คืออุปกรณ์สวมใส่ที่เอวช่วยพยุงกระดูกสันหลัง จะทำให้หลังของผู้สวมใส่ยืดตรงตามรูปของกระดูกสันหลัง เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังเป็นประจำ ป้องกันอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง, บรรเทาอาการปวดหลัง, ช่วยควบคุมแผ่นหลังของผู้สวมใส่ให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง ทำให้ผู้สวมใส่ไม่เสียบุคลิกภาพ และช่วยลดการเกิดกล้ามเนื้อหลังอักเสบได้ ปวดตรงไหนถึงเรียกว่าปวดก้นกบ หลายๆคน แยกไม่ออกว่าเวลาที่เรารู้สึกปวดบริเวณหลัง อาการปวดนั้นมาจากการปวดหลัง ปวดกระเบนเหน็บ หรือปวดกระดูกก้นกบ เพราะอวัยวะส่วนต่างๆ เหล่านี้ มีความเชื่อมโยงกัน กระดูก้นกบไม่ใช่กระดูกบริเวณกระเบนเหน็บ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนด้านหลังระดับบั้นเอวตรงที่เหน็บชายกระเบน แต่กระดูกก้นกบ หรือ coccyx เป็นกระดูกส่วนปลายสุดของกระดูกสันหลัง คลำๆ ดูจะพบว่าเป็นตุ่มๆ อยู่เหนือร่องก้นเล็กน้อย ถ้าเปรียบเทียบกับสัตว์โลกอื่นๆ จุดนี้ก็จะเป็นส่วนหางนั่นเอง ผลิตภัณฑ์สำหรับ อุปกรณ์พยุงก้นกบ (LS Support) ที่เราแนะนำอาการของ พิริฟอร์มิส (Piriformis Syndrome) กล้ามเนื้อที่อยู่ภายในก้นใกล้กับสะโพก มีหน้าที่รักษาสมดุลของสะโพกและช่วยให้ต้นขาเคลื่อนไหวไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ จึงจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของร่างกายและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ลำตัวส่วนล่าง หากกล้ามกล้ามเนื้อชนิดนี้ไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก ซึ่งเป็นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่พาดผ่านขาทั้ง 2 ข้าง อาจส่งผลให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้ ► ปวดและชาที่ก้นร้าวไปยังขาทั้ง 2 ข้าง ส่วนใหญ่มีอาการชาร้าวลงหน้าแข้งและน่อง ► รู้สึกเจ็บลึกๆเมื่อใช้มือกดบริเวณก้น ► ปวดหลังช่วงล่าง ► ส่วนใหญ่นั่งจะมีอาการปวดเพิ่มขึ้น ► ยืนก็ปวด จะเปลี่ยนอิริยบท จากนั่งลุกขึ้นยืนจะปวดแปล้บที่ก้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อต้องนั่งเป็นเวลานานหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวลำตัวส่วนล่าง เช่น วิ่ง หรือขึ้นบันได เป็นต้น หากมีอาการรุนแรงมากก็อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้ อุปกรณ์พยุงหลังและสะโพก (Sacro lumbar support) อุปกรณ์พยุงก้นกบเหมาะสำหรับใครบ้าง ผู้มีปัญหาปวดเอว ปวดสะโพกได้ ปวดสะโพกร้าวลงขา
วิธีการใส่อุปกรณ์พยุงก้นกบ1. ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยพลิก ให้ไหล่และสะโพกไปพร้อมกัน น าอุปกรณ์พยุงหลัง เข้าไปวางด้านหลังล าตัวผู้ป่วยโดยให้ขอบล่างของ อุปกรณ์อยู่บริเวณก้นกบ และแนวแกนโลหะอยู่ ขนาบข้างแนวกระดูกสันหลัง 2. จากนั้นพลิกตะแคงตัวกลับมาด้านตรงข้าม จัด อุปกรณ์พยุงหลังให้อยู่ในต าแหน่งเหมาะสม 3. พลิกตัวกลับมาในท่านอนหงาย แขม่วท้องแล้วติด แถบรัดของอุปกรณ์พยุงหลังทางด้านหน้าให้กระชับ วิธีการถอดอุปกรณ์พยุงก้นกบ1. ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ดึงแถบรัดของอุปกรณ์ พยุงหลังออกจากกัน 2. ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยพลิกให้ ไหล่และสะโพกไปพร้อมกัน น าอุปกรณ์พยุงหลัง ออกจากตัวผู้ป่วย 3. ผู้ป่วยพลิกกลับมานอนหงายเช่นเดิม วิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์พยุงก้นกบ
เอกสารอ้างอิง |