365

WECARE

Phosphatidyl-Serine (ฟอสฟาติดิวเซอร์ลีน) 

 

  1.      ฟอสฟาติดิวซีรีน (Phosphatidyl Serine) คือ ชนิดของกรดไขมัน ที่พบในสมองและเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งของพืชและสัตว์ ร่างกายสามารถรับ   ฟอสฟาติดิว เซอร์ลีน ได้จาก ไข่แดง ถั่วเหลือง หรือสกัดแยกมาจากไขมันในสมองที่เรียกว่า Cephalins โดยสกัดผ่านบวนการทางเคมีที่ชื่อว่า Lecithin Phosphatidylserine  ฟอสฟาติดิว เซอร์ลีน ยังสามารถควบคุมปริมาณคอร์ติซอล(cortisol) ให้มีในปริมาณที่เหมาะสมได้ คอร์ติซอล ( cortisol)  เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวได้ โดยร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอลในปริมาณสูงสุดในช่วงเช้ามืดก่อนตื่นนอนเพื่อให้เราตื่นนอนไปทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน เช่นกระตุ้นให้หัวใจบีบแรงขึ้น เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ถ้ามีเหตุการณ์กระตุ้นก็อาจทำให้มีการหลังฮอร์โมนเพิ่มขึ้นได้ อย่างอาการเครียด การออกกำลังกายหนักๆ และปัญหาการนอนไม่หลับอาจมาจากร่างกายนั้นหลั่งคอร์ติซอลมากเกินไปนั้นเอง 

 

  1.     ฟอสฟาติดิลซีรีน (Phosphatidylserine) คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นได้เอง แต่ได้ในปริมาณที่น้อยมากจนส่วนใหญ่จะได้มาจากการรับประทานอาหาร ส่วนอาหารเสริมฟอสฟาติดิลซีรีนในอดีตเคยถูกผลิตมาจากสมองของวัว แต่ ณ ปัจจุบันได้ถูกผลิตมาจากกะหล่ำปลีหรือถั่วเหลืองแทนเนื่องจากความกังวลว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ ได้ เช่น โรควัวบ้า ฟอสฟาติดิลซีรีนส่วนมากถูกใช้เพื่อเพิ่มการทำงานทางสมองโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ

 

 

ฟอสฟาติดิวเซอร์ลีน ออกฤทธิ์อย่างไร?


    ฟอสฟาติดิลซีรีนเป็นสารเคมีสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่าง และเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเซลล์ เป็นกุญแจสำคัญในการคงสภาพการทำงานระดับเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ในระบบประสาท

 


การใช้และประสิทธิภาพของฟอสฟาติดิวเซอร์ลีน yes

 

  
     1. ภาวะสมองเสื่อมจากอายุ ฟอสฟาติดิลซีรีนอาจช่วยเพิ่มสมาธิ, ทักษะทางภาษา, และความจำของผู้สูงวัยที่เริ่มมีภาวะการคิดเสื่อมถอย โดยงานวิจัยส่วนมากได้ใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนที่นำมาจากสมองของวัว แต่ ณ ปัจจุบัน อาหารเสริมฟอสฟาติดิลซีรีนส่วนมากได้ผลิตขึ้นจากผักอย่างกะหล่ำหรือถั่วเหลืองกันแล้ว ทำให้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผลิตภัณฑ์ใหม่นี้จะมีประโยชน์หรือไม่ แต่ก็มีหลักฐานว่าฟอสฟาติดิลซีรีนจากพืชเองก็ช่วยในเรื่องความจำของผู้สูงอายุเช่นกัน อีกทั้งงานวิจัยบางชิ้นยังได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานฟอสฟาติดิลซีรีนจากพืชที่อุดมไปด้วยกรดไขมัน DHA ก็สามารถช่วยในเรื่องความจำและสมาธิของผู้หญิงสูงวัยได้เช่นกัน กระนั้นผลิตภัณฑ์จำพวกนี้มักจะออกฤทธิ์กับผู้ที่มีอาการของการเสื่อมถอยที่ไม่รุนแรงมากกว่า

     2. โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) การรับประทานฟอสฟาติดิลซีรีนอาจสามารถช่วยลดอาการจากโรคอัลไซเมอร์ได้ บางอย่างหลังการรักษาไปแล้ว 6-12 สัปดาห์ โดยจะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ไม่รุนแรง และผลของฟอสฟาติดิลซีรีนก็อาจมีประสิทธิภาพน้อยลงตามระยะเวลาการใช้งาน โดยหลังจากการใช้ที่ 16 สัปดาห์ อาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน  งานวิจัยส่วนมากยังได้ใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนจากสมองวัว ทำให้นักวิจัยยังไม่ทราบว่าฟอสฟาติดิลซีรีนที่ผลิตจากพืชอย่างกะหล่ำปลีหรือถั่วเหลืองกับการบรรเทาโรคอัลไซเมอร์นั้นว่ามีผลมากน้อยกว่าการใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนจากสมองวัวอย่างไร

 

 

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ฟอสฟาติดิวเซอร์ลีนซีรีนรักษาได้หรือไม่ enlightened

 

เพิ่มศักยภาพทางด้านกีฬา การทานฟอสฟาติดิลซีรีนนาน 6 สัปดาห์ก่อนเล่นกอล์ฟอาจทำให้นักกอล์ฟเล่นได้ดีขึ้น แต่ไม่อาจช่วยลดความเครียดหรืออัตราการเต้นของหัวใจระหว่างการแข่งขันได้ งานวิจัยอื่นได้แสดงให้เห็นอีกว่าการทานฟอสฟาติดิลซีรีนที่มีคาเฟอีนกับวิตามินอาจเพิ่มอารมณ์และลดความเหน็ดเหนื่อยหลังออกกำลังกายได้ แต่การเพิ่มขึ้นดังกล่าวยังคงมีน้อยมาก และยังไม่แน่ชัดว่าผลเช่นนี้เกิดจากฟอสฟาติดิลซีรีนหรือส่วนประกอบอื่น ๆ กันแน่
 

โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานฟอสฟาติดิลซีรีนจากพืชสามารถช่วยเพิ่มระดับสมาธิ, เพิ่มการควบคุมอารมณ์, และลดอาการไฮเปอร์ของเด็กและวัยรุ่นที่เป็น ADHD ได้
 

ความเครียดจากการออกกำลังกาย พบว่านักกีฬาที่ทานฟอสฟาติดิลซีรีนระหว่างการฝึกร่างกายต่อเนื่องจะรู้สึกโดยรวมดีกว่าและมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน้อยลง อย่างไรก็ตามผลลัพธ์จากการวิจัยยังคงไม่แน่ชัด
 

ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีหลักฐานว่าฟอสฟาติดิลซีรีนอาจช่วยลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุลงได้
 

ปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย งานวิจัยพบว่านักกีฬาที่ทานฟอสฟาติดิลซีรีนระหว่างการฝึกร่างกายต่อเนื่องจะรู้สึกโดยรวมดีกว่าและมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายน้อยลง
 

 

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของฟอสฟาติดิลซีรีน


     ฟอสฟาติดิลซีรีนถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่และเด็กส่วนมากเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งมีข้อมูลว่าการใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนในการทดลองทางคลินิกก็ให้ผลที่ปลอดภัยในระยะเวลา 6 เดือนในกลุ่มผู้ใหญ่ และ 4 เดือนสำหรับเด็ก ฟอสฟาติดิลซีรีนสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ อย่างนอนไม่หลับและปวดท้องได้ โดยเฉพาะหากรับประทานที่ปริมาณมากกว่า 300 mg

     มีข้อกังวลว่าผลิตภัณฑ์ฟอสฟาติดิลซีรีนที่ผลิตจากสัตว์สามารถส่งต่อเชื้อโรคได้ อย่างเช่นโรควัวบ้า แต่ ณ ขณะนี้ก็ยังไม่มีกรณีการติดเชื้อประเภทนี้ในมนุษย์จากการใช้อาหารเสริมฟอสฟาติดิลซีรีนแต่อย่างใด หากคุณมีความกังวลก็ควรเปลี่ยนมาบริโภคอาหารเสริมฟอสฟาติดิลซีรีนที่ผลิตจากพืชแทนก็ได้

 

 

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ


     สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนเพื่อความปลอดภัย

 


การใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนร่วมกับยาชนิดอื่น


1. ยากลุ่ม Anticholinergic กับฟอสฟาติดิลซีรีน

     ฟอสฟาติดิลซีรีนอาจเพิ่มสารเคมีที่ลดผลกระทบของยากลุ่ม anticholinergic บางตัวลง โดยตัวอย่างยากลุ่มนี้มีทั้ง atropine, scopolamine, และยาสำหรับภูมิแพ้ (ยาต้านฮิสตามีน) (antihistamines) กับยาต้านซึมเศร้า (antidepressants) บางตัว

 

2. ยาสำหรับโรคอัลไซเมอร์ (Acetylcholinesterase (AChE) inhibitors) กับฟอสฟาติดิลซีรีน

     ฟอสฟาติดิลซีรีนอาจเพิ่มสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า acetylcholine ขึ้น ยาสำหรับอัลไซเมอร์ที่เรียกว่า acetylcholinesterase inhibitors เองก็ออกฤทธิ์เพิ่มเคมีตัวนี้ขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการทานฟอสฟาติดิลซีรีนร่วมกับยาสำหรับอัลไซเมอร์อาจเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงจากยาขึ้น โดยตัวอย่างยากลุ่ม acetylcholinesterase มีทั้ง donepezil (Aricept), tacrine (Cognex), rivastigmine (Exelon), และ galantamine (Reminyl, Razadyne)

 

3. ยาต่าง ๆ สำหรับโรคต้อหิน (glaucoma), โรคอัลไซเมอร์, และภาวะอื่น ๆ  (Cholinergic drugs) กับฟอสฟาติดิลซีรีน

     ฟอสฟาติดิลซีรีนอาจเพิ่มสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า acetylcholine ขึ้น สารเคมีตัวนี้จะคล้ายกับยาบางตัวที่ใช้สำหรับโรคต้อหิน, อัลไซเมอร์, และภาวะอื่น ๆ ดังนั้นการทานฟอสฟาติดิลซีรีนร่วมกับยาเหล่านี้อาจเพิ่มโอกาสของผลข้างเคียงขึ้น ตัวอย่างยาเหล่านี้มีทั้ง pilocarpine (Pilocar และอื่น ๆ ), และอื่น ๆ

 

   รับประทาน:

 


     สำหรับสมองเสื่อมถอยจากอายุที่มากขึ้น: ฟอสฟาติดิลซีรีนจากสมองวัวหรือพืช 100 mg สามครั้งต่อวันนาน 6 เดือน และผลิตภัณฑ์ฟอสฟาติดิลซีรีนชนิดแคปซูล (Vayacog, Enzymotec Ltd.) ที่ประกอบด้วย phosphatidylserine (PS) และอุดมด้วยกรดไขมัน DHA 1-3 แคปซูลทุกวันนาน 15 สัปดาห์
สำหรับโรคอัลไซเมอร์: ฟอสฟาติดิลซีรีน 300-400 mg ทุกวันโดยแบ่งโดส

    
     ดังนั้นแล้วสารสำคัญที่กลับมาทั้งต้นนี้จึงจำเป็นอย่างมาก ต่อการดูแลร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาและฟื้นฟู โดยที่ทางการแพทย์ทั่วโลกได้มีการยอมรับแล้ว ว่ามีประสิทธิภาพในการดูแลระดับความจำได้เป็นอย่างดี

 

ประโยชน์ของ ฟอสฟาติดิว เซอร์ลีน enlightened

  การนอนหลับ 
  นอนหลับยาก 

  นอนไม่หลับ
  การจดจำของสมองให้ดีขึ้น 
  ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ 
  ลดความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงาน

 


คำแนะนำในการรับประทาน

enlightened  สำหรับสมองเสื่อมถอยจากอายุที่มากขึ้น: ฟอสฟาติดิลซีรีนจากสมองวัวหรือพืช 100 mg สามครั้งต่อวันนาน 6 เดือน และผลิตภัณฑ์ฟอสฟาติดิลซีรีนชนิดแคปซูล (Vayacog, Enzymotec Ltd.) ที่ประกอบด้วย phosphatidylserine (PS) และอุดมด้วยกรดไขมัน DHA 1-3 แคปซูลทุกวันนาน 15 สัปดาห์
 

enlightened  สำหรับโรคอัลไซเมอร์: ฟอสฟาติดิลซีรีน 300-400 mg ทุกวันโดยแบ่งโดส

 

1. Phyllis A. Balch. Stress. In: a member of Penguin Group (USA) Inc. Prescription for Nutritional Healing. Forth Edition. New York: AVERY; 2006. p. 91. 2. https://www.hankintatukku.fi Hellhammer J, Buss C, Fries E, Engert V, Tuch A, Rutenberg D, Hellhammer D. “Effects of Soy Lecithin Phosphatidic Acid and Phosphatidylserine Complex (PAS) on the Endocrine and Physiological Responses to Mental Stress”. Stress, The International Journal on the Biology of Stress. June 2004. Vol 7 (2), 119-126.
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น