สายตาคนทำงานยุคใหม่ CVS หรือ Computer Vision Syndrome

สายตาคนทำงานยุคใหม่ CVS หรือ Computer Vision Syndrome

Computer Vision Syndrome (CVS)


โรคสายตาของคนทำงานยุคใหม่ 

     เราจะทำอย่างไร เมื่อชีวิตประจำวันที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ส่งผลให้สุขภาพดวงตาเสื่อมโทรม เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์จะทำให้เกิดปัญหาอย่างเช่น อาการปวดรอบดวงตา ปวดศีรษะ ตาแห้ง ฯลฯ ซึ่งหากปล่อยไว้ นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคุณลดลงแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพดวงตาในระยะยาวด้วย ดังนั้นเราจะทำอย่างไร ในการดูแลรักษาดวงตาของเราจากเทคโนโลยีปัจจุบัน

     รู้จักกับ Computer Vision Syndrome (CVS) เป็นกลุ่มของอาการทางตาและการมองเห็น ที่มีผลมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการใช้งานอันที่จริงแล้ว เวลาทำงานกับคอมพิวเตอร์นั้น ดวงตาของคนเราจะถูกใช้งานแตกต่างจากการอ่านตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ไม่ว่าจะเป็นระยะการมองหรือมุมที่ต้องก้มขณะที่อ่าน และบ่อยครั้งที่พบว่าตัวอักษรบนหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นมีความชัดเจนไม่เพียงพอ รวมทั้งความเข้มหรือความสว่างของหน้าจอซึ่งถูกปรับตั้งไว้ไม่เหมาะสมในขณะใช้งาน ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนทำให้เราต้องใช้สายตามากกว่าปกติในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์และส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าจากการใช้งานดังกล่าวเป็นระยะเวลานานได้ ซึ่งพบว่าผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเกิน 2 ชั่วโมง จะมีความเสี่ยงที่จะเป็น Computer Vision Syndrome ได้สูง

ผลิตภัณฑ์สำหรับ สายตาคนทำงานยุคใหม่ CVS หรือ Computer Vision Syndrome ที่เราแนะนำ

  • BLACKMORES Vis Care Pro+Lutein 30Capsules แบลคมอร์ส วิส แคร์ โปร + ลูทีน
    BLACKMORES Vis Care Pro+Lutein 30Capsules แบลคมอร์ส วิส แคร์ โปร + ลูทีน

  • MEGA ii Care Daily 30 CAP. เมก้า วีแคร์
    MEGA ii Care Daily 30 CAP. เมก้า วีแคร์

  • Qnature Lutein 20% 40mg. 30 Softgels. คิวเนเจอร์ เลซิติน
    Qnature Lutein 20% 40mg. 30 Softgels. คิวเนเจอร์ เลซิติน

  • Vitech Lutein Licaps 30 Caps. ไวเทค ลูทีน ลิแคปส์
    Vitech Lutein Licaps 30 Caps. ไวเทค ลูทีน ลิแคปส์

  • NEOCA Lutein Complex. 30 Caps. นีโอก้า ลูทีน ดูแลดวงตา
    NEOCA Lutein Complex. 30 Caps. นีโอก้า ลูทีน ดูแลดวงตา

  • 365 Lifecare Lutein 10mg Plus Bilberry 60แคปซุล. 365 ไลฟ์แคร์ ลูทีน 10 มล. พลัส บิลเบอรี่
    365 Lifecare Lutein 10mg Plus Bilberry 60แคปซุล. 365 ไลฟ์แคร์ ลูทีน 10 มล. พลัส บิลเบอรี่

โรคซีวีเอส (CVS) คืออะไร


     โรคซีวีเอส (CVS) เกิดจากพฤติกรรมการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ ต่อเนื่องเกินสองถึงสามชั่วโมงต่อวัน เพราะต้องใช้กล้ามเนื้อรอบดวงตาและประสาทตาในลักษณะเพ่งจอตลอดเวลา จนเกิดอาการดวงตาล้า แสบตา ตามัว ตาแห้ง น้ำตาไหล มองเห็นภาพซ้อน ตาโฟกัสช้า เคืองตา และบ่อยครั้งมีอาการปวดหัว ปวดคอ ปวดไหล่ หรือปวดหลังร่วมด้วย ระดับความรุนแรงของอาการจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้สายตาอยู่หน้าจอ ซึ่งทั้งหมด คือ สัญญาณเตือนของการเกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม


อาการของโรคซีวีเอส


 ตาล้า


 ตามัว


 ตาโฟกัสช้า


 เห็นภาพซ้อน


 ปวดตา ปวดหัว คอ ไหล่ หลัง ตามมา


 แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล


 ตาแห้ง

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคซีวีเอส

 ขณะจดจ่อกับการอ่านหนังสือหรือจ้องจอคอมพิวเตอร์จะมีการกระพริบตาน้อยลง ทำให้เกิดอาการตาแห้งง่ายขึ้น


 แสงสว่างภายในห้องไม่เหมาะสม


 มีแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์


 การที่ตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ไม่เรียบคมชัดเท่าตัวพิมพ์บนหน้าหนังสือ หรือมีความไม่นิ่งของสัญญาณในจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ต้องพยายามโฟกัสมากขึ้นจึงก่อให้เกิดอาการตาเมื่อยล้าได้ง่ายขึ้น


 ท่าทางในการในการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม

 

การป้องกันโรคซีวีเอส

 

  •  วางหน้าจอคอมพวิเตอร์ให้ห่างจากดวงตา 20-28 นิ้ว และควรให้จุดกึ่งกลางของหน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวราบ 4-5 นิ้ว


 ปรับแสงสว่างหน้าจอให้พอเหมาะ ไม่สว่างเกินไป


 ถ้าต้องอยู่หน้าจอทั้งวันเกิน 1-2 ชั่วโมง ควรพักสายตาเป็นระยะ โดยใช้สูตร 20-20-20 คือ ละสายตาจากหน้าจอทุก 20 นาที แล้วมองไปที่วัตถุไกลอย่างน้อย 20 ฟุต นาน 20 วินาที


 เวลาอยู่หน้าจอ ต้องหมั่นกระพริบตาบ่อยๆ หากแสบตามาก อาจใช้น้ำตาเทียมช่วย


 ควรใช้แผ่นกรองแสงวางหน้าจอ หรือใส่แว่นกรองแสง


 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพดวงตา

 

ข้อควรปฏิบัติ

วิธีการแก้ไขที่ควรนำไปปฏิบัติมีหลายประการ เช่น

  1. enlightenedให้พักสายตาเป็นระยะๆ หลังจากทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ไปได้สัก 20-30 นาที ควรหยุดพักสายตาเป็นเวลา 2-4 นาที แล้วค่อยลืมตาขึ้นทำงานใหม่ หากสามารถปฏิบัติได้จนเป็นนิสัย ก็จะป้องกันไม่ให้เกิดกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมได้

enlightenedการทำงานจ้องจอภาพนานเกินไป ไม่ว่าจะเกิดจากงานเร่ง หรือมีหน้าที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างเดียวก็ตามย่อมเกิดอาการได้ง่าย ทุก 2 ชั่วโมงที่จ้องจอภาพควรพักสายตาประมาณ 15 นาที โดยมองออกไปไกลๆ หรือหลับตาเฉยๆ หากเป็นไปได้ควรทำงานที่จ้องจอภาพวันละไม่เกิน 4 ชั่วโมง เวลาที่เหลือไปทำงานอย่างอื่นบ้าง

enlightenedพิจารณาแสงสว่าง ทั้งแสงภายในห้องทำงาน และแสงสว่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยจัดแสงภายในห้องทำงานไม่ให้มีแสงสะท้อนมาที่จอคอมพิวเตอร์ และปรับแสงสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป หลายคนทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่เคยปรับแสงสว่าง รวมทั้งความเข้มของแสงเลยสักครั้งเดียว

enlightenedนั่งห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 16-30 นิ้วจากดวงตา และควรให้จุดกึ่งกลางของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20 องศา จัดเป็นท่านั่งทำงานกับจอคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุด

enlightenedระมัดระวังปัญหาปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ ที่มักเกิดขึ้นร่วมกันได้บ่อยๆ

     จะเห็นว่าในยุคปัจจุบัน Computer Vision Syndrome เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา โดยที่บางคนอาจจะเป็นโรคนี้โดยที่ไม่รู้ตัวมาก่อน และถ้าปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการใส่ใจ และแก้ไขที่สาเหตุ อาการที่กล่าวมานั้นก็จะกลับเป็นซ้ำ และอาจมีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ในกรณีที่ Computer Vision Syndrome ถูกละเลยไม่ได้รับการรักษา อาการเหล่านี้จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นปัญหาที่เรื้อรังแก้ไขได้ยาก และในที่สุดอาการเหล่านี้จะติดตัวคนไข้ไปตลอด นอกจากนี้ภาวะตาแห้งที่รุนแรงยังอาจทำให้กระจกตาเป็นแผลอักเสบ หรือติดเชื้อซึ่งมีผลต่อการมองเห็นหรือแม้กระทั่งตาบอด หรือสูญเสียลูกตาได้ 

เอกสารอ้างอิง

1. Chris et al. Computer vision syndrome.   J Nur Today  Vol. 2 Issue 1  [e ISSN 2456-1630]. 2016

2. Rahul Bhargava. Et al.  Oral omega-3 fatty acids treatment in computer vision syndrome related dry eyes. Contact Lens & Anterior Eye 38 (2015) 206–210

3. Sanjay Srinivasan and Chee-Chew Yi. Is There a Role for Nutritional Supplements in Dry Eye?  Annals Academy of Medicine (Review Article). October 2007, Vol. 36 (Suppl)  No. 10

4. Aaron Kassoff, MD.  A Randomized, Placebo-Controlled, Clinical Trial of  High-Dose Supplementation With Vitamins C and E, Beta Carotene, and Zinc for Age-Related Macular Degeneration and Vision Loss. Arch Ophthalmol. 2001 (October);119:1417-1436

5. LESLIE HYMAN, PhD. The Relationship of Dietary Carotenoid and Vitamin A, E, and C Intake With Age-Related Macular Degeneration in a Case-Control Study.  Age-Related Eye Disease Study Research Group.  Arch Ophthalmol. 2007;125(9):1225-1232

6. Judy D. Ribaya-Mercado, et.al. Lutein and Zeaxanthin and Their Potential Roles in Disease Prevention. Journal of the American College of Nutrition, Vol. 23, No. 6, 567S–587S (2004)

7. บุษป์รัตน์ การะโชติ .  โรคคอมพิวเตอร์ วิชั่นซินโดรม (computer vision syndrome) , กลุ่มวิชาการและประสามงานวิจัยทางคลินิค. GPO R&D Newsletters ปีที 23 ฉบับที่ 1. 2559