อุปกรณ์เพื่อหัดเดิน คือ อุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดิน สามารถเดินได้ง่ายขึ้น ช่วยให้มีการทรงตัวที่ดีขึ้น รองรับน้ำหนักตัวได้ 100 กก. และทำให้สามารถเดินได้อย่างปลอดภัย อุปกรณ์ช่วยเดินมีหลายชนิด ได้แก่ เครื่องช่วยเดิน 4 ขา และรถเข็นหัดเดิน เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่มั่นคงมากที่สุด มีข้อบ่งใช้เช่นเดียวกับไม้ค้ ายัน เหมาะส าหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาการรับรู้ เนื่องจากรูปแบบการเดินโดยใช้เครื่องช่วยเดิน 4 ขานี้ง่ายกว่าไม้ค้ ายัน การปรับระดับมือจับ ให้ผู้ป่วยยืนตรง ห้อยแขนลงข้างล าตัว ปรับระดับมือจับให้ตรงกับปุ่ม กระดูก ulnar styloid เมื่อก ามือจับแล้ว ข้อศอกจะงอ 15-30 องศา
หลายๆ ท่านคงจะสงสัยว่าอุปกรณ์ช่วยเดินมีบทบาทในการทำกายภาพบำบัดด้านการเดินอย่างไร ก่อนอื่นจะต้องขอกล่าวถึงเรื่องของการทำกายภาพบำบัดด้านการเดินเสียก่อน ผู้ที่จำเป็นจะต้องทำกายภาพบำบัดด้านการเดินนั้นมักเป็นผู้ป่วยที่มีอาการสืบเนื่องมาจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคอัมพาตครึ่งซีก โรคหลอดเลือดสมอง อาการบาดเจ็บของไขสันหลัง โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต เป็นต้น เนื่องจากผู้ป่วยจากโรคดังกล่าวมักจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง ทำให้ความสามารถในการเดินถดถอยลง
ขั้นตอนการทำกายภาพบำบัดขา / การเดิน
อุปกรณ์ช่วยเดินฝึกเดินอุปกรณ์ช่วยเดินฝึกเดิน
อุปกรณ์เพื่อหัดเดินหรืออุปกรณ์ฝึกเดินมีล้อเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยพยุงให้ผู้ป่วยสามารถทรงตัวยืนได้ เนื่องจากอุปกรณ์มีส่วนช่วยพยุงบริเวณอก เอว และสะโพก จึงเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยล้มในระหว่างการฝึกเดินได้ นอกจากนี้อุปกรณ์ฝึกเดินมีล้อยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฝึกเดินได้โดยไม่ต้องมีผู้ดูแลมาช่วยพยุงอยู่ตลอดเวลาจึงสร้างความมั่นใจในการเดินให้กับผู้ป่วย
Walker aids คือ อุปกรณ์ช่วยเดินที่มีความมั่นคงและปลอดภัยที่สุด หากเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ช่วยเดินชนิดอื่น ๆ เนื่องจากมีความมั่นคงในด้านรูปแบบการใช้งาน การมีฐานรองรับน้ำหนักตัวของผู้ใช้งานในขณะเดิน อุปกรณ์ช่วยเดิน ชนิดนี้สามารถช่วยพยุงตัว และช่วยในการทรงตัวในการก้าวเท้าเดินให้กับผู้ใช้งานได้ ซึ่งวิธีการเดินด้วย Walker ที่ถูกต้อง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ปรับระดับ Walking aids ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ผู้ใช้งานจะต้องมีการปรับระดับความสูง – ต่ำของ Walker ให้เหมาะสมกับความสูงของผู้ใช้งาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งการปรับระดับความสูงให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ใช้งานได้อย่างคล่องตัวอีกด้วย
2. วัดความสูงเพื่อปรับระดับขนาดความสูงของ Walking aids
ในการวัดความสูงนั้นให้ผู้ใช้งานวางเท้าให้อยู่ระดับเดียวกับขาหลังของ walker มือทั้งสองด้านให้จับบริเวณด้ามจับของ walker ควรอยู่ระดับเดียวกับปุ่มกระดูกข้างสะโพก greater trochanter หรือเมื่อจับที่มือจับแล้ว ข้อศอกควรงอประมาณ 15-30 องศา เมื่อจับ Walker ให้ได้ระดับความสูงที่เหมาะสมและถูกต้องแล้ว จึงเริ่มต้นการเดินทีละก้าวอย่างปลอดภัย
3. ค่อย ๆ ก้าวเท้าเดินโดยใช้วอคเกอร์อย่างช้า ๆ
การเดินด้วย walker ให้ผู้ใช้งานพึงเข้าใจไว้เสมอว่า ให้เริ่มต้นเดินด้วยความปลอดภัย โดยค่อย ๆ ก้าวเท้าไปทีละก้าวอย่างช้า ๆ ให้เหมาะสมกับการลงน้ำหนักตัว โดยเริ่มจากยก walker ไปข้างหน้า ตามด้วยก้าวขาข้างที่แสดงอาการ เช่น ขาข้างที่อ่อนล้า หรือแสดงอาการเจ็บนิด ๆ เหมือนมดกันนิดเดียว >< จากนั้นให้ก้าวขาอีกข้างตามไป การลงน้ำหนักที่ปลายเท้า ให้ผู้ใช้งานค่อย ๆ ผ่อนน้ำหนักลงไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากหากก้าวเท้าด้วยความรวดเร็ว และลงน้ำหนักอย่างแรง อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บในการใช้งานได้ด้วย
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง