365

WECARE

Astaxantine (แอสตร้าแซนทีน)

     Astaxantine (แอสตร้าแซนทีน) ราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารอาหารที่อยู่ในกลุ่มแคโรทินอยด์ (Carotenoid)  มีคุณสมบัติในการเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ในอวัยวะต่างๆของร่างกาย ปกป้อง DNA หรือสารพันธุกรรมในเซลล์จากการถูกทำลาย ซึ่งป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ ป้องกันมะเร็งได้ ป้องกันเซลล์ผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดด

 

     แอสตาแซนทิน พบมากใน สาหร่ายสีแดง (Haematococcus pluviali) และสามารถพบได้ในผักสด ผลไม้ ที่มีสีส้ม สีเหลือง หรือสีแดง เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือ และสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น ปลาแซลม่อนเมื่อกิน สาหร่ายสีแดงที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ จึงทำให้เนื้อปลามีสีส้ม เมื่อถึงฤดูวางไข่ ปลาแซลม่อนจึงสามารถว่ายทวนน้ำ เพื่อวางไข่ได้โดยไม่เกิดการอักเสบ สัตว์ทะเลที่กินสาหร่ายสีแดงจะมีเนื้อสีส้ม เช่น
เคย ปลาแซลมอน เปลือกกุ้ง เปลือกปู  

 

 

แอสตร้าแซนทีน (Astaxanthin) และประโยชน์ในด้านอื่นๆ yes

 

  1. 1.ด้านสายตา

มีการศึกษาอย่างมากมาย พบว่า การรับประทานแอสตาแซนธีน (Astaxanthin) เป็นระยะเวลานาน 4 สัปดาห์ ช่วยป้องกันตาแห้ง ตาอ่อนล้า ลดอาการเจ็บตา ช่วยปัญหาด้านการมองเห็น เช่น อาการมองไม่ชัด นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตาอีกด้วย ทำให้ดวงตามีสุขภาพที่ดี เรียกได้ว่าประโยชน์ของการรับประทานแอสตาแซนธีน (Astaxanthin) เพื่อช่วยทางด้านสายตานั้น ไม่เป็นสองรองใครแน่นอนค่ะ

 

  1. 2. ด้านความจำ

เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาด้านความจำ เกิดอาการหลงลืมได้ ดังนั้นในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ได้มีการศึกษาประโยชน์ในด้านความจำ หลังจากการรับประทานแอสตาแซนธีน (Astaxanthin) โดยผลการศึกษาพบว่า การรับประทานแอสตาแซนธีน (Astaxanthin) ขนาด 6 – 12 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลานาน 3 เดือน ช่วยเพิ่มการจดจำ และอาการหลงลืมของผู้ป่วยได้ด้วยนะคะ

 

  1. 3.ด้านความเจ็บปวด บริเวณข้อและกล้ามเนื้อ

มีการศึกษาพบว่าหลังการประทานแอสตาแซนธีน (Astaxanthin) ขนาด 4 – 12 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลานาน 2 – 3  สัปดาห์ สามารถลดความเจ็บปวดบริเวณข้อเข่าและกล้ามเนื้อได้ นอกจากนี้มีการใช้แอสตาแซนธีน (Astaxanthin)  ขนาด 12 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์มีอาการที่ดีขึ้น ลดอาการปวดต่างๆ ได้ รวมทั้งไม่เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เมื่อต้องรับประทานร่วมกับยาแก้ปวดที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำเลยค่ะ

 

  1. 4.ด้านหัวใจ

มีการศึกษาพบว่า แอสตาแซนธีน (Astaxanthin) ช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ไตรกลีเซอไรด์และคลอเรสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจตามมาในกรณีที่มีปริมาณสูง และนอกจากนี้ยังพบว่าการรับปะทานแอสตาแซนธีน (Astaxanthin) ขนาด  6 – 18 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลานาน 12 สัปดาห์ ยังสามารถช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันได้อีกด้วย โบกมือลาไขมันร้ายๆ กันได้เลยนะคะทีนี้

 

 

ประโยชน์ของแอสตร้าแซนทีน  นอกเหนือจากเรื่องผิวพรรณแล้ว ยังช่วยเรื่องอื่นๆได้อีกเช่น

 

   ป้องกัน และฟื้นฟูจอประสาทตาที่เสื่อม ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยป้องกันดวงตาจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต
 
  ช่วยกระตุ้นความจำ ช่วยป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายที่เกี่ยวข้องกับอายุ
 
  ลดความดัน เพิ่มการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดฝอย ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
  ลดภาวะอักเสบในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน 
 
  ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกาย
 
  ปกป้องโครงสร้างผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต ช่วยกระชับรูขุมขน ลดเลือนริ้วรอย
 
  ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย
 
  ช่วยในเรื่องของหัวใจ ไตรกลีเซอไรด์และคลอเรสเตอรอล

 

 

การบริโภค Astaxanthin


     ปริมาณที่แนะนำต่อวันควรบริโภคประมาณ 4-12 มิลลิกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น ปริมาณ 4 มิลลิกรัมต่อวันมีผลในการช่วยลดการอักเสบได้ดี หรือบริโภคในปริมาณ 12 มิลลิกรัมต่อวันมีส่วนช่วยในการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระสำหรับผู้ที่ต้องการในปริมาณมากขึ้น นอกจากนี้ Astaxanthin ยังจัดเป็นสารแคโรทีนอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำมัน จึงควรมีการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันจะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น

     ทั้งนี้ปริมาณที่เหมาะสมของการรับประทาน Astaxanthin ยังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย ทั้งอายุ สุขภาพ หรือสภาวะร่างกายอื่น ๆ ของผู้ที่รับประทาน ทำให้ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากพอที่จะสรุปปริมาณเหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับอย่างแน่นอน แม้จะเป็นสารจากธรรมชาติก็ไม่สามารถรับประกันถึงความปลอดภัย จึงควรปฏิบัติตามคำสั่งบนฉลากผลิตภัณฑ์และปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนการรับประทาน รวมไปถึงรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อวัน

 

 

ผลข้างเคียงจากการบริโภค Astaxanthin enlightened


     ยังไม่พบข้อสรุปที่ชัดเจนถึงผลข้างเคียงในการบริโภค Astaxanthin หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบ Astaxanthin ในปริมาณมาก แต่หากรับประทานวันละ 48 มิลลิกรัมทุกวันอาจจะทำให้อุจจาระมีสีแดง ในกรณีที่เกิดความผิดปกติหลังการรับประทาน ควรรีบไปพบแพทย์

 


 

คำแนะนำการรับประทานenlightened

 

 


คำเตือนของการบริโภค Astaxanthin

 

 

 


 

1. Yang Y, Kim B, and Lee JY. Astaxanthin Structure, Metabolism, and Health Benefits. Journal of Human Nutrition & Food Science. 2013. 1:1003. 2. Ambati RR, Phang SM, Ravi S and Aswathanarayana RG. Astaxanthin: Sources, Extraction, Stability, Biological Activities and Its Commercial Applications-A Review. 3. Nishida Y, et al. Quenching Activities of Common Hydrophilic and Lipophilic Antioxidants against Singlet Oxygen Using Chemiluminescence Detection System. Carotenoid Science. 2007; 11: P.16-20. 4.Yamashita E. The Effects of a Dietary Supplement Containing Astaxanthin on Skin Condition. Life Science Division, Fuji Chemical Industry Co.Ltd. P.91-95. 5. Fassett RG and Coombes JS. Astaxanthin: A Potential Therapeutic Agent in Cardiovascular Disease. Drugs. 2011 Mar; 9: P.447-465. 6. Yang Y, et al. Astaxanthin-Rich Extract from the Green Alga Haematococcuspluvialis Lowers Plasma Lipid Concentrations and Enhances Anitioxidant Defense in Apolipoprotein E Knockout Mice. J Nutr. 2011; 141: P.1611-1617. 7. Katagiri M, et al. Effects of astaxanthin-rich Haematococcuspluvialis extract on cognitive function: a randomized, double-blind, placebo-controlled study. J. Clin. Biochem. Nutr. 2012 Sep; 51(2): P.120-107. 8. Nakamura A, et al. Changes in visual function following peroralastaxanthin. Japanese Journal of Clinical Ophthalmology. 2004 Jun 15; 58(6): P.1051-1054. 9. Park JS, et al. Astaxanthin decreased oxidative stress and inflammation and enhanced immune response humans. Nutrtion& Metabolism. 2010; 7: P.18. 41. Nagaki Y et al. Effects of astaxanthin on accommodation, critical flicker fusion, and pattern visual evoked potential in visual display terminal workers. Journal of Traditional Medicines. 2002; 19(5):170-73. 43. Martinez A, Rodriguez-Girones MA, Barbosa A, Costas M. Donator acceptor map for carotenoids, melatonin and vitamins. J PhysChem A. 2008 Sep 25;112(38):9037-42.
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น