365

WECARE

Licorice (Glycyrrhiza glabra)


สารสกัดจากชะเอมเทศ

 

      ชะเอมเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Glycyrrhiza glabra มาจากภาษากรีกแปลว่า "รากหวาน") เป็นพรรณไม้ที่มีอายุนานหลายปี ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-2 เมตร มีรากใหญ่แตกแขนงจำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบลักษณะเป็นรูปขนนก ก้านใบย่อยสั้นมาก แผ่นใบรูปไข่ มีใบย่อยประมาณ 9-17 ใบ ส่วนก้านใบย่อยนั้นจะสั้นมาก ใบจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ดอกจะออกเป็นช่อ กลีบดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน ๆ และก้านดอกจะสั้นมาก ฝักจะมีลักษณะแบน และผิวข้างนอกจะเรียบ นุ่ม

 

      มีงานวิจัยหนึ่งพบว่า สารลิโคชาลโคน เอ (Licochalcone A) ที่สกัดได้จากชะเอมเทศอาจช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่เพิ่มปริมาณเม็ดสีเมลานินมากเกินไปจนทำให้ผิวคล้ำได้ ส่วนสารลิควิริทินในชะเอมเทศก็อาจช่วยปรับผิวขาวได้ด้วยการกระจายเม็ดสีเมลานิน

 

     อีกงานวิจัยหนึ่งเผยว่า การทดลองใช้สารสกัดจากชะเอมเทศรักษาฝ้าเกิดผลดีและก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยมาก ส่วนการศึกษาที่ใช้สารกลาบริดินที่สกัดจากชะเอมเทศพบว่า สารนี้อาจมีฤทธิ์ป้องกันผิวคล้ำจากรังสี UVB และอาจช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เป็นสาเหตุทำให้ผิวคล้ำจากเม็ดสีที่มากเกินไปได้เช่นเดียวกับงานวิจัยข้างต้น

 

     แม้การศึกษาบางส่วนแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากชะเอมเทศอาจช่วยปรับสีผิวได้ แต่งานวิจัยเหล่านี้เป็นเพียงการศึกษาในห้องทดลองเท่านั้น จึงควรศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของชะเอมเทศในมนุษย์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ก่อนจะนำผลที่ได้มาปรับใช้ในทางการแพทย์ต่อไป

 

คุณสมบัติของชะเอมเทศในด้านความงามและผิวพรรณ 

 

  1. 1.ลดการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ และความหมองคล้ำ

     สารสกัดจากรากชะเอมเทศเข้าไปทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ไม่ให้ไปสร้างเม็ดสีเมลานิน จึงช่วยลดการเกิดฝ้า กระ และจุดด่างดำได้ดี ทำให้เซลล์ผิวที่หมองคล้ำจางลงอย่างรวดเร็ว ผิวจึงขาวสดใสอยู่เสมอ

 

  1. 2.ช่วยลดและต้านการอักเสบของผิว 

     ชะเอมเทศสามารถนำมาใช้ทดแทนสารเคมีที่ช่วยทำให้ผิวหน้าสว่างกระจ่างใส ช่วยลดและต้านการอักเสบของผิว แถมยังไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผิวหน้า และไม่ก่อให้เกิดสิวอุดตันอีกด้วย 

 

  1. 3.ช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้ใบหน้าเรียบเนียนขึ้น

     เมื่อใช้สารสกัดจากชะเอมเทศเป็นประจำ จะช่วยลดการเกิดปัญหาผิวจากมลภาวะและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิว พร้อมมอบความชุ่มชื้นและทำให้ผิวหน้าเรียบเนียนขึ้น และรอยดำที่เกิดจากแผลเป็นต่างๆ บนใบหน้าลดเลือนลงกระทั่งจางหายไป 

 

  1. 4.ดูแลผิวหน้าให้สุขภาพดี

     ชะเอมเทศช่วยลดการระคายเคือง การแพ้ รอยแดงจากสิว และควบคุมความมันบนใบหน้าทำให้การเกิดสิวลดลง มีความอ่อนโยนเหมาะกับสภาพผิวที่มีความบอบบาง ช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น และชะลออายุผิวให้คงความอ่อนเยาว์อยู่เสมอ

 

  1. 5.ดูดซับรังสียูวีและบำรุงผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่ง 

     ชะเอมเทศมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อีกทั้งช่วยขับพิษและดูดซับรังสียูวีจากผิว พร้อมช่วยบำรุงผิวให้สดใสเปล่งปลั่งอย่างเป็นธรรมชาติ โดยมีการค้นคว้าทดลองและงานวิจัยทางการแพทย์รับรองLicorice (Glycyrrhiza glabra)

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

    นำชะเอมเทศไปคั่วให้เหลืองกรอบ มีกลิ่นหอม นำไปชงน้ำดื่ม จะช่วยแก้อาการชักช่วยสงบประสาท ทำให้นอนหลับได้ดี หากมีอาการร้อนในกระหายน้ำ ชะเอมเทศนำไปต้มกับน้ำจับเลี้ยงแล้วใช้ดื่มจะช่วยเสริมสรรพคุณในการระบายความร้อนและพิษร้อนในร่างกายออกได้ รักษาอาการเส้นเลือดขอดและอาการปอดบวม โดยใช้ชะเอมเทศ 50 กรัม ต้มน้ำแบ่งรับประทานก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง รักษาอาการตัวเหลือง โดยใช้สารสกัดชะเอมเทศครั้งละ 15-20 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง พบว่าอาการตัวเหลืองจะหายเป็นปกติโดยใช้เวลาประมาณ 13 วัน ใช้ภายนอกรักษาอาการอักเสบบริเวณผิวหนัง ผิวเป็นผื่นแดงและคัน หรือเป็นขุย ใช้น้ำต้มชะเอมเทศล้างก็ช่วยลดอาการดังกล่าวนั้นได้

 

ข้อควรระวังในการรับประทาน


     ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ชะเอมเทศอาจทำเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งบุตรได้ และยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันถึงความปลอดภัยของการใช้ชะเอมเทศในหญิงที่กำลังให้นมบุตร เพราะสารสกัดจากชะเอมเทศอาจถูกส่งผ่านทางน้ำนมและมีผลต่อทารกได้ ดังนั้น ทั้งผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ที่กำลังให้นมบุตรจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ชะเอมเทศเพื่อความปลอดภัย


     ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรงดบริโภคชะเอมเทศอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะชะเอมเทศอาจรบกวนการควบคุมความดันโลหิตในระหว่างและหลังการผ่าตัด

 

     โรคหัวใจ ชะเอมเทศอาจทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติและภาวะหัวใจล้มเหลวได้


     โรคไต การบริโภคชะเอมเทศปริมาณมากอาจทำให้อาการต่าง ๆ ของโรคไตแย่ลง


     ภาวะที่มีความไวต่อฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และเนื้องอกมดลูก เพราะชะเอมเทศอาจเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย จนทำให้อาการต่าง ๆ ของภาวะเหล่านี้แย่ลง


     ภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ชะเอมเทศอาจทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดลดต่ำลงกว่าเดิม ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ


     ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวมาก ชะเอมเทศอาจทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดลดต่ำลง และส่งผลให้อาการกล้ามเนื้อตึงตัวแย่ลงได้

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น