ทำความรู้จักโรคไตเรื้อรังกันก่อน
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไตมีหน้าที่กำจัดของเสีย ควบคุมความเป็นกรด-ด่างในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ และควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไตทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดภาวะเลือดจางและขาดวิตามินได้ โดยโรคร้ายนี้มีอยู่หลายชนิด และที่พบได้บ่อย ได้แก่ กรวยไตอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต ไตเรื้อรัง และไตวาย
โรคไตเรื้อรัง คือ การที่ไตมีภาวะการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยะ 10 ก็จะมีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆตามมา
ไตเป็นอวัยวะที่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาสมบูรณ์ได้ การเกิดความผิดปกติกับไตจึงเป็นเรื่องอันตราย โดยในช่วงแรกผู้ป่วยโรคไตแทบจะไม่มีสัญญาณของโรคร้ายนี้เลย แต่อาการจะปรากฏออกมาในระยะท้ายๆ ที่ไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว จนในระดับสูงสุดอาจเกิดอาการไตวาย และเสียชีวิตได้ อาการของผู้ป่วยโรคไตที่ปรากฏมีดังนี้
ระยะของโรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรังแบ่งเป็น 5 ระยะ ตามระดับความรุนแรง ดังนี้
สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง
โรคนี้อาจมีความเข้าใจผิดๆว่า เลี่ยงทานเค็มเท่ากับเลี่ยงโรคไต ทั้งนี้ในความเป็นจริงแล้วยังมีสาเหตุต่างๆ อีกมากมาย โดยสาเหตุของการเกิดโรคนี้ ได้แก่
▶ พันธุกรรม โดยอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือค่อยๆ แสดงอาการในภายหลังก็ได้
▶ เกิดจากโรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
▶ การทานอาหารรสจัดไม่ใช่เพียงแค่รสเค็ม รวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน
▶ ดื่มน้ำน้อยเกินไป
▶ ไม่ออกกำลังกาย
▶ มีความเครียด
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง
โรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
ผู้สูงอายุ
น้ำหนักเกินหรืออ้วน
สูบบุหรี่
สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง
สัญญาณที่สำคัญ 6 ประการ ซึ่งบ่งบอกว่าอาจเป็นโรคไตเรื้อรัง ได้แก่
▶ ความดันโลหิตสูง
▶ การตรวจพบเม็ดเลือดแดง และ/หรือโปรตีนในปัสสาวะ
▶ ระดับของเสียในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันนิยมตรวจวัดสารบียูเอ็น (BUN; Blood urea nitrogen) และสารครีอะตินีน (Creatinine) ซึ่งเมื่ออัตราการกรองของไตลดลง จะทำให้ระดับสารทั้งสองในเลือดสูงขึ้นกว่าค่าปกติ
▶ อัตราการกรองของไตน้อยกว่า 60 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตร.ม.
▶ ปัสสาวะผิดปกติ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะตอนกลางคืน ปริมาณปัสสาวะลดลง ปัสสาวะลำบากหรือปวดเวลาปัสสาวะ
▶ มีอาการบวม อาจบวมบริเวณหนังตา ลำตัว หลังมือ หลังเท้าและขา
วิธีดูแลตัวเองง่ายๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต
1 .ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายอย่างที่ทุกท่านทราบกันดี โดยทั่วไปควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
ต่อวันขึ้นกับปริมาณน้ำที่สูญเสียไป
2. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ในการที่เราจะดูแลให้สุขภาพไตให้ดี การกินผักผลไม้สดเพื่อเสริมสร้างวิตามินและ
แร่ธาตุต่างๆเป็นตัวเลือกที่ดี ลดการรับประทานเนื้อแดงและอาหารที่มีไขมันสูง และที่สำคัญกินเกลือโซเดียมไม่เกิน
1 ซ้อนซาต่อวัน (นับรวมเกลือที่ละลายอยู่ในอาหารและน้ำจิ้มด้วย) และน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนซาต่อวันเพื่อลดสาเหตุ
ที่จะทำให้ไตทำงานหนัก
3. ตรวจเช็คความดันโลหิตให้อยู่ในค่าปกติ ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการเกิดโรคไต โดย
ส่วนมากจะไม่มีอาการจึงต้องอาศัยการตรวจวัดความตันโลหิต ซึ่งในปัจจุบันสามารถรวจวัดได้ง่ยโดยไม่ต้องเจ็บ
ตัว ค่าความดันโลหิตปกติโดยเฉลี่ยจะมีค่าประมาณ 120/80 มิลลิมตรปรอท หากพบว่าความดันโลหิตสูงควรรีบ
ปรึกษาแพทย์เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสม
4. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดและแก้อักเสบเกินความจำเป็น ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบหลายชนิดจัดอยู่ในกลุ่มที่
เรียกว่า NSAIDs เช่น ไดโคลฟีแนค, นาโปรเซน, ไอบูโพรเฟน เป็นยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้อย่างดี แต่หาก
กินต่อเนื่องในปริมาณมากหรือกินโดยไม่จำเป็นอาจจะส่งผลเสียต่อการทำงานของไต ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตได้ลดลง
นอกจากนี้ยังพบว่ามีการผสมยาเหล่านี้หลายขนานรวมกันในยาชุดซึ่งอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดโดยไม่รู้ตัว จึง
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาชุดโดยที่ไม่ทราบส่วนประกอบชัดเจน
5.การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่างที่ทุกท่านทราบกันอยู่ดีอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายเป็น
กิจกรรมสิ่งที่สำคัญต่อร่างกาย ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจและปอดมีประสิทธิภาพดีขึ้น การออกกำลังกาย
เป็นประจำยังช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน ลดความสี่ยงต่อโรคอ้วน ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อโรคเบาหวานและ
ไขมันในเลือดสูงแล้ว ยังมีผลโดยตรงต่อความดันโลหิตและความดันภายในไตอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการมีสุขภาพที่ดี
จึงควรที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง