365

WECARE

Acethyl-L-Carnitine (อะเซตทิลแอลคาร์นิทีน)

 

 

     Acethyl-L-Carnitine (อะเซตทิลแอลคาร์นิทีน)   เป็นสารชนิดหนึ่งในร่างกาย ที่ร่างกายสร้างเองได้ จากกรดอมิโน 2 ชนิด เป็นสารเคมีในสมองที่หลั่งออกมาจากส่วนปลายของเส้นใยประสาทบริเวณเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ช่วยให้กระแสประสาทถูกส่งสัญญาณผ่านจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปสู่อีกเซลล์ประสาทหนึ่งได้ สารเคมีในสมองที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณระหว่างเซลล์เช่นนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารสื่อประสาท(neurotransmitter) ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการทำงานของระบบปราสาท และสมอง 

     กรดอะมิโน แอลคานีทีน เป็นอาหารเสริมที่ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก โดยการนำไขมันไปเผาผลาญขณะที่ออกกำลังกาย ความแตกต่างระหว่างแอล-คาร์นิทีน(L- Carnitine) และอะเซติล แอล-คาร์นิทีน(Acetyl L- Carnitine) คือ แอล-คาร์นิทีน(L- Carnitine) มีคุณสมบัติหลัก คือ ช่วยนำพาไขมันเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานในไมโตคอนเดรีย (หรือโรงงานสันดาป เพื่อสร้างพลังงาน ให้กับเซลล์ร่างกาย) ภายในเซลล์ จึงช่วยในการลดไขมัน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ส่วน อะเซติล แอล-คาร์นิทีน(Acetyl L- Carnitine) มีบทบาทสำคัญในส่วนของการผลิตอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งอะเซทิลโคลีน (acetylcholine) เป็นสารเคมีในสมองที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง จึงได้มีการนำเอา อะเซทิล แอล-คาร์นิทีน(Acetyl L- Carnitine) ไปใช้ช่วยในการ แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับสมอง และเซลล์ประสาท เช่น โรคสมองเสื่อม (Dementia) โดยสามารถทานควบคู่กับยา ที่ใช้ในการรักษาได้ เพราะกรดอะมิโนนี้มีความสามารถในการซึมผ่านเส้นเลือดฝอยขนาดจิ๋วในสมอง หรือที่เรียกกันว่า Blood Brain Barrier (BBB) ได้ โดยนอกจากจะช่วยเสริมสร้างสารสื่อประส่าทในสมองแล้ว ยังมีคุณสมบัติอื่นๆเช่น กำจัดอนุมูลอิสระในสมอง และช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองอันเนื่องมาจากความชราได้

 

     จึงได้มีการนำเอา อะเซทิล แอล-คาร์นิทีน(Acetyl L- Carnitine) ไปใช้ช่วยในการเสริมสร้าง แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับสมอง และเซลล์ประสาท เช่น โรคสมองเสื่อม (Dementia) เช่นโรคอัลไซเมอร์(Alzheimer’s disease) โรคพาร์กินสัน โรคที่มีการเสียหายของเซลล์สมองที่ต้องการซ่อมแซม ฟื้นฟู เช่น เส้นเลือดในสมองตีบตัน ระบบการไหลเวียนเลือดในสมองไม่ดี หรือโรคที่มีความผิดปกติกับเซลล์สมองเช่น ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

 

 

ประโยชน์ของ อะเซทิล แอล-คาร์นิทีน(Acethyl-L-Carnitine)

enlightened โรคอัลไซเมอร์

enlightened อาการความจำเสื่อมตามอายุ

enlightened โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

enlightened การวิตกกังวลที่เกี่ยวกับโรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคลายม์

enlightened ดาวน์ซินโดรม

enlightened อาการขาดการไหลเวียนของเลือดในสมอง

enlightened ต้อกระจก

enlightened อาการปวดเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน

enlightened อาการปวดเส้นประสาทจากการใช้ยารักษาโรคเอดส์

enlightened อาการใบหน้าอัมพาต

enlightened ภาวะการมีบุตรยาก

enlightened อาการฮอร์โมนเพศชายต่ำตามอายุ

 

 

 ขนาดและวิธีใช้

enlightened โรคอัลไซเมอร์ ขนาดการใช้ยาคือ 1500 – 4000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยจะแบ่งเป็น 2-3 ส่วนในหนึ่งวัน

enlightened สำหรับผู้ป่วยความจำเสื่อมตามอายุ  ขนาดการใช้ยาที่แนะนำคือ 1500 – 2000 มิลลิกรัมต่อวัน

enlightened สำหรับโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ  ขนาดการใช้ยาที่แนะนำคือ 1500 – 3000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นส่วนๆ

enlightened สำหรับภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย  ขนาดการใช้ยาที่แนะนำคืออะเซทิล แอล-คาร์นิทีน 1 กรัม และยาแอล-คาร์นิทีน 2 กรัม ต่อวัน  รับประทานยา 4000 มิลลิกรัม ต่อวัน เพื่อเพิ่มการทำงานของสเปิร์ม

enlightened อาการฮอร์โมนเพศชายต่ำตามอายุ   ขนาดการใช้ยาที่แนะนำคืออะเซทิล แอล-คาร์นิทีน 2 กรัม และแอล-คาร์นิทีนผสม (Propionyl-L-carnitine) 2 กรัม ต่อวัน

enlightened อาการปวดเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน  ขนาดการใช้ยาที่แนะนำคือ 1500 – 3000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็นส่วน

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้อาหารเสริมชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ  ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสม

 

กลไกการออกฤทธิ์

     การศึกษาเกี่ยวกับกลกออกฤทธิ์ของอะเซทิล แอล-คาร์นิน (Acethyl-L-Carnitine) ยังมีไม่เพียงพอ กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับหมอสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยพบว่าอะเซทิล แอล-คาร์นิทีนช่วยในการสร้างพลังงานแก่ร่างกายและมีสำคัญต่อการทำงานของหัวใจและสมอง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย

 

Acethyl-L-Carnitine (อะเซทิล แอล-คาร์นิทีน) อาจมีผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

1. ท้องไส้ปั่นป่วน

2. คลื่นไส้

3. อาเจียน

4. พักผ่อนไม่เพียงพอ

5. ปัสสาวะ ลมหายใจ และเหงื่อมีกลิ่นเหม็น

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและอาจมีอาการจากผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

ข้อควรระวัง และคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนอะเซทิล แอล-คาร์นิทีน:

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือ หมอสมุนไพร หาก:

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมจากอะเซล แอล-คาร์นิทีนมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร ว่าควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

 

1. Phyllis A. Balch. Stress. In: a member of Penguin Group (USA) Inc. Prescription for Nutritional Healing. Forth Edition. New York: AVERY; 2006. p. 57-58. 283. Zammit VA et al. Carnitine, mitochondrial function and therapy. Adv Drug Deliv Rev. 2009 Nov 30;61(14):1353-62. 284. Mynatt RL. Carnitine and type 2 diabetes. Diabetes Metab Res Rev. 2009 Sep;25 Suppl 1:S45-9. 285. Hota KB et al. Acetyl-L-carnitine-mediated neuroprotection during hypoxia is attributed to ERK1/2-Nrf2-regulated mitochondrial biosynthesis. Hippocampus. 2011 May 3. doi: 10.1002/hipo.20934. 286. Ando S et al. Enhancement of learning capacity and cholinergic synaptic function by carnitine in aging rats. J Neurosci Res. 2001 Oct 15;66(2):266-71. 287. Barhwal K et al. Hypoxia-induced deactivation of NGF-mediated ERK1/2 signaling in hippocampal cells: neuroprotection by acetyl-L-carnitine. J Neurosci Res. 2008 Sep;86(12):2705-21. 288. Alves E et al. Acetyl-L-carnitine provides effective in vivo neuroprotection over 3,4-methylenedioximethamphetamine-induced mitochondrial neurotoxicity in the adolescent rat brain. Neuroscience. 2009 Jan 23;158(2):514-23. 289. Taglialatela G et al. Acetyl-L-carnitine enhances the response of PC12 cells to nerve growth factor. Brain Res Dev Brain Res. 1991 Apr 24;59(2):221-30. 290. Taglialatela G et al. Neurite outgrowth in PC12 cells stimulated by acetyl-L-carnitine arginine amide. Neurochem Res. 1995 Jan;20(1):1-9. 291. Montgomery SA et al. Meta-analysis of double blind randomized controlled clinical trials of acetyl-L-carnitine versus placebo in the treatment of mild cognitive impairment and mild Alzheimers disease. Int Clin Psychopharmacol. 2003 Mar;18(2):61-71.
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น