อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยหลอดลมอุดกั้น (COPD Nutrition)
365wecare
เข้าสู่ระบบ    | ยังไม่มีสินค้า  
หน้าแรก  รีวิวสินค้า  ปัญหาสุขภาพ  วิธีสั่งซื้อ  ข่าวสาร  แนะนำสินค้า  สาระน่ารู้  ติดต่อเรา 
อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยหลอดลมอุดกั้น (COPD Nutrition)

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยหลอดลมอุดกั้น (COPD Nutrition)

 

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD)  enlightened

 

     ปอดเป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจ ที่มีหน้าที่หลักในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ของเลือด คือรักษาระดับของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่วนประกอบที่สำคัญของปอดคือ ทางเดินหายใจ (Airway) เป็นส่วนที่อากาศลงไปยังถุงลมปอด เนื้อเยื่อปอด (lung parenchyma) เป็นส่วนที่มีถุงลมปอดและเส้นเลือดปอดมาอยู่รวมกันและมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น 

 

     โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ โรคปอดชนิดเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีพยาธิสภาพของถุงลมโป่งพองและ/หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรังเกิดร่วมกัน สาเหตุหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง  สาเหตุ  ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค COPD ได้แก่ การสูบบุหรี่ โดยพบว่าสารในควันบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดลมและเนื้อปอด โดยจะมีเซลล์อักเสบเข้ามาสะสมอยู่ในปอด  และหลั่งสารต่างๆ ที่ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด (protease) ทำให้ถุงลมปอดถูกทำลาย เกิดภาวะถุงลมโป่งพองและหลอดลมตีบตัว เนื่องจากมีการอักเสบและบวมของเยื่อบุผิว ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังตามมา นอกจากบุหรี่แล้ว สาเหตุเสริมอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของโรค COPD ได้แก่ ภาวะมลพิษในอากาศ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และการขาดสารบางชนิดแต่กำเนิดที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (ส่วนมากพบเฉพาะในชาวตะวันตก) 

 

การป้องกันหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง  

 

     อาการแสดงของโรค  มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติการสูบบุหรี่มานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก  มีอาการเหนื่อยง่ายขึ้น ไม่สามารถทำกิจการต่างๆ ที่เคยทำได้ โดยอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยตลอดเวลา เกิดภาวะหายใจวายเรื้อรัง นอกจากนี้เวลาที่ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ก็อาจเกิดภาวะหายใจวายเฉียบพลันได้ง่าย

 

การดูแลสุขภาพทั่วไป  

 

     การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหมั่นออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำไหวอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) จำนวน 329 ล้านคนหรือเกือบ 5% ของจำนวนประชากรในปี ค.ศ. 2012 โรคนี้เป็นโรคอันดับที่ 3 ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนจำนวนกว่า 3 ล้านคน จำนวนของผู้เสียชีวิตนั้นคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากอัตราการสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้นและอายุของประชากรในหลาย ๆ ประเทศ  

 

การรักษาหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง   

 

     โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)  ไม่มีการรักษาที่แน่ชัด แต่อาการของโรคสามารถรักษาและชะลอความรุนแรงของโรคได้ โดยเป้าหมายหลักของการจัดการโรคคือ การลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การหยุดสูบบุหรี่ แต่บางสาเหตุก็ไม่สามารถแก้ไขได้  เช่น สาเหตุจากพันธุกรรม

 

วิธีการรักษาประกอบไปด้วย  

  1. 1. การรักษาแบบประคับประคอง  
  2. 2. การให้ยาขยายหลอดลม ซึ่งมีทั้งในรูปแบบกินและพ่น
  3. 3. การให้ยาลดการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์
  4. 4. การให้ออกซิเจน
  5. 5. การทำกายภาพบำบัด
  6. 6. การผ่าตัดบริเวณของปอดที่มีการโป่งพองมาก

 

สรุปหัวข้อในการดูแลรักษา

  • yes หลีกเลี่ยงการหายใจเอาสารมลภาวะเป็นพิษเข้าไป โดยเฉพาะการงดสูบบุหรี่ หรือสูดดม
  • yes การประเมินความรุนแรงของโรคเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมด้วยแพทย์
  • yes การตรวจและรักษาโรคร่วมอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วย เช่นโรคหัวใจ
  • yes โภชนาการและน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
  • yes สุขภาพทางจิตใจของผู้ป่วย
  • yes การฟื้นฟูสมรรถภาพของปอดและของร่างกายทั้งหมด
  • yes​​​​​​​ การป้องกันและรักษาอาการกำเริบของโรคแต่เนิ่นๆ
  • yes​​​​​​​ การสอนผู้ป่วยให้เข้าใจถึงโรคและการช่วยเหลือตัวเองได้
  • yes​​​​​​​ การสอนญาติให้เข้าใจเพื่อช่วยเหลือดูแลอาการของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
  • yes​​​​​​​ การศึกษาและเข้าใจลักษณะอาการของโรคเป็นสิ่งสำคัญ จะทำให้ผู้ป่วยรู้ถึงสาเหตุของโรคและวิธีการรักษาสุขภาพได้อย่างถูกต้อง  

 

       ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคถุงลมโป่งพอง มักจะมีการระคายเคืองต่อผนังหลอดลมและถุงลม มีเสมหะมากมีการอักเสบเรื้อรัง เป็นผลให้การทำงานของปอดลดลง รู้สึกเหนื่อยง่าย  ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ และสูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ คนที่ป่วยด้วยโรคนี้จึงต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์พร้อมรับคำแนะนำในการฝึกวิธีหายใจที่ถูกต้อง การออกกำลังกายเพื่อสร้างความต้านทานโรค รวมถึงการปฏิบัติตัว 

 

อาหารที่เหมาะแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือผู้ป่วยโรค COPD ควรกินอาหารเพื่อ

  • ให้มีน้ำหนักตัวคงที่
  • ให้กล้ามเนื้อหายใจทำงานได้ดี
  • เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับเชื้อโรค  

 

       ดังนั้นอาหารทางการแพทย์ มีสารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนที่สมดุล ทั้งโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ ยังมีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการเกือบ 30 ชนิด จึงแนะนำให้ดื่มเสริมในกรณีที่ปรับเปลี่ยนอาหารปกติแล้ว ยังได้สารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งจะแตกต่างจากการรับประทานอาหารเสริมทั่วไป เช่น นม หรือน้ำผลไม้ เพราะมักให้พลังงานน้อยกว่าและให้สารอาหารไม่ครบถ้วน  ส่วนประกอบของอาหารทางการแพทย์มักถูกคัดสรรมาเป็นอย่างดี เช่น คาร์โบไฮเดรตชนิดดูดซึมช้า ใช้น้ำมันที่มีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันรำข้าว และเลือกใช้โปรตีนที่มีค่า PDCAAS* สูง ได้แก่ เวย์ เคซีน หรือโปรตีนถั่วเหลือง อาหารทางการแพทย์ปราศจากแลคโตส ดังนั้น ผู้ที่แพ้แลคโตสจึงสามารถรับประทานได้

 

เทคนิคการแนะนําอาหารทางการแพทย์   

 

     อาหารทางการแพทย์ 1 แก้ว ให้พลังงานประมาณข้าวราดแกงครึ่งจานและให้โปรตีนเทียบเท่ากับไข่ขาวประมาณ 3 ฟอง หาก รับประทานอาหารได้ครึ่งหนึ่งอาจจะแนะนำดื่มเสริมมื้อละ 1 แก้ว  หากมีอาการแน่นท้อง แนะนำให้ผสมให้เข้มข้นขึ้นและแบ่งออกเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ อาหารทางการแพทย์สูตรมาตรฐานสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยเกือบทุกโรค ยกเว้นกรณีผู้ป่วยเบาหวานหรือโรคไต ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหารเพื่อพิจารณาสูตรที่เหมาะสม   

 

สรุป : ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือต้องนอนโรงพยาบาล ควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนเพียงพอและเหมาะสม อาหารทางการแพทย์เป็นตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโภชนบำบัดอย่างเพียงพอได้

ผลิตภัณฑ์สำหรับ ที่เราแนะนำ

  • Respa Well 6ซอง กลิ่นข้าวโพด ชนิดซอง 300 g.
    Respa Well 6ซอง กลิ่นข้าวโพด ชนิดซอง 300 g.

  • Prowell Respa Well300g. โปรเวล เรสพาเวล
    Prowell Respa Well300g. โปรเวล เรสพาเวล

เอกสารอ้างอิง

1.สิริพันธุ์ จุลกรังคะ, โภชนศาสตร์เบื้องต้น, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550 2.เนตรนภิส ธีระวัลย์ชัย, โภชนาการ บทที่23 โภชนาการ 1002 – 1042, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.งานโภชนศาสตร์คลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, โภชนศาสตร์ทางคลินิก ปี2551 4.รายงานคณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารประจำวันที่ร่างกายควรได้รับของประชาชนไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข พ.ศ.2532. 5.เจริญศรี มังกรกาญจน์. โภชนาการ ใน: ดารณี ชุมนุมศิริวัฒน์, สมทรง เลขะกุล, บรรณาธิการ. ชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เล่ม2. กรุงเทพฯ: บริษัทพรประเสริฐ พริ้นติ้ง จำกัด, 2536. 6.วรนันท์ ศุภพิพัฒน์. อาหาร โภชนาการและสารเป็นพิษ. กรุงเทพฯ: แสงการพิมพ์, 2538. 7.Nutrition in Clinical Medicine,สาขาโภชนศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่1 ตุลาคม 2553 : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร 8.Cohn RM, Roth KS. Biochemistry and disease. Baltimore: Williams & Wilkins, 1996. 9.Linder MC. Nutritional biochemistry and metabolism with clinical application. 2nd ed. New Jersey : Prentice-Hall International Inc., 1991. 10.Mahan LK, Escott-Stump S. Krause’s food, nutrition & diet therapy. 9th ed. Philadelphia : W.B0Saunders Company, 1996

2. ศูนย์โรคปอด และระบบทางเดินหายใจ   ชั้น 5 อาคารโรงพยาบาลกรุงเทพ

3. สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. คำแนะนำการดูแลทางโภชนาการในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่นอนโรงพยาบาล พ.ศ. 2560   *PDCAAS: Protein Digestibility Corrected Amino Acid Score

For Healthcare Professional Use Only

query_phw error