อาการของโรคตับอักเสบ
แบ่งเป็นอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง
- ▶ อาการตับอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่ เหนื่อยง่าย เมื่อยล้า ปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อ อาจมีไข้ได้ เบื่ออาหาร ปวดท้องหรือเจ็บเสียดบริเวณชายโครงขวา คันตามผิวหนัง น้าหนักตัวลดลง ภาวะดีซ่านทาให้เกิดภาวะตัวเหลืองตาเหลือง
- ▶ อาการตับอักเสบเรื้อรัง อาจไม่พบอาการชัดเจนใดๆ จนกระทั่งตับเริ่มทางานได้ไม่เต็มที่หรือมีภาวะตับวาย ซึ่งอาจตรวจพบได้จากผลการตรวจเลือด ได้แก่ ภาวะดีซ่าน การบวมของขา เท้า ข้อเท้า สับสน มึนงง อาเจียนหรืออุจาระเป็นเลือด ท้องมาน ไตวายและอาจนาไปซึ่งการเป็นมะเร็งตับได้
โรคไวรัสตับอักเสบ
เพื่อทราบถึงชนิดของไวรัส ต้องดูจากผลตรวจเลือดเท่านั้น เนื่องจากอาการโดยทั่วไปจะมีความคล้ายคลึงกัน
▶ โรคไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A Virus, HAV) ส่วนใหญ่เกิดจากการรับเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น การทานอาหาร ผักสด ผลไม้ น้าดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อนี้หรือทาไม่สุก ไม่สะอาด ไม่ต้มเดือด เป็นต้น ความรุนแรงของอาการมักเพิ่มขึ้นตามอายุ บางรายอาจไม่แสดงอาการ มีอาการนาเช่นอ่อนเพลียเบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัวและส่วนใหญ่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางรายอาจพบอาการท้องเสีย อาเจียนได้ หรือมีอาการคล้ายไข้หวัด บางรายมีผื่นแดงหรือจุดเลือดออกหรือผื่นลมพิษได้ ตามมาด้วยอาการตัวเหลืองตาเหลือง เป็นการป่วยระยะสั้น ส่วนใหญ่ไม่จาเป็นต้องรักษาด้วยวิธีเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ผู้ป่วยที่ท้องเสียหรืออาเจียน ควรปฏิบัติตามคาสั่งแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้าและขาดสารอาหาร ในปัจจุบันมีการรักษาโดยให้สารอิมมูโนโกลบูลินและการฉีดวัคซีนป้องกัน
▶ ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus, HBV) เป็นไวรัสที่พบมากที่สุดทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการโดยเฉพาะในเด็ก ส่วนใหญ่หายได้เองและพบผู้ป่วยบางส่วนกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง เป็นพาหะของโรคในระยะยาวอาจมีภาวะตับแข็ง เป็นมะเร็งตับได้ พบเชื้อได้ในน้าเลือด สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้าอสุจิ น้าในช่องคลอด น้าลาย น้าตา น้านม เป็นต้น ทาให้มีโอกาสแพร่ เชื้อได้หลายทางเช่นการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน การจูบ การใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าเส้นร่วมกัน การฝังเข็ม การสัก การเจาะหูที่ไม่สะอาด การใช้ใบมีดโกน แปรงสีฟัน ร่วมกัน การสัมผัสบาดแผล เป็นต้น หากเป็นชนิดเฉียบพลันอาจมีการรักษาเฉพาะ แต่ชนิดเรื้อรังอาจต้องได้รับยาต้านเชื้อไวรัสหรือยาอื่นๆ ต้องพบแพทย์เพื่อประเมินการรักษาเป็นประจา และประเมินการตอบสนองของไวรัส ซึ่งอาจต้องใช้เวลารักษาต่อเนื่องนานหลายเดือนหรือเป็นปี ในปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเช่นกัน
▶ ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus, HCV) อาจต้องได้รับยาต้านไวรัส ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังอาจต้องรักษาด้วยการผสมยาต้านไวรัสหลายชนิดและอาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนตับสาหรับผู้ที่ตับอักเสบติดเชื้อเรื้อรังหรือเป็นโรคตับแข็ง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน การจูบ การใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าเส้นร่วมกัน
▶ ไวรัสตับอักเสบดี (Hepatitis D Virus, HDV) ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดี เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี พบเชื้อนี้ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทางติดต่อเช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบบีและซี
▶ ไวรัสตับอักเสบอี (Hepatitis E Virus, HEV) ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสาหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อี เนื่องจากเป็นการติดเชื้อที่ค่อนข้างเฉียบพลันและหายเองได้ แพทย์อาจแนะนาให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ามากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อี ที่กาลังตั้งครรภ์ จาเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
ภาวะตับอักเสบเรื้อรัง
ภาวะตับอักเสบเรื้อรังทาให้เกิดอนุมูลอิสระ ทาให้เกิดเป็นพังผืดเกาะตับ ตับแข็งและมะเร็งในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่ต้องคานึงในการให้การดูแลผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังได้แก่ การลดการเกิดอนุมูลอิสระและการกาจัดสารพิษจากตับ เพื่อทาให้เซลล์ตับสามารถทางานได้ตามปกติ โดยแบ่งการกาจัดสารพิษจากตับเป็น 2 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 ระยะนี้ตับอาศัยเอนไซม์หลายตัวจับสารพิษออกมาจากเลือดและขับออกนอกร่างกาย ในระยะนี้สารพิษจะกลายเป็นพิษมากขึ้น เป็นทั้งอนุมูลอิสระที่พร้อมจะทาลายเซลล์ตับ เป็นทั้งสารก่อมะเร็งที่พร้อมจะทาอันตรายเนื้อเยื่อส่วนอื่นของร่างกาย กระบวนการทั้งหมดจะต้องเกิดต่อเนื่องไปจนถึงระยะที่ 2 จึงจะเป็นการล้างพิษที่แท้จริง
- ระยะที่ 2 เป็นการจับคู่สารพิษเข้ากับสารที่จะทาให้เกิดการสะเทินพิษ เพื่อทาให้พิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหมดไป พร้อมๆ กับทาให้มันละลายน้าได้มากขึ้น พร้อมที่จะขับทิ้งออกนอกร่างกายทางไตและทางท่อน้าดี ศัพท์ทางการแพทย์เรียกกระบวนการนี้ว่า คอนจูเกชั่น (conjugation) จาเป็นที่ร่างกายจะต้องได้รับสารอาหารประเภทสารประกอบกลูตาไทโอน
ไลโมนีน ซีสเตอีน กรดเบนโซอิก วิตามินบีรวม แมกเนเซียม เซเลเนียม และสังกะสี เพื่อกระตุ้นการทางานขับสารพิษของตับในระยะที่ 2 เพื่อทาให้การล้างพิษสมบูรณ์
การป้องกันและรักษาสุขภาพจากภาวะตับอักเสบ
รักษาสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาด ไม่ใช้เข็มฉีดยา มีดโกน แปรงสีฟัน แก้วน้า ช้อนส้อมและของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ร่วมกัน ไม่สัมผัสเลือดหรือของเหลวจากผู้ที่ติดเชื้อ หลีกเลี่ยงแหล่งน้าที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส
ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ เช่น การสวมถุงยางอนามัยจะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ด้วย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม โดยเน้นบริโภคอาหารจาพวกผัก ผลไม้ โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือหรือน้าตาลในปริมาณมากและอาหารไขมันสูง เพื่อป้องกันการสะสมของไขมันในตับ รวมทั้งอาหารปรุงสุก ดื่มน้าต้มหรือน้าสะอาด
การฉีดวัคซีน จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบีได้ โดยปกติเด็กจะได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ อาจต้องตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันก่อนรับวัคซีน
ลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ตับได้พักจากการทางานหนัก และป้องกันความเสี่ยงการเกิดตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์
ตรวจสุขภาพประจาปี เพื่อติดตามการทางานของตับและสามารถรักษาได้ทันท่วงที
ใช้ยาตามที่แพทย์กาหนด ควรปฏิบัติตามคาสั่งแพทย์ทุกครั้งในการใช้ยา ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หากอยู่ระหว่างการรับประทานยารักษาโรค และควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง หากเป็นโรคตับหรือกาลังใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง
เลือกอาหารเสริมอย่างรอบคอบและระมัดระวัง หากต้องการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรวมทั้งศึกษาหาความรู้เสมอก่อนใช้ เนื่องจากยา อาหารเสริม หรือแม้กระทั่งสมุนไพร อาจส่งผลต่อตับได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร