365

WECARE

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยภูมิต้านทานลดลง(Nutrition for Low-Immune Patient) 

        เนื่องจากกระบวนการในการรักษาโรคมะเร็งหลายๆ ครั้ง (ไม่ว่าจะเป็นการให้เคมีบำบัด หรือการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ก็ตาม) คนไข้มักมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง และเป็นเหตุที่ทำให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้น  ดังนั้นอาหารทางการแพทย์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานลดลง ที่ต้องการโปรตีนสูง , พลังงานสูงและสารอาหารต่างๆ ที่ครบถ้วน สามารถเป็นแหล่งให้สารอาหาร หรือเป็นอาหารเสริมได้ เป็นสูตรอาหารที่มีกลูตามีน อาร์จีนีน น้ำมันปลา ซึ่งช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ป่วย 

ผู้ป่วยภูมิต้านทานลดลงควรเลือกกินอะไร

  1. อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา ไข่ นม ถั่ว ต่างๆ เพราะผู้ป่วยมะเร็งมีอัตราการสลายโปรตีนเพิ่มขึ้น การได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างเพียงพอ จึงเป็นสิ่งสำคัญในผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน

  2. อาหารที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากผู้ป่วยมักกินอาหารได้ในปริมาณน้อย

  3. กินผักผลไม้ให้ครบวันละ 5 สี จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามได้ (ควรล้างให้สะอาด) เช่น มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ คะน้า แขนงผัก บล็อคโคลี ผักโขม กะหล่ำปลีสีม่วง ถั่ว ส้ม แก้วมังกรสีชมพู มะม่วง (สุก-ดิบ) เป็นต้น

 

หากผู้ที่เข้ารับการรักษาได้รับอาหารสูตรครบถ้วน ที่มีสูตรเฉพาะอาจช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่รักษามะเร็งดีขึ้น เพราะจะส่งผลดีดังนี้

1. ได้รับสารอาหารพอเพียง คนที่เป็นมะเร็ง ร่างกายจะอักเสบ ทำให้เผาผลาญพลังงาน และเผาผลาญโปรตีนสูงกว่าคนปกติ จึงควรรับอาหารเสริมเพิ่มเติมให้พอเพียงต่อวัน

2. ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดเพิ่มขึ้น สามารถเข้ารับการรักษา cycle รอบถัดไปได้ โดยไม่ต้องเลื่อนการรักษา ผู้ป่วยจะไม่ต้องทนทุกข์ใจ หรือต้องรอเวลา เพราะหากต้องเลื่อนการรักษา ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่เซลล์มะเร็งจะพัฒนาในช่วงที่ถูกเลื่อนไป

3. ช่วยลดอาการอักเสบในช่องปาก (mucositis) ในกลุ่มที่ได้เคมีบำบัดร่วมกับฉายแสง ซึ่งหากมีอาการนี้ จะทรมานและทำให้กินอาหารลำบาก ส่งผลให้สุขภาพทรุดลง การได้รับอาหารเสริมเฉพาะทางนี้ จะช่วยลดอาการอักเสบ ป้องกันไม่ให้รุนแรงได้

อาหารสูตรครบถ้วนที่ส่งผลดีต่อการรักษามะเร็ง ที่มีงานวิจัยรองรับ มีส่วนประกอบหลัก 4 อย่างใน 1 แก้ว ดังนี้

  1. มีโปรตีนสูง เป็นเวย์โปรตีน 100% (อาหารสูตรนี้ ได้รับเวย์โปรตีน 16.8 กรัม/แก้ว) เมื่อกินอาหารสูตรนี้วันละ 3 แก้ว จะได้โปรตีน 50.4 กรัม หรือเทียบเท่ากับโปรตีนจากไข่ขาวประมาณ 14 ฟอง (ไข่ขาว 1 ฟอง ให้โปรตีนประมาณ 3.5 กรัม) เป็นโปรตีนที่สูง จึงช่วยเสริมให้เพียงพอต่อความต้องการระหว่างการรักษา
  2. มีแอล-อาร์จีนีน (L-arginine : อาหารสูตรนี้ ได้รับ 12.5 กรัม/ลิตร)
    คือ กรดอะมิโนจำเป็นยามเจ็บป่วย ช่วยเพิ่มจำนวนและเสริมสร้างการทำงานของเม็ดเลือดขาว (lymphocyte) และช่วยสมานแผลผ่าตัดเร็วขึ้น
  3. มีไรโบนิวคลีโอไทด์ (Ribonucleotide : อาหารสูตรนี้ ได้รับ 1.5 กรัม/ลิตร)
    คือ ส่วนประกอบของสารพันธุกรรม (DNA/RNA) ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ลำไส้และเซลล์เม็ดเลือดขาว จึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  4. มีโอเมก้า 3 (Omega-3 จาก fish oil : อาหารสูตรนี้ ได้รับ 3.3 กรัม/ลิตร)
    ช่วยลดการผลิตสารกระตุ้นการอักเสบ pro-inflammatory cytokine ช่วยควบคุมการอักเสบในร่างกาย
  5. กินไขมันจากปลา เพราะน้ำมันปลามีกรดโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่น้ำหนักตัวน้อย และ ไม่ควรกินอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ที่เป็นไขมันอิ่มตัวมาก เช่น หนังติดมัน น้ำมันหมู เพราะสามารถถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
  6. กินมื้อใหญ่ในช่วงเช้า และแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ ช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น

ผลดีของการได้รับอาหารเสริมทางการแพทย์ในผู้ป่วยมะเร็ง คือ

► ร่างกายฟื้นตัวได้รวดเร็ว
         เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมีอัตราการเมตาบอลิซึมที่สูงกว่าคนปกติจึงต้องใช้โปรตีน ไขมันและสารอาหารต่าง ๆ มากกว่าปกติ แต่การรับประทานอาหารหลักเพียงอย่างเดียวบางครั้งร่างกายอาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถ้าต้องการให้ได้รับสารอาหารให้เพียงพอก็อาจจะต้องรับประทานอาหารมากกว่าปกติถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นไปได้ยากสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในขณะทำการรักษา เนื่องจากผลข้างเคียงในการรักษาผู้ป่วยจะไม่มีความอยากอาหาร จึงสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลงเสียด้วย หรืออาการอักเสบที่อาจเกิดขึ้นภายในช่องปาก ( mucositis ) ในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับการรักษาด้วยการฉายแสง เพราะเมื่อผู้ป่วยเกิดแผลที่ภายในช่องปากแล้ว  ผู้ป่วยจะเจ็บปวดและทรมานมากโดยเฉพาะเวลารับประทานอาหาร ทำให้รับประทานอาหารด้วยความยากลำบาก จนรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหารเพราะกลัวที่จะเจ็บปวดเวลาที่รับประทานอาหาร ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารและสุขภาพทรุดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นถ้าได้รับประทานอาหารเสริมเข้าไปช่วยเพิ่มปริมาณสารอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย ก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากอาหารเสริมเกรดยา ( Pharmaceutical Grade ) มีองค์ประกอบของสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่เข้มข้นสูงเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง นอกจากนั้นสารอาหารที่อยู่ในอาหารเสริมนั้นร่างกายยังสามารถดึงไปใช้ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายหลายขั้นตอนให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อร่างกายมีโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ร่างกายก็จะสามารถนำพลังงานที่ได้มาซ่อมแซมเซลล์และช่วยในการฟื้นฟูร่างกายที่ถูกทำลายไปให้ฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น

► เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
         การเข้ารับการให้เคมีบำบัดในแต่ละรอบจะต้องทำกาตรวจวัดปริมาณของเม็ดเลือดขาวก่อนที่จะทำการให้เคมีบำบัดทุกครั้ง ถ้าจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดก็จะไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ เพราะการที่เม็ดเลือดขาวต่ำทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มาก ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะที่ทำการรักษาด้วยเคมีบำบัด ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องมีเม็ดเลือดขาวในปริมาณที่เหมาะสมก่อนจึงจะทำการให้เคมีบำบัดในครั้งต่อไปได้ แต่การรับประทานอาหารทั่วไปเพียงอย่างเดียวบางครั้งสารอาหารที่ได้รับอาจจะไม่เพียงพอต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งการรับประทานอาหารเสริมจะช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดให้เพิ่มขึ้นในปริมาณที่สามารถเข้ารับการในรอบต่อไปได้ตามที่แพทย์นัด ไม่ต้องเลื่อนไปเพื่อรอให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวขึ้นมาเพิ่มอีก ซึ่งในระหว่างที่ทำการรอนี้เซลล์มะเร็งอาจจะมีการลุกลามมากขึ้นได้ ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ต้องมีการเพิ่มปริมาณยาและเวลาในการรักษาเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเสียกำลังใจซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการรักษาโรคมะเร็ง

อาหารเสริมที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง คือ อาหารเสริมชนิดสำเร็จรูปเกรดการแพทย์  ที่มีความบริสุทธิ์และไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ การเลือกอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องคำนึกถึงปริมาณโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ไม่มากจนเกินไปจนอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกายต้องทำงานหนักซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้
         นอกจากการดูแลด้านโภชนาการด้วยการเลือกอาหารให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรับประทานอาหารและเสริมด้วยอาหารเสริมที่ประกอบไปด้วยโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะฟื้นตัวและสามารถรักษาตัวให้หายจากโรคมะเร็งได้แล้ว การดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วยให้มีกำลังพร้อมที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็งก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็งมากขึ้น

1.สิริพันธุ์ จุลกรังคะ, โภชนศาสตร์เบื้องต้น, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550 2.เนตรนภิส ธีระวัลย์ชัย, โภชนาการ บทที่23 โภชนาการ 1002 – 1042, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.งานโภชนศาสตร์คลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, โภชนศาสตร์ทางคลินิก ปี2551 4.รายงานคณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารประจำวันที่ร่างกายควรได้รับของประชาชนไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข พ.ศ.2532. 5.เจริญศรี มังกรกาญจน์. โภชนาการ ใน: ดารณี ชุมนุมศิริวัฒน์, สมทรง เลขะกุล, บรรณาธิการ. ชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เล่ม2. กรุงเทพฯ: บริษัทพรประเสริฐ พริ้นติ้ง จำกัด, 2536. 6.วรนันท์ ศุภพิพัฒน์. อาหาร โภชนาการและสารเป็นพิษ. กรุงเทพฯ: แสงการพิมพ์, 2538. 7.Nutrition in Clinical Medicine,สาขาโภชนศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่1 ตุลาคม 2553 : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร 8.Cohn RM, Roth KS. Biochemistry and disease. Baltimore: Williams & Wilkins, 1996. 9.Linder MC. Nutritional biochemistry and metabolism with clinical application. 2nd ed. New Jersey : Prentice-Hall International Inc., 1991. 10.Mahan LK, Escott-Stump S. Krause’s food, nutrition & diet therapy. 9th ed. Philadelphia : W.B0Saunders Company, 1996

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น