NG Tube ย่อมาจาก Nasogastric Tube หมายถึง ท่อสายยางผ่านระหว่างรูจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร เป็นทางเลือกแรกเมื่อจำเป็นต้องให้อาหารในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เองเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งยังมีการทำงานของระบบทางเดินอาหารปกติ อายุการใช้งานของสายให้อาหารแต่ละครั้ง มักใช้ในระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน
ผู้ที่รับประทานอาหารทางปากไม่ได้ หรือทานได้น้อยกว่า 60% ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน นานติดต่อกันเกิน 3-7 วัน, ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการกลืน และสำลักอาหาร, ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร, ผู้ที่ไม่รู้สึกตัวหรือไม่ยอมรับประทานทางปาก รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคทางจิตเวช เช่น Anorexia nervosa หรือ โรคสมองเสื่อม เช่น Dementia, Alzheimer, Stroke
เวลาการให้อาหาร (Feeding tube) โดยทั่วไปแนะนำให้กำหนดเป็นมื้อ ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง หรือวันละ 4 มื้อ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.ล้างมือให้สะอาด เช็ดมือให้แห้ง จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่ง หรือท่านอนหงายศีรษะสูงกึ่งนั่ง หากผู้ป่วยมีเสมหะให้ไอหรือดูดเสมหะออกให้หมดก่อนให้อาหารทุกครั้ง
2.เช็กตำแหน่งของสาย ที่ขอบจมูกว่าอยู่ในตำแหน่งเดิมหรือไม่ รวมถึงเช็กสภาพพลาสเตอร์ยึดติดสายด้วย
3.พับสายให้อาหารก่อนเปิดจุกสายทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ของเหลวไหลย้อนจากกระเพาะเมื่อเปิดจุก
4.ทดสอบการรับ Feed ว่ามีอาหารค้างในกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยต่อปลายสายให้อาหารกับกระบอกสูบ 50 มิลลิลิตร (feeding syringe) แล้วใช้กระบอกสูบดูดอาหารออกมา
● ถ้าได้ปริมาณมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปและเลื่อนเวลาให้อาหารออกไปอีก 1 ชั่วโมง
● ถ้าได้ปริมาณน้อยกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปและให้อาหารมื้อนั้นได้
● ถ้าดูดแล้วไม่พบอะไรออกมา ให้ทดสอบโดยการดันลมเข้าไป 5-10 ml ขณะดันลมให้ใช้ฝ่ามือหรือแนบหูเพื่อฟังเสียงลมบริเวณใต้ชายโครงด้านซ้าย ถ้าได้ยินเสียงลมแสดงว่าสามารถให้อาหารได้
5.กรณีให้อาหารด้วยกระบอก (Syringe) ให้ปลดกระบอกสูบออกจากสาย นำเอาลูกสูบออก แล้วต่อกระบอกกับสายอีกครั้ง จากนั้นเทอาหารใส่กระบอกให้อาหาร ยกกระบอกสูงกว่าตัวผู้ป่วยประมาณ 1 ฟุต ให้อาหารไหลช้าๆ เติมอาหารเมื่อใกล้หมด เพื่อไม่ให้อากาศเข้า
6.กรณีให้อาหารด้วยถุงให้อาหาร (Bag) ให้ต่อสายจากถุงอาหาร เข้ากับสายให้อาหาร ปรับอัตราไหล โดยการให้อาหารหนึ่งมื้อ ควรใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที ไม่ควรให้เร็วเกินไป ขณะให้อาหารหากผู้ป่วยมีอาการสำลัก คลื่นไส้อาเจียน หรือไอ ควรหยุดให้อาหารซักครู่ โดยการพับสายให้อาหารที่ปลายกระบอกสูบ เมื่ออาการดีขึ้นจึงให้อาหารต่อไป
7.การให้ยาก่อนหรือหลังอาหาร ถ้ามียาหลายชนิดควรแยกบดแล้วผสมน้ำเปล่า 5-10 ml ห้ามผสมยาลงในอาหารเด็ดขาด โดยควรให้น้ำเปล่าตามอีกอย่างน้อย 50 ml เป็นอย่างสุดท้ายทุกครั้ง ยกปลายสายขึ้นสูงเพื่อไล่สายให้สะอาด พับสายให้อาหารแล้ว แล้วปลดกระบอกออก เช็ดปลายสายให้อาหาร และปิดจุกให้อาหาร
8.ให้ผู้ป่วยนั่งศีรษะสูง หลังให้อาหาร 30-60 นาทีเพื่อป้องกันการสำลัก
✿ ใส่ง่ายและสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่แพง
✿ ใช้เวลาใส่ไม่นาน ไม่ต้องมีการผ่าตัด สามารถไปเปลี่ยนสายให้ที่บ้านได้
✿ ผู้ป่วยได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มที่ ตามที่ร่างกายควรได้รับ
✿ ดูแลง่าย ไม่ต้องทำแผลทุกวัน
✿ ระคายเคืองจมูก และคอ ผู้สูงอายุบางรายอาจทนไม่ได้ และอาจดึง จนต้องใส่บ่อยๆ หรือต้องมัดมือเพื่อความปลอดภัย
✿ สายยางเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งของกระเพาะอาหารได้ง่าย ทำให้ต้องใส่ใหม่
✿ ต้องปลี่ยนสายบ่อย ทุก 2-4 สัปดาห์
✿ เวลาใส่สายใหม่ทุกครั้ง อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ กระตุ้นการสำลัก หรืออาจทำให้ปอดอักเสบได้
✿ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก NG tube อาทิ แผลกดทับของสายกับเนื้อบริเวณจมูก รูจมูก และไซนัสอักเสบ อาจเกิดหูอื้อ หูชั้นกลางอักเสบได้ หรืออาจมีอาหารบางส่วนย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาจนสำลักได้
✿ บางรายอาจรู้สึกว่ากลืนน้ำลายได้ไม่ปกติ เจ็บคอ กินอาหารทางปากลำบาก ฝึกกลืนยาก
✿ ทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ภายนอก
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง