365

WECARE

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetes Nutrition) 

         คืออาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานสามารถใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือมีภาวะเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย รวมถึงในเรื่องของการลดน้ำหนักตัวในผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักตัวเกิน โดยสามารถใช้แทนเป็นอาหารมื้อหลักหรือเป็นอาหารเสริมระหว่างมื้อได้  เป็นอาหารสูตรครบถ้วนที่มีส่วนประกอบของสารอาหารที่จำเป็นครบทั้ง 5 หมู่ และมีสัดส่วนในแต่ละชนิดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งได้รับพลังงานและสารอาหารที่มีคุณภาพในสัดส่วนที่สมดุลเหมาะสม เช่น คาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low glycemic index) โปรตีนคุณภาพดีในปริมาณที่เพียงพอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ซึ่งดีต่อสุขภาพหัวใจ วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ซึ่งจะส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รวมถึงการช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร่วมจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ หรือโรคไต เป็นต้น

 

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

► เป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง   

       ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณที่สูงแต่มีปริมาณน้ำตาลน้อย เช่น ผัก ผลไม้พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียวเป็นต้น เพราะอาหารประเภทนี้จะเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายในการสร้างสมดุลของระบบการทำงาน แต่มีปริมาณไขมันและคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำ และเส้นใยยังช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้เป็นอย่างดี จึงช่วยลดปริมาณน้ำตาลให้เลือดให้น้อยลง

► โครเมียม ( Chromium )
         โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ในการกระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาล ไขมันและคาร์โบไฮเดรตให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน โครเมียมที่อยู่ใน อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน จะเข้าไปเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนมีประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้มากขึ้น และยังทำหน้าที่กระตุ้นให้ฮอร์โมนอินซูลินสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการดูดซึมน้ำตาล

► เวย์โปรตีน
           เวย์โปรตีนเป็น อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีการแนะนำให้รับประทานเวย์โปรตีนก่อนการรับประทานอาหารทุกมื้อ เวย์โปรตีนจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนในการสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้มีการสร้างอินซูลินออกมาเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำการดูดซึมน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วเวย์โปรตีนเป็นโปรตีนที่สามารถดูดซึมได้ง่าย เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจะดูดซึมเวย์โปรตีนก่อนการดูดซึมน้ำตาล จึงช่วยลดปริมาณน้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดได้เป็นอย่างดี ซึ่งเวย์ โปรตีนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีลักษณะแตกต่างจากเวย์โปรตีนทั่วไป นั่นคือ เวย์โปรตีนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีปริมาณน้ำตาล ไขมันต่ำ แต่เวย์โปรตีนทั่วไปจะมีปริมาณน้ำตาล ไขมันที่ให้พลังงานสูงไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน 

► กินให้ครบทุกมื้อ 

        ในแต่ละวันควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ ห้ามอดอาหารมื้อใดเป็นอันขาดเพราะจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยเกิดออาการช็อคได้เช่นเดียวกับการได้รับปริมาณน้ำตาลสูงเกินไป ซึ่งปริมาณอาหารควรเลือกอาหารที่มีไขมันไม่เกิน 30% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการทั้งหมดต่อวัน ควรเลือกรับประทานไขมันดี เช่น ไขมันจากปลา หรือไขมันจากพืช และงดทานไขมันจากหมู ไก่ กะทิที่มีไขมันอิ่มตัวมาก  เพราะเมื่อทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงร่างกายจะย่อยและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง

► งดของหวาน

        ของหวานเป็นอาหารต้องห้ามของผู้ป่วยโรคเบาหวานเลยทีเดียว เพราะของหวานเป็นอาหารที่มีน้ำตาลในปริมาณที่สูงมากเมื่อรับประทานเข้าไป จะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งจะเป็นอันตรายกับผู้ป่วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสภาวะปกติเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและความสำคัญกับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะทานยาแต่ถ้าไม่ควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายเลย ปริมาณน้ำตาลก็ยังสามารถขึ้นได้เรื่อย ๆ ทำให้แพทย์ต้องทำการเพิ่มปริมาณยาให้กับผู้ป่วยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินค่ามาตรฐาน   นอกจากยาที่ช่วยในการรักษาและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอาหารเสริมที่สามารถช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งมีการค้นคว้าและวิจัยจนพบว่ามีอาหารเสริมสามารถช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

 

1.สิริพันธุ์ จุลกรังคะ, โภชนศาสตร์เบื้องต้น, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550 2.เนตรนภิส ธีระวัลย์ชัย, โภชนาการ บทที่23 โภชนาการ 1002 – 1042, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.งานโภชนศาสตร์คลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, โภชนศาสตร์ทางคลินิก ปี2551 4.รายงานคณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารประจำวันที่ร่างกายควรได้รับของประชาชนไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข พ.ศ.2532. 5.เจริญศรี มังกรกาญจน์. โภชนาการ ใน: ดารณี ชุมนุมศิริวัฒน์, สมทรง เลขะกุล, บรรณาธิการ. ชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เล่ม2. กรุงเทพฯ: บริษัทพรประเสริฐ พริ้นติ้ง จำกัด, 2536. 6.วรนันท์ ศุภพิพัฒน์. อาหาร โภชนาการและสารเป็นพิษ. กรุงเทพฯ: แสงการพิมพ์, 2538. 7.Nutrition in Clinical Medicine,สาขาโภชนศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่1 ตุลาคม 2553 : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร 8.Cohn RM, Roth KS. Biochemistry and disease. Baltimore: Williams & Wilkins, 1996. 9.Linder MC. Nutritional biochemistry and metabolism with clinical application. 2nd ed. New Jersey : Prentice-Hall International Inc., 1991. 10.Mahan LK, Escott-Stump S. Krause’s food, nutrition & diet therapy. 9th ed. Philadelphia : W.B0Saunders Company, 1996

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น