365

WECARE

สายสวนปัสสาวะ (Foley Balloon Catheter)


     สายสวนปัสสาวะ คือ การสอดสายสวนที่เรียกว่า foley Catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะออกสู่ภายนอก ทำให้กระเพราะปัสสาวะว่าง วัสดุผลิตจากซิลิโคนทางการแพทย์ แบ่งตามเทคนิคได้ 2 ชนิด ได้แก่ การสวนปัสสาวะชนิดเป็นครั้งคราว และการสวนปัสสาวะชนิดคาสายปัสสาวะ   สำหรับสวนคาสายปัสสาวะ ชนิด 2 ทาง


ʕᵔᴥᵔʔ ช่องทางแรก เป็นทางให้ปัสสาวะไหลออกมา
ʕᵔᴥᵔʔ ช่องทางที่สอง เป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นบริสุทธิ์ (Sterile water)

ชนิดของการสวนปัสสาวะ

การสวนปัสสาวะมี 2 วิธี คือ

 

  1. 1. การสวนปัสสาวะแบบสวนทิ้ง (intermittent catheterization) ใช้สายสวนปัสสาวะชนิดตรงที่ทำด้วยยางแดง ปลายข้างที่ใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ มีลักษณะเป็นปลายมน มีรูเปิดตาเดียว ภายในเป็นท่อกลวงท่อเดียว ใช้สวนปัสสาวะแบบสวนทิ้ง

สายสวนปัสสาวะแบบทิ้ง มี 2 แบบ

● สายสวนปัสสาวะชาย

● สายสวนปัสสาวะหญิง

 

  1. 2. การสวนปัสสาวะแบบคาสายปัสสาวะ (indwelling catheterization or retained catheterization) เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิดโฟเล่ย์ (Foley’s catheter) เพื่อระบายปัสสาวะและคาสายสวนไว้เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกมาได้ตลอดเวลา มีทั้งชนิด 2 หาง และ 3 หาง การใส่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ดังนี้

● สายสวนปัสสาวะ 1 หาง เป็นทางสำหรับระบายน้ำปัสสาวะ

● สายสวนปัสสาวะ 2หาง เป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นที่ปลอดเชื้อเข้าไปในบอลลูน ให้สายสวนสามารถค้างในกระเพาะปัสสาวะได้

● สายสวนปัสสาวะ 3 หาง เป็นทางสำหรับใส่สารน้ำเข้าไปล้างในกระเพาะปัสสาวะตลอดเวลา(continuous irrigation)

 

วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ


วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะแบบสวนทิ้ง        

  1. ผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง
  2. เก็บปัสสาวะส่งตรวจเพื่อตรวจเพื่อเพาะหาเชื้อ (urine culture)
  3. ตรวจวัดปริมาณของปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ (residual urine)

          

วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะแบบคาสายปัสสาวะ

  1. เพื่อป้องกันการระคายเคือง การอักเสบและติดเชื้อของผิวหนัง ในผู้ป่วยที่เป็นแผลอักเสบของผิวหนังบริเวณฝีเย็บ และขาหนีบ
  2. เพื่อเป็นช่องทางระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้
  3. เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างก่อนส่งตรวจพิเศษ หรือในระหว่างการผ่าตัด
  4. เพื่อการติดตามวัดปริมาณน้ำปัสสาวะในผู้ป่วยหนัก เช่น ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อค ผู้ป่วยที่เสียเลือด
  5. เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะในรายที่มีเลือดออก มีลิ่มเลือด มีหนองหรือตะกอนขุ่นมากในระบบทางเดินปัสสาวะ
  6. เพื่อตรึงท่อปัสสาวะ (splint) เช่น ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ
  7. เพื่อเป็นช่องทางในการใส่ยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ

ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ

1. ดื่มน้ำประมาณวันละ 3000 ซีซี ถ้าไม่มีข้อจำกัด เรื่องการควบคุมน้ำดื่ม

2. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนและแอลกอฮอล์เนื่องจากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น ชา กาแฟ เหล้า เบียร์

3.แขวนถุงเก็บปัสสาวะให้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะประมาร 30 ซม   ไม่ควรเกิน 40 ซม ระวังการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะ

4. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งโดยใช้สบู่กับน้ำสะอาด ห้ามใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อาจทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนัง

5. การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ขณะที่คาสายสวนปัสสาวะโดยการล้างอวัยวะเพศและบริเวณขาหนีบ รวมทั้งบริเวณสายสวนปัสสาวะที่ต่อออกมาจากรูเปิดของท่อปัสสาวะให้สะอาด และล้างสายสวนปัสสาวะออกมาทางด้านนอกตัวผู้ป่วยอย่างนุ่มนวล

6. การยึดตรึงสายสวนปัสสาวะสำหรับผู้หญิงให้ยึดตรึงสายไว้บริเวณหน้าขาข้างใดข้างหนึ่งทั้งในท่านอนท่านั่ง

7. การยึดตรึงสายสวนปัสสาวะสำหรับผู้ชายขณะนอนบนเตียง ให้ยึดตรึงสายบริเวณหน้าท้อง เพื่อให้มีการระบายปัสสาวะที่ดีและยึดตรึงสายบริเวณหน้าขาขณะนั่ง

8. เปลี่ยนถุงปัสสาวะทุกสัปดาห์หรือเมื่อสกปรกมาก หรือรั้วซึมด้วยวิธีปราศจากเชื้อ

9. เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทุกๆ 2 สัปดาห์

10. ขนาดของสายสวนปัสสาวะที่เหมาะสมกับเพศ ในผู้ชายใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 12 ถึง 14 Fr และในผู้หญิง ใช้ขนาด 14 ถึง 16 Fr

11. ดูแลสายสวนปัสสาวะไม่ให้มีการพับงอ

12. ควรเทปัสสาวะในถุงเก็บปัสสาวะอย่างน้อยทุก 3 ชม หรือเมื่อมีปัสสาวะประมาณ 2 ใน 3 ของถุงเก็บปัสสาวะ

13. ล้างมือก่อนและหลังจากเทปัสสาวะทุกครั้ง


     สาเหตุของใส่สายสวนปัสสาวะมากที่สุด คือ เพื่อระบายปัสสาวะจากภาวะ acute obstruction หรือ neurogenic bladder สาเหตุรองลงมาคือการใส่เพื่อ monitor urine output ดังนั้นการเลือกขนาดของสายสวนปัสสาวะจะขึ้นกับข้อบ่งชี้ในการใส่, อายุของผู้ป่วยและชนิดของ fluid ที่จะระบาย ขนาดของสายสวนปัสสาวะจะมีหน่วยเป็น French (Fr) ซึ่ง 1 Fr จะมีค่าเท่ากับ 0.33 mm. ขนาดของสายสวนปัสสาวะเป็นส่วนของเส้นรอบวง (external diameter) ไม่ใช่ขนาดของ lumen size  

                                    

หลักการในการเลือกขนาดของสายสวนปัสสาวะมีดังนี้ 

  • ถ้าปัสสาวะใส เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 12-16 Fr

  • ถ้าปัสสาวะขุ่นหรือปัสสาวะเป็นเลือด เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 20-24 Fr

 

ในผู้ป่วยเด็ก มีหลักการเลือกสายสวนปัสสาวะดังนี้ 

✿ เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 5-8 Fr

✿ เด็กอายุ 5-10 ปี เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 8-10 Fr

✿ เด็กอายุ 10-14 ปี เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 10 Fr

✿ เด็กมากกว่า 14 ปี เลือกใช้สายสวนปัสสาวะขนาด 10-14 Fr


        สาเหตุของการปัสสาวะยากมักจะเกิดจาก ต่อมลูกหมากโต (prostate enlarge), ท่อปัสสาวะตีบ (urethral stricture) คอกระเพาะปัสสาวะตีบ (bladder neck contracture) หรือมีการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะก่อนหน้าผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและไม่มีประวัติ sexually transmitted infections (STD), urethral trauma, urethral surgery สาเหตุของใส่สายสวนปัสสาวะลำบากมักจะเกิดจาก ต่อมลูกหมากโต จะต้องใช้สายสวนปัสสาวะที่มีขนาดใหญ่คือ 18 Fr ขึ้นไปและต้องใช้ lubricant gel ให้เพียงพอ แต่ในผู้ป่วยที่มีประวัติสงสัยเรื่อง urethral stricture เช่นผู้ป่วยที่มีประวัติติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อุบัติเหตุตกคร่อมต่อ หรือ กระดูกเชิงกรานหัก

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น