ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ (Respiratory allergy) ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ชนิดนี้ จะเกี่ยวข้องกับจมูก เพราะจมูกเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบทางเดินหายใจ เพื่อใช้กรองฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอม และใช้ปรับอุณหภูมิของร่า
365wecare
เข้าสู่ระบบ    | ยังไม่มีสินค้า  
หน้าแรก  รีวิวสินค้า  ปัญหาสุขภาพ  วิธีสั่งซื้อ  ข่าวสาร  แนะนำสินค้า  สาระน่ารู้  ติดต่อเรา 
ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ (Respiratory allergy)

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ (Respiratory allergy) 

 

 โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เรื่องไม่เล็ก ที่พบได้บ่อย enlightened
 

     อาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ชนิดนี้ จะเกี่ยวข้องกับจมูก เพราะจมูกเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบทางเดินหายใจ เพื่อใช้กรองฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอม และใช้ปรับอุณหภูมิของร่างกาย ก่อนที่จะผ่านลงไปสู่หลอดลม ซึ่งภายในจมูกจะมีโพรงจมูก และเมื่อเยื่อบุโพรงจมูกสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ก็จะเกิดการอักเสบ 

 
     ผู้เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดนี้ จะมีการตอบสนองทางกลิ่นหรืออากาศที่หายใจเข้าไปค่อนข้างสูง และไวกว่าคนปกติ โดยเฉพาะกับเกสรดอกไม้ ฝุ่น ไรฝุ่น ควันต่างๆ และขนสัตว์ อาจมีอาการทางจมูก ตา และ หอบหืด เป็นความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ และจากปฏิกิริยาการแพ้จะมีการอักเสบที่เกิดจากปฏิกิริยาแพ้จากการได้รับปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ มลภาวะหรือปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เช่น การได้รับน้ำนมจากมารดาน้อย ควันบุหรี่ ความเครียดก่อนคลอด อาการเริ่มแรกของหอบหืด คือ หายใจมีเสียงวี๊ด ไอแห้ง แน่หน้าอก หายใจลำบาก การอักเสบเรื้อรังทำให้หลอดลมเกิดการบีบรัดตัวมากกว่าปกติ 

 

 
 อาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจหรือโรคแพ้อากาศ  แบ่งได้เป็น 2 ชนิด 

 

 อาการภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis) เกิดอาการแตกต่างกัน ได้แก่ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก หรือมีเสมหะไหลลงคอ อาจนำไปสู่ภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง น้ำตาไหล เปลือกตาบวม ผู้ป่วยอาจมีอาการตามฤดู หรือเป็นตลอดทั้งปี 


 อาการหอบหืด (Asthma) เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ ก่อให้เกิดอาการอักเสบของหลอดลมตามมา ทำให้หอบหายใจมีเสียงดัง 

 


 สาเหตุของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ 


 โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยด้วยกัน 


 พันธุกรรม การที่เด็กมีคุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้องเป็นโรคภูมิแพ้ ทำให้เด็กมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าคนอื่นเปรียบเหมือนภูเขาน้ำแข็งที่ใกล้โผล่ขึ้นมา หากเด็กเจอสารก่อภูมิแพ้เพียงเล็กน้อยสามารถเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นมาได้ตั้งแต่เล็ก 


 สิ่งแวดล้อม เด็กได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น สัตว์เลี้ยง แมลงสาบ เชื้อรา เป็นต้น เด็กบางคนอาจไม่มีปัจจัยทางพันธุกรรม แต่ถ้าเจอสารก่อภูมิแพ้ในสภาพแวดล้อมในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน อาการภูมิแพ้สามารถปรากฎได้ รวมถึงกลิ่นฉุนต่างๆ เช่น กลิ่นบุหรี่ เด็กที่ได้รับการกระตุ้นระบบทางเดินหายใจด้วยการสูดกลิ่นบุหรี่เข้าไป มีโอกาสเป็นภูมิแพ้สูงกว่าเด็กอื่น และเด็กที่มีโรคภูมิแพ้ หากได้รับไวรัส RSV เข้าไป หลอดลมจะไวมาก เด็กบางคนอาจมีภาวะหลอดลมไวต่อเนื่องอีกหลายเดือนหรือเป็นปีถึงแม้จะหายขาดจากโรคแล้วก็ตาม 

 


 ปัจจัยและสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด ⚠


 สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น สัตว์เลี้ยง ละอองเกสร 


 เป็นหวัด ติดเชื้อไวรัส 


 การออกกำลังกายหนักเกินไป 


 ยาและอาหารบางชนิด 


 ภาวะจิตใจวิตกกังวล 


 มลภาวะทางอากาศ ควันบุหรี่ ควันเผาไหม้ต่างๆ สารเคมีต่างๆ 


 การใช้น้ำหอมหรือสเปรย์กลิ่นแรงๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหอมใช้ตามร่างกาย หรือน้ำหอมปรับอากาศ รวมทั้งกลิ่นของสีและน้ำยาขัดล้างเคลือบเครื่องเรือนต่างๆ 


 เกสรดอกไม้ ดอกหญ้าต่างๆ หรือเชื้อราที่อยู่ตามที่ต่างๆ ฝุ่นละออง ไรฝุ่น และภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศก็อาจกระตุ้นความรุนแรงของอาการแพ้ทางเดินหายใจได้ ด้วยปฏิกิริยาภูมิแพ้มักเกิดคู่กัน 

 

 
 
อาการแทรกซ้อนของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ 


  โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจในเด็ก ถ้าทิ้งไว้นานหรือไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง แต่เนิ่นๆ อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น 

 

 อาการแทรกซ้อนของภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนบน : ไซนัสอักเสบและภาวะนอนกรน ไซนัสอักเสบเกิดจากการเป็นหวัดเรื้อรัง หากเด็กเป็นภูมิแพ้ในโพรงจมูกแล้วรักษาหวัดไม่หายขาด ทำให้มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบได้ สำหรับภาวะนอนกรนของเด็กเกิดจากต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิลโต ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น หากเป็นมากเด็กอาจหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ระหว่างหลับสนิททำให้สมองขาดออกซิเจนไปเลี้ยง และมีการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายได้ ซึ่งจะทำให้มีผลเสียต่ออวัยวะสำคัญหลายอย่าง เช่น สมอง หัวใจ รวมถึงทำให้เด็กนอนหลับไม่เต็มที่และมีอาการง่วง อ่อนเพลีย สมาธิสั้นในเวลากลางวัน 


อาการแทรกซ้อนของภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนล่าง : ภาวะหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โรคหอบหืด ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจที่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์เฉพาะทางอาจต้องมีการใช้ยารักษาต่อเนื่องระยะยาวได้

ผลิตภัณฑ์สำหรับ ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ (Respiratory allergy) ที่เราแนะนำ

  • aLGy Aromatherapy Anti-dust mite Spray แอลจี อโรมาเธราปี แอนตี้-ดัส มาย สเปรย์
    aLGy Aromatherapy Anti-dust mite Spray แอลจี อโรมาเธราปี แอนตี้-ดัส มาย สเปรย์

  • Blackmores Buffered C 75 เม็ด. แบลคมอร์ส
    Blackmores Buffered C 75 เม็ด. แบลคมอร์ส

  • Nasaleze Children Allergy Blocker 800mg.Powder Spray นาซัลลีซ ชิลเดรน อัลเลอจี บลอคเกอร์ พาวเดอร์ สเปรย์
    Nasaleze Children Allergy Blocker 800mg.Powder Spray นาซัลลีซ ชิลเดรน อัลเลอจี บลอคเกอร์ พาวเดอร์ สเปรย์

  • Nasaleze Allergy Blocker 800mg.Powder Spray นาซัลลีซ อัลเลอจี บลอคเกอร์ พาวเดอร์ สเปรย์
    Nasaleze Allergy Blocker 800mg.Powder Spray นาซัลลีซ อัลเลอจี บลอคเกอร์ พาวเดอร์ สเปรย์

  • VISTRA Acerola Cherry 1000mg. 45เม็ด วิสทร้า อเซโรล่า เชอร์รี่
    VISTRA Acerola Cherry 1000mg. 45เม็ด วิสทร้า อเซโรล่า เชอร์รี่

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ (Respiratory allergy) 

 

 โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เรื่องไม่เล็ก ที่พบได้บ่อย enlightened
 

     อาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ชนิดนี้ จะเกี่ยวข้องกับจมูก เพราะจมูกเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบทางเดินหายใจ เพื่อใช้กรองฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอม และใช้ปรับอุณหภูมิของร่างกาย ก่อนที่จะผ่านลงไปสู่หลอดลม ซึ่งภายในจมูกจะมีโพรงจมูก และเมื่อเยื่อบุโพรงจมูกสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ก็จะเกิดการอักเสบ 

 
     ผู้เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดนี้ จะมีการตอบสนองทางกลิ่นหรืออากาศที่หายใจเข้าไปค่อนข้างสูง และไวกว่าคนปกติ โดยเฉพาะกับเกสรดอกไม้ ฝุ่น ไรฝุ่น ควันต่างๆ และขนสัตว์ อาจมีอาการทางจมูก ตา และ หอบหืด เป็นความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ และจากปฏิกิริยาการแพ้จะมีการอักเสบที่เกิดจากปฏิกิริยาแพ้จากการได้รับปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ มลภาวะหรือปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เช่น การได้รับน้ำนมจากมารดาน้อย ควันบุหรี่ ความเครียดก่อนคลอด อาการเริ่มแรกของหอบหืด คือ หายใจมีเสียงวี๊ด ไอแห้ง แน่หน้าอก หายใจลำบาก การอักเสบเรื้อรังทำให้หลอดลมเกิดการบีบรัดตัวมากกว่าปกติ 

 

 
 อาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจหรือโรคแพ้อากาศ  แบ่งได้เป็น 2 ชนิด 

 

 อาการภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis) เกิดอาการแตกต่างกัน ได้แก่ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก หรือมีเสมหะไหลลงคอ อาจนำไปสู่ภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง น้ำตาไหล เปลือกตาบวม ผู้ป่วยอาจมีอาการตามฤดู หรือเป็นตลอดทั้งปี 


 อาการหอบหืด (Asthma) เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ ก่อให้เกิดอาการอักเสบของหลอดลมตามมา ทำให้หอบหายใจมีเสียงดัง 

 


 สาเหตุของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ 


 โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยด้วยกัน 


 พันธุกรรม การที่เด็กมีคุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้องเป็นโรคภูมิแพ้ ทำให้เด็กมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าคนอื่นเปรียบเหมือนภูเขาน้ำแข็งที่ใกล้โผล่ขึ้นมา หากเด็กเจอสารก่อภูมิแพ้เพียงเล็กน้อยสามารถเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นมาได้ตั้งแต่เล็ก 


 สิ่งแวดล้อม เด็กได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น สัตว์เลี้ยง แมลงสาบ เชื้อรา เป็นต้น เด็กบางคนอาจไม่มีปัจจัยทางพันธุกรรม แต่ถ้าเจอสารก่อภูมิแพ้ในสภาพแวดล้อมในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน อาการภูมิแพ้สามารถปรากฎได้ รวมถึงกลิ่นฉุนต่างๆ เช่น กลิ่นบุหรี่ เด็กที่ได้รับการกระตุ้นระบบทางเดินหายใจด้วยการสูดกลิ่นบุหรี่เข้าไป มีโอกาสเป็นภูมิแพ้สูงกว่าเด็กอื่น และเด็กที่มีโรคภูมิแพ้ หากได้รับไวรัส RSV เข้าไป หลอดลมจะไวมาก เด็กบางคนอาจมีภาวะหลอดลมไวต่อเนื่องอีกหลายเดือนหรือเป็นปีถึงแม้จะหายขาดจากโรคแล้วก็ตาม 

 


 ปัจจัยและสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด ⚠


 สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น สัตว์เลี้ยง ละอองเกสร 


 เป็นหวัด ติดเชื้อไวรัส 


 การออกกำลังกายหนักเกินไป 


 ยาและอาหารบางชนิด 


 ภาวะจิตใจวิตกกังวล 


 มลภาวะทางอากาศ ควันบุหรี่ ควันเผาไหม้ต่างๆ สารเคมีต่างๆ 


 การใช้น้ำหอมหรือสเปรย์กลิ่นแรงๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหอมใช้ตามร่างกาย หรือน้ำหอมปรับอากาศ รวมทั้งกลิ่นของสีและน้ำยาขัดล้างเคลือบเครื่องเรือนต่างๆ 


 เกสรดอกไม้ ดอกหญ้าต่างๆ หรือเชื้อราที่อยู่ตามที่ต่างๆ ฝุ่นละออง ไรฝุ่น และภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศก็อาจกระตุ้นความรุนแรงของอาการแพ้ทางเดินหายใจได้ ด้วยปฏิกิริยาภูมิแพ้มักเกิดคู่กัน 

 

 
 
อาการแทรกซ้อนของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ 


  โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจในเด็ก ถ้าทิ้งไว้นานหรือไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง แต่เนิ่นๆ อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น 

 

 อาการแทรกซ้อนของภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนบน : ไซนัสอักเสบและภาวะนอนกรน ไซนัสอักเสบเกิดจากการเป็นหวัดเรื้อรัง หากเด็กเป็นภูมิแพ้ในโพรงจมูกแล้วรักษาหวัดไม่หายขาด ทำให้มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบได้ สำหรับภาวะนอนกรนของเด็กเกิดจากต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิลโต ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น หากเป็นมากเด็กอาจหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ระหว่างหลับสนิททำให้สมองขาดออกซิเจนไปเลี้ยง และมีการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายได้ ซึ่งจะทำให้มีผลเสียต่ออวัยวะสำคัญหลายอย่าง เช่น สมอง หัวใจ รวมถึงทำให้เด็กนอนหลับไม่เต็มที่และมีอาการง่วง อ่อนเพลีย สมาธิสั้นในเวลากลางวัน 


อาการแทรกซ้อนของภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนล่าง : ภาวะหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โรคหอบหืด ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจที่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์เฉพาะทางอาจต้องมีการใช้ยารักษาต่อเนื่องระยะยาวได้

เอกสารอ้างอิง



Copyright © 2011-2023 www.365wecare.com | Site Map