ผมร่วงเกิดจากอะไร รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วผมของคนเราร่วงทุกวันโดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกตัว สาเหตุเพราะจำนวนของเส้นผมที่ร่วงนั้นน้อยเสียจนไม่ทันสังเกต ทว่าสัญญาณอันตรายจะเริ่มขึ้นจริงๆ จังๆ เมื่อผมของเรานั้นเริ่มร่วงเกิน 30 เส้นต่อวัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เรามาทำความเข้าใจ ‘สาเหตุของผมร่วง’ ให้มากขึ้น เพื่อให้ผมของเราอยู่กับเราไปนานๆ กันดีกว่า
เส้นผมของคนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รากผม (ส่วนที่ฝังอยู่ใต้ศีรษะ) กับ เส้นผม (ส่วนที่งอกเหนือหนังศีรษะ) โดยภายในเส้นผมประกอบไปด้วยโปรตีนและเคราติน ซึ่งเคราตินทำหน้าที่ป้องกันการดูดซึมสารต่างๆ ลดอันตรายจากแสงอาทิตย์ รวมถึงเป็นสารอาหารหลักสำคัญของเส้นผม แม้เส้นผมจะเป็นสิ่งสำคัญแต่ในการพูดถึงผมร่วงนั้น ”รากผม” ต่างหากที่เป็นตัวตัดสินว่าผมของเราจะอยู่กับเรานานแค่ไหน
รากผม หรือผมส่วนที่ฝังตัวอยู่ใต้ศีรษะนั้นแต่ละรากมีปุ่มปลายแหลม 1 ปุ่ม ทำหน้าที่เปรียบเสมือนท่อส่งอาหาร เลี้ยงเส้นผมให้เจริญเติบโต แต่ถ้าหากปุ่มปลายแหลมนั้นตายไป ผมก็จะขาดอาหารและหลุดร่วงไปในที่สุด
สาเหตุของผมร่วงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ต่อมาคือปัจจัยภายนอกร่างกาย เกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ไปจนถึงการกระทำต่อเส้นผมในแต่ละวัน โดยปัจจัยภายนอกสามารถดูแลเพื่อลดสาเหตุของผมร่วงได้
ปัจจัยภายในร่างกายเป็นสาเหตุของผมร่วงที่เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้การแก้ไขปัญหาผมร่วงจากปัจจัยนี้เป็นเรื่องยาก โดยปัจจัยในร่างกายที่ส่งผลให้ผมร่วงมีดังนี้
กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่ทำให้ผมร่วง ซึ่งพบได้ในเพศชายเป็นหลัก โดยเพศชายจะมีความไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ทำให้เส้นผมมีอายุสั้นกว่าปกติ ซึ่งอาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์จะค่อยๆ แสดงให้เห็น ตั้งแต่อายุ 18 ปี และปริมาณจะร่วงเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เปลี่ยนไป
ฮอร์โมนเป็นส่วนสำคัญในระบบการทำงานของเส้นผม โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของเส้นผม ตั้งแต่การลำเลียงอาหารจนไปถึงการกระตุ้นให้เกิดเส้นผม สำหรับฮอร์โมนที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุผมร่วงมีด้วยกันหลักๆ 2 ชนิด ดังนี้
2.1 ฮอร์โมน dihydrotestosterone (DHT)
ฮอร์โมน dihydrotestosterone (DHT) เป็นส่วนหนึ่งของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) หน้าที่ของฮอร์โมนชนิดนี้คือกระตุ้นไขมัน ช่วยป้องกันไม่ให้ผิวแห้งแตก และเมื่อ DHT อยู่บนเส้นผมจะช่วยทำให้ผมเงางาม แต่ถ้าหากฮอร์โมน DHT ของใครไปจับกับเซลล์มากเกินไป จะทำให้วงจรชีวิตของเส้นผมเร็วขึ้น ผมงอกในเวลาที่เร็วขึ้นแต่เส้นผมที่งอกกลับมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนสุดท้ายก็เกิดภาวะผมร่วงในที่สุด
2.2 ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid stimulating hormone)
ไทรอยด์ฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตขึ้น ทำหน้าที่ควบคุมและกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย ตั้งแต่ควบคุมอุณหภูมิจนไปถึงระบบการเผาผลาญของร่างกาย โดยในส่วนของเส้นผม ไทรอยด์ฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับไขมัน ถ้าหากไขมันมีปริมาณมากจนเกินไปหนังศีรษะจะมีความมัน ทำให้เกิดการอุดตันของไขมัน ผมก็ขาดหลุดร่วง แต่ถ้าหากไขมันน้อยเกินไป หนังศีรษะจะขาดความชุ่มชื่น เพราะไม่มีไขมันไปหล่อเลี้ยง ทำให้ผมแห้งขาดหลุดร่วง จึงเป็นเหตุที่ว่าถ้าไทรอยด์ฮอร์โมนทำงานมากไปหรือน้อยไปเส้นผมจะได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน
ความเครียดคือศัตรูตัวร้ายของร่างกายคนเรา และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมากมายตั้งแต่โรคหัวใจจนไปถึงโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเครียดคือ “ผมร่วง” โดยความเครียดไม่ได้ส่งผลต่อภาวะผมร่วงโดยตรง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับผมร่วงเช่น โรคผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) ซึ่งความเครียดเป็นส่วนกระตุ้นให้วงจรชีวิตของผมเร็วขึ้นจนผมร่วงเร็วกว่าปกติ ต่อมาคือ โรคดึงผม (Trichotillomania) ความเครียดทำให้บางคนเลือกแสดงออกในการดึงเส้นผมจนทำให้ผมร่วง สุดท้าย คือ โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata) สำหรับโรคนี้ความเครียดมี ส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มทำงานผิดปกติ และส่งผลให้รูขุมขนมีขนาดเล็กลง จนไม่สามารถผลิตเส้นผมขึ้นมาได้ จึงเกิดอาการผมร่วงในที่สุด
สำหรับอาการผมร่วงที่มีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกเกิดจากวิถีชีวิตประจำวันที่คนส่วนใหญ่ทำร้ายเส้นผมโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่เรื่องอาบน้ำจนไปถึงอาหารการกิน ซึ่งสามารถแบ่งส่วนที่เป็นสาเหตุของผมร่วงออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
✦ การดัดยืด การทำสีผม หนีบผม เป่าผมเป็นประจำ โดยพฤติกรรมเหล่านี้คือการเพิ่มความร้อนให้เส้นผม และความร้อนจะทำให้เคราตินในเส้นผมหายไป ซึ่งเคราตินมีส่วนให้ชุ่มชื่นเมื่อเคราตินหายไป เส้นผมก็จะแห้งแตกปลาย
✦ การสระผมด้วยน้ำอุ่น โดยน้ำอุ่นจะช่วยขจัดความมันในหนังศีรษะ ทำให้หนังศีรษะแห้ง ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับคนที่หนังศีรษะมัน แต่อย่าลืมว่าเส้นผมต้องการความมันในการเจริญเติบโต ดังนั้นการสระผมด้วยน้ำอุ่นบ่อยๆ จะลดความแข็งแรงของเส้นผม ทำให้ผมแห้งและหลุดร่วงได้ง่าย
✦ การหวีผมขณะผมเปียก โดยในขณะเปียกเส้นผมจะบอบบางกว่าปกติ การที่หวีหรือใช้ผ้าขนหนูเช็คแรงๆ จะส่งผลให้เส้นผมที่บอบบางอยู่ ในขณะนั้นหลุดร่วงได้ง่าย
✦ การลดน้ำหนักผิดวิธี สำหรับที่ลดน้ำหนักด้วยวิธีการอดอาหาร อาจส่งผลให้คุณขาดสารอาหารที่สำคัญต่อเส้นผมได้ เช่น โปรตีน, เหล็ก, สังกะสี (Zinc) ซึ่งสารอาหารเหล่านี้เป็นหนึ่งในตัวช่วยให้เส้นผมแข็งแรง ถ้าหากขาดแร่ธาตุเหล่านี้โอกาสที่สุขภาพเส้นผมจะอ่อนแอ ก็เกิดขึ้นได้เหมือนกัน
✦ การทานอาหารรสจัด โดยการทานอาหารรสไหนที่มากจนเกินไป เช่น เค็มเกินไป เปรี้ยวเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายรวมถึงสุขภาพเส้นผมด้วย โดยการทานอาหารรสจัดส่งผลให้ ความดันโลหิตสูงขึ้น เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงรากผมได้ เส้นผมจึงไม่แข็งแรงเพราะไม่มีอาหาร
✦ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ พฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดภาวะเส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดไม่สามารถเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงเส้นผมด้วยและเมื่อรากผมไม่มีอาหาร รูขุมขนก็ไม่แข็งแรง เส้นผมจึงขาดหลุดร่วงในที่สุด
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง