365

WECARE

อินโนซิทอล (Inositol) 

   

     อินโนซิทอล (Inositol) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม มีบทบาทสำคัญในระบบประสาทโดยให้พลังแก่เซลล์สมอง ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันและคอเลสเตอรอลอินโนซิทอลนั้นมีหน่วยเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.) เมื่อรวมตัวกับโคลีนจะกลายเป็นเลซิติน สำหรับแหล่งที่พบอินโนซิทอลตามธรรมชาติ ได้แก่ ตับ สมองและหัวใจวัว จมูกข้าวสาลี กากน้ำตาล ถั่วลิสง ถั่วลิมาแห้ง ลูกเกด แคนตาลูป เกรปฟรุต กะหล่ำปลี บริเวอร์ยีสต์ เป็นต้น

 

   โรคจากการขาดอินโนซิทอล ได้แก่ โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา (Eczema) โดยมีลักษณะอาการคือ บวมแดง คัน ผิวหนังลอกเป็นขุย ท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวลำไส้จะทำงานผิดปกติ จึงทำอาหารให้ตกค้างในลำไส้ใหญ่ หรืออาจเกิดความผิดปกติในดวงตา เช่น ตาบอดกลางคืน ต้อกระจก ต้อหิน และการมองเห็นผิดปกติ ได้ หรืออาจเกิดภาวะผมร่วงได้ หรืออาจเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน หรือเกิดการแข็งตัวของผนังเส้นเลือดได้ และอาจเกิดภาวะเสื่อมและอักเสบของปลายประสาท ทำให้มีอาการชา หรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้าได้ ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในยังไม่มีรายงานว่าเกิดอันตรายต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน และศัตรูของอินโนซิทอล ได้แก่ น้ำ กาแฟ แอลกอฮอล์ กระบวนการแปรรูปอาหาร ยาในกลุ่มซัลฟา และฮอร์โมนเอสโตรเจน

 

ประโยชน์ของอินโนซิทอล enlightened


ʕ→ᴥ←ʔ  อินโนซิทอลสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันได้

ʕ→ᴥ←ʔ  ป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง

ʕ→ᴥ←ʔ  ช่วยป้องกันผื่นผิวหนังอักเสบเอ็กซีมาอินโนซิทอล

ʕ→ᴥ←ʔ  ช่วยปรับการสะสมของไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ʕ→ᴥ←ʔ  ทำให้รู้สึกสงบ ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล

ʕ→ᴥ←ʔ  สามารถช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดได้

ʕ→ᴥ←ʔ  ช่วยป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด

ʕ→ᴥ←ʔ  ช่วยฟื้นฟูอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้น

 

 

คำแนะนำในการรับประทานอินโนซิทอล yes


ʕ→ᴥ←ʔ  อินโนซิทอลขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันยังไม่มีระบุอย่างเป็นทางการ แต่สำหรับผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้วันละ 500 - 1,000 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานเป็นวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า เย็น

ʕ→ᴥ←ʔ  มักมีวางจำหน่ายในรูปแบบเลซิทินผงที่ละลายน้ำได้ง่าย และในรูปของวิตามินบีรวมโดยจะมีอินโนซิทอลและโคลีนผสมอยู่ด้วยอย่างละ 100 มิลลิกรัม โดยในรูปของแคปซูลเลซิทินจากถั่วเหลือง 6 เม็ด จะมีอินโนซิทอลและโคลีนอยู่ด้วย อย่างละประมาณ 244 มิลลกิรัม

ʕ→ᴥ←ʔ  ขนาดที่แนะนำให้รับประทานสำหรับอาหารเสริมโดยทั่วไปต่อวันคือประมาณ 500 - 1,000 มิลลิกรัม

ʕ→ᴥ←ʔ  ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันทั่ว ๆ ไปคือประมาณ 250 - 500 มิลลิกรัม

ʕ→ᴥ←ʔ  ควรรับประทานร่วมกับโคลีนและวิตามินบีตัวอื่น ๆ ในรูปของวิตามินบีรวม

ʕ→ᴥ←ʔ  สำหรับผู้ที่ชอบดื่มกาแฟ คุณควรรับประทานอินโนซิทอลเสริม

ʕ→ᴥ←ʔ  การรับประทานอินโนซิทอลและโคลีนเป็นประจำ จะทำให้วิตามินอีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ʕ→ᴥ←ʔ  ผู้ที่รับประทานเลซิทินควรรับประทานธาตุแคลเซียมเสริม เพื่อปรับสมดุลของระดับแคลเซียมและธาตุฟอสฟอรัส เพราะอินโนซิทอลและโคลีนจะไปเพิ่มระดับของฟอสฟอรัสในร่างกาย

 

อิโนซิทอลกับการรักษาโรค ⚡

 

 

 

 

 

ผลของการขาดอิโนซิทอล 


หากร่างกายขาดอิโนซิทอล จะส่งผลต่อร่างกายเช่นเดียวกับการขาดโคลีน คือ

 

  1. 1. ทำให้เกิดอาการตับแข็ง ตับทำงานไม่เต็มที่ หรือไม่ทำงาน เนื่องจาก มีไขมันมาเกาะที่ตับมาก (Fattydegeneration Liver)

 

  1. 2. ทำให้ท้องผูก เกิดความผิดปกติกับดวงตา โรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูง ผนังเส้นเลือดแดงแข็งเปราะแตกง่าย ผมร่วง ผื่นคัน และผิวหนังอักเสบ

 

 

การใช้และประสิทธิภาพของอิโนซิทอล yes


ภาวะที่อาจใช้อิโนซิทอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

✿ เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes) การทานอิโนซิทอลประเภทที่เรียกว่า myo-inositol ร่วมกับกรดโฟลิก (folic acid) ระหว่างมีครรภ์อาจช่วยลดโอกาสที่แม่ผู้มีความเสี่ยงจะเกิดโรคเบาหวานระหว่างมีครรภ์ลงได้ 60-92% โดยการใช้อิโนซิทอลปริมาณน้อยและไม่ได้ทานร่วมกับกรดโฟลิกอาจไม่ส่งผลใด ๆ ต่อความเสี่ยงนี้

✿ ผลข้างเคียงจากลิเทียม (lithium) การทานอิโนซิทอลอาจช่วยบรรเทาอาการจากโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากลิเทียม แต่ไม่อาจรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ไม่ได้เกิดลิเทียมแต่อย่างใด อีกทั้งอิโนซิทอลก็ไม่ได้ช่วยลดผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่เกิดจากลิเทียมเชานกัน

✿ โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) การทานอิโนซิทอลเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับ alpha-lipoic acid อาจช่วยเพิ่มความทนทานต่ออินซูลิน, ปรับระดับคอเลสเตอรอลกับไตรกลีเซอร์ไรด์, และควบคุมความดันโลหิตของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคนี้ได้

✿ โรคแพนิค (Panic disorder) อิโนซิทอลแสดงให้เห็นศักยภาพในการควบคุมอาการแพนิคและลดความหวาดกลัวสถานที่เปิดโล่งหรือที่สาธารณะ (agoraphobia) ได้ โดยงานวิจัยพบว่าอิโนซิทอลมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาที่ใช้ควบคุมอาการของโรคเหล่านี้ อย่างไรก็ตามก็ยังคงต้องมีการศึกษาทางคลินิคเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่แท้จริงของอิโนซิทอลต่ออาการแพนิคเพิ่มเติมอยู่ดี

✿ โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder (OCD) มีหลักฐานว่าผู้ป่วย OCD ที่ได้รับประทานอิโนซิทอลนานกว่า 6 สัปดาห์จะมีอาการของโรคนี้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้อิโนซิทอลก็ไม่อาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มที่เรียกว่า selective serotonin reuptake inhibitors ไปแล้ว

✿ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (ovary disorder known as polycystic ovary syndrome (PCOS) การทานอิโนซิทอล (D-chiro-inositol หรือ myo-inositol) อาจช่วยลดระดับเทสโทสเทอโรนกับไตรกลีเซอร์ไรด์, ลดระดับความดันโลหิตได้ค่อนข้างมาก, และเพิ่มการทำงานของรังไข่ของสตรีที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ โดย Myo-inositol อาจมีประสิทธิภาพเท่ากับยา metformin ซึ่งงานวิจัยบางชิ้นยังได้แสดงให้เห็นว่าการทานอิโนซิทอลสองประเภทร่วมกันจะช่วยให้การตกไข่เป็นไปได้ดีขึ้นกว่าการทานแค่ D-chiro-inositol เพียงอย่างเดียว อีกทั้งการใช้ร่วมกับยาควบคุมความดันโลหิต, น้ำตาลในเลือด, และระดับอินซูลินจะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าการทาน myo-inositol เพียงอย่างเดียว

✿ ปัญหาการหายใจของเด็กที่คลอดก่อนกำหนด (acute respiratory distress syndrome) การให้อิโนซิทอลทางเส้นเลือด (intravenously (by IV)) กับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่ปัญหาระบบหายใจจะช่วยให้พวกเขามีการหายใจที่ดีขึ้น อีกทั้งการให้อิโนซิทอลแบบรับประทานหรือทางเส้นเลือดแก่ทารกกลุ่มนี้ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต, ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่ทำให้ตาบอด, หรือความเสี่ยงที่จะเลือดออกในสมองได้ด้วย

 

268. Baten A, Ullah A, Tomazic VJ, et al. Inositol-phosphate-induced enhancement of natural killer cell activity correlates with tumor suppression. Carcinogenesis. 1989 Sep;10(9):1595-8. 269. Sakamoto K, Venkatraman G, Shamsuddin AM. Growth inhibition and differentiation of HT-29 cells in vitro by inositol hexaphosphate (phytic acid). Carcinogenesis. 1993 Sep;14(9):1815-9. 270. Shamsuddin AM, Ullah A, Chakravarthy AK. Inositol and inositol hexaphosphate suppress cell proliferation and tumor formation in CD-1 mice. Carcinogenesis. 1989b Aug;10(8):1461-3. 271. Shamsuddin AM, Ullah A. Inositol hexaphosphate inhibits large intestinal cancer in F344 rats 5 months after induction by azoxymethane. Carcinogenesis. 1989a Mar;10(3):625-6. 272. Yang GY, Shamsuddin AM. IP6-induced growth inhibition and differentiation of HT-29 human colon cancer cells: involvement of intracellular inositol phosphates. Anticancer Res. 1995 Nov-Dec;15(6B):2479-87. 273. Shamsuddin AM, Yang GY. Inositol hexaphosphate inhibits growth and induces differentiation of PC-3 human prostate cancer cells. Carcinogenesis. 1995 Aug;16(8):1975-9. 274. Shamsuddin AM, Vucenik I, Cole KE. IP6: a novel anti-cancer agent. Life Sci. 1997;61(4):343-54. 275. Grases F, Simonet BM, Vucenik I, et al. Effects of exogenous inositol hexakisphosphate (InsP(6)) on the levels of InsP(6) and of inositol trisphosphate (InsP(3)) in malignant cells, tissues and biological fluids. Life Sci. 2002 Aug 16;71(13):1535-46.
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น