365

WECARE

อุปกรณ์พยุงข้อศอก (Elbow Support) 


     เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยรักษาสภาพข้อศอกที่บาดเจ็บ หรือกล้ามเนื้อช้ำ และเพิ่มความกระชับให้รู้สึกสบายขณะสวมใส่ ไม่รู้สึกอึดอัด ระบายอากาศและความชื้นได้ดี ป้องกันการผิดรูปของกระดูกในระยะฟื้นตัวหลังผ่าตัดแขน ข้อศอก และมือ เหมาะสำหรับผู้ที่กระดูกหัวไหล่หัก กระดูกแขนหัก ผู้ที่มือหรือนิ้วมือบวม ผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกแขน ข้อศอก และมืออาการปวดศอกของนักเทนนิส แต่แม่ครัวทั้งหลายก็เป็นกันมาก

 

สาเหตุของเส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ 


     สาเหตุที่ทำให้เส้นเอ็นข้อศอกทางด้านนอกมีอาการอักเสบ เกิดจากมีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่มายึดเกาะบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อศอก สาเหตุอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลัน เช่นอุบัติเหตุ หรือ เกิดจาการใช้งานซ้ำๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเสื่อมของเส้นเอ็น เช่น การเล่นกีฬาโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะกับสรีรของร่างกาย การเล่นกีฬาผิดท่า อาชีพที่ต้องยกของหรือ ลากของบ่อยๆ เช่น แม่บ้าน (กวาดบ้าน, บิดผ้า, ทำครัว)


     เมื่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อมีการบาดเจ็บ ประกอบกับวัยที่เริ่มมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้เส้นเอ็นบริเวณที่มีการฉีกขาดยังไม่หายสนิท แต่ถูกกลับไปใช้งานอีก เกิดการฉีกขาดซ้ำ ทำให้มีการอักเสบ บวม การซ่อมแซมของร่างกายจะช้ากว่าปกติ อาจใช้เวลา นานถึง 6-12 สัปดาห์ อาการอักเสบบริเวณข้อศอก อาจจะเกิดเฉพาะเพียงส่วนของเส้นเอ็น (tendonitis) แต่บ่อยครั้งที่อาการอักเสบจะครอบคลุมถึงตำแหน่งที่เกาะของเส้นเอ็นบนกระดูกและข้อใกล้เคียง (epicondylitis) แต่ทั้งนี้ในคนทั่วไปก็อย่าได้ชะล่าใจ โรคนี้ก็พบในคนทั่วไปได้เช่นกัน ทั้งแม่บ้านที่ต้องบิดผ้าทุกๆวัน แม่ครัวทำกับข้าว กวาดบ้านในท่าที่ใช้หลังมือ บรรดามือกลอง งานที่ต้องเกร็งข้อมือหรือใช้งานข้อมืออย่างหนัก คนที่พิมพ์งานหน้าคอมเป็นประจำ บรรดาช่างไม้ช่างเหล็กที่ต้องใช้แรงบิดข้อมือหรือกระดกข้อมือเป็นประจำ
 

 

อาการของโรค tennis elbow 


     ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อๆบริเวณข้อศอกทางด้านนอก โดยจะปวดเมื่อกระดกข้อมือขึ้น กดข้อมือลง ในบางรายก็จะอาการปวดอยู่ตลอดเวลา และจะปวดมากขึ้นเมื่อกดลงไปที่ข้อศอกทางด้านนอก หรือกระดกข้อมือขึ้นโดยมีแรงต้านร่วมด้วย เช่น กำดัมเบล 1 kg แล้วกระดกข้อมือขึ้น เป็นต้น 


     อาการบาดเจ็บจะมีทั้งบาดเจ็บเฉียบพลัน และบาดเจ็บเรื้อรัง ซึ่งอาการบาดเจ็บเฉียบพลันนั้นจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือเล่นกีฬาแล้วบาดเจ็บ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดข้อศอกทันทีในขณะนั้น จนไม่สามารถทำกิจกรรมต่อไปได้ และอาจมีอาการบวม แดง ร้อนด้วย ส่วนการบาดเจ็บแบบเรื้อรังนั้นอาจเกิดได้ทั้งจากมีการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันมาก่อนแต่ไม่รักษาให้หายขาดจนเกิดอาการปวดเรื้อรังตามมา หรืออาจจะเกิดจากการทำกิจกรรมที่กระดกข้อมือซํ้าๆกันจนรู้สึกปวด ล้าที่ข้อศอกแต่ไม่สนใจ ยังคงทำกิจกรรมซํ้าๆเดิมๆต่อไปจนเกิดอาการปวดลุกลามและเรื้อรังในที่สุด


สาเหตุของโรค tennis elbow 


     เกิดจากการทำกิจกรรมที่กระดกข้อมือซํ้าๆ เกิดจากแรงปะทะที่ข้อมือในขณะที่กำลังกระดกข้อมือจนให้เกิดแรงเครียดที่กล้ามเนื้อกลุ่มกระดกข้อมือ (extensor group) ในระยะแรกอาจจะบาดเจ็บในระดับเล็กที่ไม่รู้สึกถึงอาการ (microtear) แต่เมื่อยังคงทำกิจกรรมซํ้าๆเดิมๆต่อไปจนทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดมาขึ้น (macrotear) และเกิดการอักเสบในที่สุด โดยไม่ใช้อุปกรณ์พยุงข้อศอก


อาการ

   

ประโยชน์
 

 

ข้อควรระวัง

 

 วิธีการดูแลรักษา 

  1. ติดแถบเทปหนามเตยเข้ากับที่ยึดให้เรียบร้อยก่อนทำการซัก
  2. ซักมือด้วยน้ำเย็นและสบู่อ่อนในกรณี ซักด้วยเครื่องควรตั้งโปรแกรมแบบถนอมผ้าและใช้อุณภูมิต่ำ ห้ามใช้ น้ำยาซักแห้ง น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือน้ำยาฟอกขาว
  3. ซับน้ำออกด้วยผ้าแห้ง ห้ามบิด
  4. ตากในที่ร่ม ลมโกรกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความร้อนโดยตรงและแสงแดด
  5. ห้ามซักแห้ง หรือปั่นให้แห้ง
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น