เครียด นอนไม่หลับ (Stress and Insomnia)

เครียด นอนไม่หลับ (Stress and Insomnia)

เครียด นอนไม่หลับ (Stress and Insomnia) 

     ความเครียด (Stress) ทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมน ซึ่งในขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะเครียดนั้น ร่างกายจะถูกกระตุ้นและทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้ร่างกาย เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เป็นต้น หากภาวะเครียดดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีอาการซึมเศร้า กล้ามเนื้อเกร็งตัว นอนไม่หลับ ปวดประจำเดือน สมรรถภาพทางเพศลดลง ตลอดจนอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ ตามมาเช่น โรค
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น 

ผลิตภัณฑ์สำหรับ เครียด นอนไม่หลับ (Stress and Insomnia) ที่เราแนะนำ

  • Pharma Nord Bio-Magnesium ฟาร์มา นอร์ด ไบโอ แมกนีเซียม
    Pharma Nord Bio-Magnesium ฟาร์มา นอร์ด ไบโอ แมกนีเซียม

  • Blackmores Hyperiforte แบลคมอร์ส ไฮเปอริฟอร์ท
    Blackmores Hyperiforte แบลคมอร์ส ไฮเปอริฟอร์ท

  • XPN G2 Pharmax aenti.age timedefier 500mg. เอ็กซ์พีเอ็น
    XPN G2 Pharmax aenti.age timedefier 500mg. เอ็กซ์พีเอ็น

  • 365 Lifecare Magnesium Zinc Complex 30แคปซุล. 365 ไลฟ์แคร์ แมกนีเซียม - ซิงค์ คอมเพล็กซ์
    365 Lifecare Magnesium Zinc Complex 30แคปซุล. 365 ไลฟ์แคร์ แมกนีเซียม - ซิงค์ คอมเพล็กซ์

  • Vitech Migra-C 30s. ไวเทค ไมกร้า ซี
    Vitech Migra-C 30s. ไวเทค ไมกร้า ซี

ลักษณะอาการ เครียด นอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ (insomnia) เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งจากพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสม ความเครียด หรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น อาการของโรคแม้จะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการนอนใหม่ ในบางรายอาจต้องใช้การทานยาร่วมด้วยขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค

 

enlightened  อาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ ระบบย่อยอาหารแปรปรวน ซึ่งจะทำให้มีแนวโน้มการเกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูกได้ง่าย ปวดบริเวณคอหรือหลัง มีอาการเบื่ออาหารหรืออาจมีอาการรับประทำนมากเกินไป อยากสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น กล้ามเนื้อสั่นหรือกระตุก ความต้องการทางเพศลดลง 


enlightened  อาการทางจิตใจ เช่น เครียดและวิตกกังวล โกรธง่าย แยกตัวเองออกจำกสังคม มองโลกในแง่ร้าย ขาดสมาธิ หงุดหงิด ขุ่นเคืองง่าย ขี้โมโหมากขึ้น ต่อต้านสังคม มีพฤติกรรมแสดงออกที่ผิดปกติ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หากตกอยู่ในสภาวะเครียดนานเกินไปอำจทำให้เกิดเป็นโรคจิตหรือโรคประสาทได้ 

 

ลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ
 

  • Initial insomnia หลับยากเมื่อต้องการนอน (ปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 20 นาทีในการหลับ)

  • Terminal insomnia ตื่นเร็วเกินกว่าปกติ อาการรูปแบบนี้มักพบเจอในผู้ป่วยที่มีอาการเป็นโรคซึมเศร้า

  • Maintinance insomnia หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืน อาจตื่นทุก 2-3 ชั่วโมง หรือหลับแล้วตื่นขึ้นเองกลางดึก และหลับต่อได้ยาก รวมไปถึงการตื่นมาทำกิจกรรมอื่นด้วย เช่น การเข้าห้องน้ำแล้วนอนไม่หลับ

  • Chronic insomnia ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน

  • Adjustment insomnia เป็นอาการนอนไม่หลับเฉียบพลันจากความเครียด ความกังวล หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้จะกลับมานอนหลับได้ปกติอีกครั้ง


จะจัดการกับความเครียดได้อย่างไร 

  1. หาสาเหตุของความเครียด  แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หากแก้ไขไม่ได้อาจขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพราะปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากเราพียงผู้เดียว 
  2. กิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การนวด การพักผ่อน การแช่น้ำอุ่น รับประทำนอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง ของหวาน อาหารที่มีไขมันสูง ของทอด น้ำหวาน ชา กาแฟ สุราหรือสูบหรี่ 
  3. รับประทำนอำหำรที่มีส่วนช่วยในกำรทำงำนของระบบประสำทและสมอง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช ไข่ ผักสีเขียวสด และถั่ว ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินบี 4 กำรลดความตึงเครียดทางจิตใจ เช่น การคิดบวก ยิ้มบ่อยๆ การสร้างอารมณ์ขัน การฟังเพลง การดูหนัง การใช้ความเงียบ การวางแผนบริหารจัดกำรเวลาให้ดี 
  4. การทำสมาธิ ฝึกการหายใจ ฝึกจิตให้นิ่ง 
  5. หาที่ปรึกษาที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเราหรืออำจช่วยหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา หากประสบภาวะเครียดเรื้อรัง อาจลองปรึกษาจิตแพทย์ได้เช่นกัน 


อาหารเสริมกับความเครียด 


     ในปัจจุบัน การทำงานภายใต้การแข่งขันและกดดัน ทำให้เราไม่มีเวลาจัดหาอาหารที่ต้องการได้สมบูรณ์และครบถ้วน แถมยังลดความเครียดได้ยาก จึงควรใช้อาหารเสริมหรือวิตามินรวมเพื่อบำรุงร่างกายและบำรุงสมองจากภาวะเครียดซึ่งได้แก่ 

  •       วิตามินบีรวม ช่วยบำรุงระบบประสาท สมองและระบบกล้ามเนื้อ 
  •       ไบโอติน (Biotin) และกรดโฟลิค (Folic Acid) ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ลดการ ตึงตัวของกล้ำมเนื้อคอ บ่าไหล่ เมื่อประสบกับภาวะเครียด 
  •       แมกนีเซียม (Magnesium) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายลดการตึงตัว 
  •       สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สังกะสี วิตามินซี ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่ส่งผลเสียต่อร่างกายจากภาวะเครียดได้ 

 

เมลาโทนิน (Melatonin) กับการนอนหลับ

     สำหรับความเครียดของผู้คนในยุคปัจจุบัน ทำให้การนอนหลับในแต่ละวันเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ส่งผลให้ป่วยบ่อย สุขภาพกายและสุขภาพจิตไม่แข็งแรง ก่อให้เกิดความผิดปกติและโรคเรื้อรังหลายๆชนิดตามมา หลายคนจึงเริ่มหาแนวทางเพื่อให้นอนหลับไต้ง่ายขึ้นและมีคุณภาพที่ดี หนึ่งในตัวช่วยที่ผู้คนนิยมก็คือเมลาโทนิน (Melatonin)

 

     เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนธรรมชาติในร่างกายหมนุษย์ที่สร้างขึ้นจากต่อมไพเนียล (pineal gland) โดยมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมวงจรการนอนหลับของมนุษยิโตยการตอบสนองขึ้นอยู่กับแสงสว่างและแสงอาทิตย์ ซึ่งร่างกายของเราจะเริ่มหลั่งสารนี้ออกมาในช่วงเย็นเมื่อตวงอาทิตย์เริ่มตกตินและเริ่มมีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ทำให้รู้สึกง่วงนอนและต้องการนอนหลับ ในปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าการได้รับแสงสีฟ้า เช่น แสงจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ สามารถยับยั้งหรือชะลอการหลั่งเมลาโทนินได้ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุมีจะมีการหลั่งสารเมลาโทนินลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จึงทำให้พบภาวะนอนหลับยากที่สัมพันธ์กับอายุได้ (age-related sleep disorder)สำหรับอาการข้างเคียงอาจพบได้ขณะใช้ยา เช่น ง่วงซึม ปวดหัว ได้ดังนั้นควรเลี่ยงการขับขี่ยาหนะ หรือทำงานที่ความเสี่ยงสูงหากมีอาการง่วงซึมขณะใช้ยานี้

 

การนอนหลับในแต่ละช่วงอายุ

 

      แรกเกิด ต้องการการนอนหลับ 20 ชั่วโมง ขึ้นไป

      ขวบปีแรก ต้องการนอนหลับ 12 ชั่วโมง ขึ้น

      เด็กวัยประถม 9-11 ชั่วโมง

      เด็กวัยรุ่น 10 ชั่วโมง

      เด็กมหาวิทยาลัย 7-9 ชั่วโมง

      ผู้ใหญ่ตอนต้น 7-9 ชั่วโมง

      ผู้ใหญ่ตอนกลาง ถึงตอนปลาย 7-8 ชั่วโมง

 

สุขลักษณะเพื่อการนอนหลับที่ดี (Sleep hygiene)

ควรกระทำควบคู่กับการรักษาหรือใช้ยาไปด้วยเพื่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมส่งเสริมการนอนหลับที่มีคุณภาพ

พยายามนอนหลับให้เป็นเวลาเดี่ยวกันทุกวัน

นอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน

ผู้ที่ใช้อุปกรณ์สื่อสารเป็นกิจวัตรควรปิตอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 30 นาทีก่อนการเข้านอน

งดการทานมื้อตึกหรือหากเสี่ยงไม่ไต้ ให้ทานอาหารที่ย่อยง่าย เสี่ยงอาหารย่อยยาก

งดการดื่มน้ำเป็นปริมาณมาก ก่อนนอนสัก 3 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้ตื่นกลางตึก

ควรจัดห้องนอนให้เป็นระเบียบมีอากาศถ่ายเทสะดวก

ควรให้ห้องนอนมืดสนิทขณะนอนหลับเพราะแสงบางส่วนอาจรบกวนการนอนได้

เอกสารอ้างอิง

  • สังคมเมือง ความเครียด โรคภัย และวิตามินบี โดน นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง สถาบันนวัตกรรมสุขภาพผิวและความงาม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพ
  • Benefits of exercise–reduces stress, anxiety and helps fight depression – Harvard Health Publications.
  • Madhav G., Sonal S., Erica S., et al. Meditation Programs for Psychological Stress and Well-being-JAMA Intern Med. 2014;174(3):357-368.
  • Con S., Tamara S., Justine L., et al. Reducing occupational stress with a B-vitamin focused intervention: a randomized clinical trial:  study protocol-Nutrition Journal 2014, 13:122
  • สารโฟเลตกับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดย อ.พญ.นันตรา สุวันทารัตน์ , รศ.สมพงษ์ องอาจยุทธ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • www.psychologytoday.com/articles/200304/vitamin-c-stress-buster
  • Lesley B. and Marc C. Herbs and natural supplements an evidence-based guide. 839-843, 1274-1278
  • Michael M., Joseph P. Encyclopedia of natural medicine. 91-99