไว้ 5-10 นาที ✿ ล้างท่อชั้นในด้วยสบู่ ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานทั้งด้านนอกและด้านใน แปรงท่อด้านในด้วยแปรงขนาดเล็ก จนกว่าเสมหะหลุดออกหมด และล้างด้วยน้ำให้สะอาด โดยการเปิดน้ำก๊อกให้ไหลผ่านภายในท่อหลอดลมคอ ถ้าเป็นท่อชนิดพลาสติกระวังอย่าให้มีรอยถลอก ✿ นำท่อชั้นในชนิดโลหะต้มในน้ำเดือดนาน 30 นาที แล้วนำขึ้นมาวางไว้ให้หายร้อน สำหรับชนิดพลาสติกให้แช่น้ำยาไฮโปคลอไรท์ 0.5 % นาน 30 นาที และล้างด้วยน้ำต้มสุกมากๆ จนแน่ใจว่าไม่มีน้ำยาเหลือค้างอยู่ในท่อ ✿ ก่อนนำไปใช้ ต้องสลัดท่อชั้นในให้แห้งสนิท ไม่ให้มีหยดน้ำค้างอยู่ในท่อเลย ✿ ให้ผู้ป่วยไอเอาเสมหะออกจากคอ หรือดูดเสมหะจากท่อหลอดลมคอชั้นนอกที่ติดอยู่กับผู้ป่วย ด้วยลูกยางแดง หรือใช้เครื่องดูดเสมหะ การดูดแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 10 วินาที ✿ สวมท่อหลอดลมคอชั้นในกลับไปที่คอผู้ป่วยช้าๆ แล้วหมุนล็อคท่อหลอดลมคอให้สนิท เพื่อป้องกันท่อเลื่อนหลุดออกมา
วิธีทำความสะอาดแผลเจาะคอ มีขั้นตอนดังนี้ ✿ ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง ✿ นั่งหน้ากระจก แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถทำแผลได้เอง ต้องมีผู้ดูแลทำแผลให้ โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย หนุนต้นคอด้วยผ้า หรือหมอนเล็กๆ เพื่อให้คอแอ่นขึ้นเล็กน้อย ✿ ใช้กรรไกรตัดพลาสเตอร์ที่ติดบนก๊อส และค่อยๆ ดึงผ้าก๊อสผืนเก่า ที่รองใต้ท่อหลอดลมคอของผู้ป่วยออก ✿ ใช้ปากคีบคีบสำลี และเทแอลกอฮอล์ลงบนสำลีพอหมาด เช็ดผิวหนังบริเวณรอบรูท่อหลอดลมคอ และบริเวณรอบๆแผลโดยวนจากด้านในชิดกับท่อ ออกด้านนอกจนสะอาด ✿ ใช้ปากคีบคีบสำลีและใช้สำลีพันปลายไม้ และเทน้ำเกลือลงบนสำลีพอหมาด แล้วเช็ดผิวหนังบริเวณใต้ท่อหลอดลมคอทั้งด้านบนและด้านล่าง ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา และทำซ้ำด้วยสำลี หรือสำลีพันปลายไม้อันใหม่จนสะอาด ห้ามใช้ไม้พันสำลีแยงเข้าไปภายในท่อหลอดลมคอ เพราะอาจจะหลุดเข้าไป อุดตันหลอดลม ทำให้หายใจไม่ออกได้ ✿ ใช้ปากคีบคีบผ้าก๊อสรูปห้าเหลี่ยมที่พับไว้ รองใต้แป้นท่อหลอดลมคอทีละข้าง แล้วปิดพลาสเตอร์ยึดชายผ้าก๊อตด้านล่างเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเสียดสีกับผิวหนัง ในกรณีที่เป็นท่อปีกนิ่ม อาจไม่ต้องใส่ผ้าก๊อตรองก็ได้ ✿ อุปกรณ์ที่ใช้แล้ว ได้แก่ ปากคีบ ให้ล้างและต้มฆ่าเชื้อทันทีในน้ำเดือดนาน 30 นาที ส่วนของสกปรกอื่นๆ ใส่ถุงพลาสติก และปิดปากถุงให้แน่นก่อนทิ้ง
เอกสารอ้างอิง |