365

WECARE

โบรอน (Boron)

   

     โบรอน เป็นธาตุกึ่งโลหะที่หายากบนพื้นโลก เนื่องจากมันละลายน้ำ สารประกอบของมันจึงอยู่ในรูปเกลือบอเรต (borate, boric acid) เป็นส่วนใหญ่ เมื่อน้ำระเหยไป มันมักรวมอยู่กับสารอินทรีย์ (R) อื่น เกิดเป็น boronic acid และ borinic acid บอเรตที่รวมกับโซเดียมจะได้สารประกอบบอแรกซ์ (borax) หรือน้ำประสานทอง ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยออกกฎหมายห้ามผสมในอาหาร เพราะเกรงว่าผู้ประกอบการอาจใส่มากจนเกินไปจนผู้บริโภคเกิดพิษสะสมในร่างกาย ปริมาณที่เป็นพิษ (median lethal dose) คือ 2.66 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณที่เกลือแกงจะเกิดเป็นอันตรายต่อร่างกาย

 

     แต่โบรอนเป็นธาตุที่สำคัญสำหรับคน สัตว์ และพืช มันช่วยให้พืชแตกดอก ออกใบ และเพิ่มความแข็งแรงให้ผนังเซลล์ (cell wall) ดินที่ขาดโบรอนจะทำให้ใบพืชเน่า ในคนโบรอนมีส่วนในขบวนการของชีวิตมากมาย ตั้งแต่การเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน การสร้างโปรตีนและกรดอะมิโน การกำจัดอนุมูลอิสระ การสร้างและบำรุงรักษากระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การป้องกันและรักษาภาวะข้อเสื่อม เพิ่มระดับฮอร์โมนเพศและวิตามินดี ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ระบบประสาทตื่นตัวและเรียนรู้ได้ดีขึ้น

 

 

บทบาทของโบรอนในร่างกายenlightened
 

     1. สร้างกระดูกและเสริมความแข็งแรงให้กระดูก โดยโบรอนลดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกและลดการขับแคลเซียมทิ้งที่ไต [14] บทบาทนี้ยังเกิดได้ในภาวะที่ขาดวิตามินดี โดยเชื่อว่าโบรอนยับยั้งไม่ให้เอนไซม์ 24-hydroxylase ทำลาย 1α,25[OH]2D3 เร็วเกินไป


     2. เพิ่มระดับของฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิง มีผู้ทำการทดลองให้สตรีวัยทองรับประทานอาหารที่มีโบรอนต่ำ (0.25 mg/วัน) เป็นเวลา 119 วัน จากนั้นเปลี่ยนเป็นให้โบรอนเสริมขนาด 3 mg/วัน เป็นเวลา 28 วัน พบว่าสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมน 17 beta-estradiol และ testosterone ในเลือดได้
 

     3. รักษาข้อเสื่อมโดยลดระดับของสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น hs-CRP, TNF-α, IL-6 เร่งสมานแผล พบว่าการทาน้ำยา 3% boric acid ลงในแผลขนาดใหญ่และลึก ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น โดยโบรอนไปกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาส (fibroblast) ให้หลั่งเอนไซม์ elastase, collagenase, alkaline phosphatase ที่ช่วยสร้างคอลลาเจนและแมทริกซ์ให้แผลปิดเร็วขึ้น


     4. สร้างชีวโมเลกุลที่สำคัญ เนื่องจากโบรอนรวมกับสารอินทรีย์อื่นที่มีไฮดร็อกซิล (-OH) อยู่ด้านนอกได้ง่าย สารอินทรีย์เหล่านี้ได้แก่ polysaccharides, pyridoxine, riboflavin, dehydroascorbic acid, pyridine nucleotide, nicotinamide adenine dinucleotide (NAD+), และ nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADP) ซึ่งแทบทุกตัวมีบทบาทในเมตาบอลิซึมที่สำคัญของร่างกาย การรวมตัวกันของโบรอนกับสารเหล่านี้ทำให้สารเหล่านี้ทำงานได้ดีขึ้น


     5. กระตุ้นการทำงานของสมอง มีการศึกษาทั้งในคนและสัตว์ทดลองพบว่า การขาดโบรอนทำให้คลื่นไฟฟ้าสมองลดลง และการให้โบรอนขนาด 3 mg/วัน ชดเชยเป็นเวลา 3 เดือน ทำให้สมองตื่นตัว รับรู้เร็วขึ้น ความจำดีขึ้น คลื่นไฟฟ้าสมองก็แสดงการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตื่นตัวมากขึ้น


     6. ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด, เป็นองค์ประกอบของยารักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งไขกระดูกตัวใหม่ ๆ, ลดผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดตัวอื่น

 

     7. ต้านพิษโลหะหนัก เช่น arsenic, cadmium, mercury, และตะกั่ว (lead) ในคน [23]


     8. ต้านพิษของยาฆ่าแมลงมาลาไธออน (Malathion) ในหนูทดลอง

   
     9. เพิ่มการดูดซึมแมกนีเซียมจากทางเดินอาหารและการสะสมที่กระดูก

     


 

โบรอน เป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อสุขภาพ โดยมีหน้าดังต่อไปนี้

 

 

 

แหล่งอาหารที่มีโบรอนสูง

     เนื่องจากเป็นธาตุที่หายากในโลก ปริมาณโบรอนในอาหารค่อนข้างแตกต่างกันในภูมิภาคของโลก 

 

 

ภาวะขาดโบรอน


      ภาวะขาดโบรอนพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาธาตุที่จำเป็นทั้งหลาย โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ดินขาดธาตุโบรอน จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ประชากรในประเทศที่ดินขาดโบรอนเกิดโรคข้อเสื่อมมากกว่าประชากรในประเทศที่ดินมีโบรอนอุดมสมบูรณ์  แต่ยังไม่มีรายงานของอาการขาดโบรอนโดยเฉพาะ เพราะโบรอนเป็นธาตุที่ช่วยการทำงานของสารอื่น ๆ ในร่างกาย อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาระดับปกติในเลือด การวินิจฉัยจึงทำไม่ได้

 

 

พิษของโบรอน


     ยังไม่พบพิษของโบรอนจากอาหาร แต่พบในผู้ที่บังเอิญกินกรดบอริกซึ่งเป็น antiseptics > 20 กรัมทีเดียว หรือกินอาหารที่ผสมบอแรกซ์ > 500 mg เป็นประจำทุกวัน โดยจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง เลือดออกในทางเดินอาหาร วิงเวียน ความดันโลหิตต่ำ ในผู้ที่ไตเสื่อมอยู่แล้วอาจเกิดภาวะไตวายได้ ก๊าซบอเรน (borane) เป็นก๊าซพิษที่ติดไฟง่าย หากสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการหายใจติดขัด รู้สึกแน่นในลำคอหรือแน่นหน้าอก อาจเกิดลมพิษ คัน หรือบวมตามใบหน้า หนังตา และปากและยังรวมถึงสิ่งต่างๆ ของร่างกาย
 

1. Phyllis A. Balch. Stress. In: a member of Penguin Group (USA) Inc. Prescription for Nutritional Healing. Forth Edition. New York: AVERY; 2006. p. 32-33.
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น