ปัญหาหน้าเป็นฝ้า กระ และกระลึกกลายเป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่คอยกวนใจใครหลายคนกันอยู่ไม่น้อย เพราะสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ มีรอยปื้นๆ บนใบหน้า และมีจุดสีเข้มปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้หลายคนต้องสูญเสียความมั่นใจจากปัญหาผิวนี้ไปอย่างน่าเสียดาย และแม้ว่าจะหาวิธีรักษาฝ้าแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด
หลายคนที่กำลังประสบกับปัญหาผิวนี้ ต่างพยายามหาวิธีรักษาฝ้า กระ และตัวช่วยต่างๆ ที่จะช่วยให้ผิวหน้ากลับมาขาวใส ไร้ฝ้ากันอย่างสุดความสามารถ แต่ทว่าเพราะความเข้าใจผิดบางอย่างเกี่ยวกับฝ้า กระ และการดูแลผิวแบบผิดวิธี นอกจากจะไม่ช่วยให้ปัญหาฝ้า กระดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการซ้ำเติมผิวให้เกิดฝ้า กระให้ฝังลึกมากยิ่งขึ้น
ฝ้าจะมีลักษณะ จะเป็นปื้นๆ สีน้ำตาลเข้มกว่าสีผิว มีอยู่ 2ชนิด คือ ฝ้าชนิดตื้น คือเม็ดลีจะมีความลึกอยู่เพียงชั้นหนังกำพร้าและ ฝ้าชนิดลึก จะมีความลึกของเม็ดสีอยู่ในระดับชั้นหนังแท้ ความเข้มจะค่อนข้างเข้มมากว่าด้วย
☀ ฝ้าตื้น เกิดจากความผิดปกติบริเวณชั้นหนังกำพร้า หรือผิวชั้นนอก มีลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาลเข้ม ขอบชัด มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ก็รักษาได้ง่ายเช่นกัน โดยใช้เวลารักษาไม่นานนัก
☀ ฝ้าลึก เกิดบริเวณชั้นหนังแท้ ผื่นสีน้ำตาลผสมสีเทาเข้ม ขอบไม่ชัดเจน เนื่องจากอยู่ในระดับที่ลึกมาก การรักษาจึงค่อนข้างยาก
☀ ฝ้าผสม คือ มีทั้งฝ้าตื้นและฝ้าลึก เกิดขึ้นที่ผิวหน้า เป็นชนิดที่พบมากที่สุดในผู้ที่ประสบปัญหาเรื่องฝ้า
การที่สีผิวของแต่ละคนต่างกันนั้น สาเหตุหลักคือ พันธุกรรม ซึ่งทำให้องค์ประกอบของเม็ดสีที่ชั้นผิวหนังต่างกันจึงทำให้มีสีผิวที่แตกต่างกัน โดยเกิดจากเม็ดสีเมลานินนั่นเอง และเมื่อถูกแสงแดดนานๆ ผิวจะคล้ำลง ซึ่งเป็นผลให้สีผิวเปลี่ยนแปลงได้ มีสาเหตุจากจำนวนเม็ดสีเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินต่างๆ
ในผิวหนังของเราที่ชั้นหนังกำพร้า จะมีเมลาโนไซต์ (Melanocyte) เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ซึ่งภายในเมลาโนไซต์จะมีสารเมลานินหรือเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ซึ่งชนิดของเม็ดสีเมลานิน มี 3 แบบ คือ
ยูเมลานิน (Eumelanin) เม็ดสีเมลานินชนิดนี้จะมีสีน้ำตาล ดำ พบมากในคนผิวคล้ำ
ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) มีเม็ดสีสีแดง หรือเหลือง ซึ่งพบมากในคนผิวขาวมากกว่า
แบบผสม (Mixed melanin) คือ มีเม็ดสีเมลานินทั้งสองชนิดผสมกัน
▶ รังสีUVและความร้อน รังสีUVจากแสงแดด โดยเฉพาะช่วง10.00-14.00 น. มักเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้ฝ้ากระเกิดขึ้นได้ เพราะจะไปกระตุ้นให้เมลานีนมีการสร้างเม็ดสีมากขึ้น และรวมไปถึงความร้อนจากการประกอบอาหารและแสงไฟด้วยที่เป็นตัวการให้เกิดฝ้า
▶ รังสีหรือความร้อนจากจอคอมพิวเตอร์ รังสีจากหน้าจอคอม ส่งผลรบกวนต่อผิวหน้า ทำให้เกิดความร้อนสะสม รบกวนเมลานีนหรือเม็ดสีผิว ทำให้เกิดฝ้าที่เด่นชัดขึ้น
▶ การตั้งครรภ์ ในช่วงตั้งครรภ์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ซึ่งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะสูงขึ้นโดยเฉพาะช่วงไตรมาส3ของการตั้งครรภ์ เมื่อคลอดบุตรแล้ว ฝ้าอาจจะค่อยๆจางลงใช้ระยะเวลาเป็นเดือนๆ ในรายที่เป็นมากอาจเหลือร่องรอยดำไว้บ้าง
▶ ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนเอสโตรเจนเมื่อมีในร่างกายระดับสูง ส่งผลไปกระตุ้นเซลล์สร้างสีเมลาโนไซท์ ทำให้เกิดฝ้าได้ ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถพบได้ในยาคุมกำเนิดหลายๆยี่ห้อ เพราะฮอร์โมนนี้เป็นกลไกสำคัญในการคุมกำเนิด คนที่ทานในระยะเวลา6เดือนเป็นต้นไป มักจะมีปัญหาเรื่องฝ้า ต้องคอยสังเกตว่าฝ้านั้นเกิดจากยาคุมกำเนิดหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นควรพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด
▶ เครื่องสำอาง ในเครื่องสำอางบางชนิดมีการเจือปนสารเคมีหรือสารอันตรายต่อผิวหน้า เกิดอาการแพ้ ระคายเคือง จนกระทั่งสะสมบนใบหน้า ทำให้ใบหน้ามีรอยด่างดำเกิดเป็นฝ้าได้
▶ ความเครียด เมื่อร่างกายเกิดความเครียด จะทำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระขึ้นมาในร่างกาย ซึ่งอนุมูลอิสระก็เป็นอีกตัวการหนึ่งที่มีส่วนไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีผิวทำงานผิดปกติ
▶ การพักผ่อน เมื่อพักผ่อนน้อย อดนอน นอนไม่พอ ทำให้การทำงานของต่อมเหงื่อลดลง จึงเกิดการขับของเสียลดลง เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้การขับของเสียทางปัสสาวะแทน ส่งผลให้ไตทำงานหนัก จากนั้นผิวพรรณอาจแย่ลง เกิดสิวฝ้าและกระตามมาได้
▶ การดื่มน้ำ การดื่มน้ำนอกจากจะคงสมดุลให้ร่างกายแล้ว ยังช่วยเป็นตัวกำจัดหรือขับสารพิษที่อาจตกค้างในร่างกาย และอาจก่อให้เกิดฝ้าได้ในอนาคต
การป้องกันการเกิดฝ้า
หน้าหมองคล้ำไม่กระจ่างใสอาจเป็นปัญหากวนใจที่มักเกิดขึ้นหลังผิวหน้าเผชิญกับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น แสงแดด หรืออากาศหนาว หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่นในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางชนิด การสูบบุหรี่ หรือความเครียด อย่างไรก็ตาม การดูแลผิวหน้าอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ทางการแพทย์ในปัจจุบันอาจช่วยแก้ไขปัญหาหน้าหมองคล้ำให้ผิวหน้ากลับมาขาวใสได้อีกครั้ง
แม้ฝ้าและกระบางชนิดจะไม่สามารถลบเลืหรือหายได้อย่างถาวรแต่คุณสามารถลดเลือนรอยฝ้าและกระได้โดยการ ใช้ครีมหรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของ AHA (Alpha Hydroxy Acid) สารสกัดจากผลไม้หลากชนิด AHA มีประสิทธิภาพในการช่วยลดเลือนจุดด่างดำบนผิวและกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว ช่วยให้เซลล์ผิวเก่าหลุดออกเปิดเนื้อที่ให้เซลล์ผิวใหม่ในผิวชั้นล่างขึ้นมาทดแทน ทำให้ฝ้า กระ และจุดด่างดำเลือนลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจะเลือกใช้ครีมรักษาฝ้า กระ ลบรอยดำดีๆ สักตัวนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะสุ่มสี่ สุ่มห้า เลือกใช้ตามคำเชื่อโฆษณาทั่วไปได้ เราต้องเลือกซื้อจากส่วนประกอบที่มีในครีมด้วย รวมถึงความปลอดภัยของครีมที่ใช้ ว่าจะไม่มีสารอันตรายเป็นส่วนประกอบอยู่ในครีมรักษาฝ้าที่เราเลือกใช้ ต้องให้ความสำคัญในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตราฐานและผ่านการรับรองจาก อย. พร้อมรักษาฝ้า กระ รอยดำ ให้จางลงอย่างปลอดภัย และพร้อมป้องกันฝ้าไม่ให้เกิดขึ้นใหม่ โดยมีเทคนิคการเลือกใช้ครีมดังนี้
▶ เลือกครีมที่มีสารอัลฟ่าอาร์บูติน จะช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน
▶ เลือกครีมแก้ฝ้าที่ไม่ให้ผลเร็วเกินไป เพราะการใช้ครีมแก้ฝ้าที่เห็นผลเร็วอาจมาจากสารอันตราย เช่น สารไฮโดรควิโนน ที่ทำให้หน้าบางลง และอาจทำให้ฝ้า กระ ฝังลึกจนหมดหนทางรักษาได้ค่ะ
▶ เลือกครีมแก้ฝ้าทีมีสารสกัด AHA จากกรดผลไม้ตามธรรมชาติ จะช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่า และช่วยทำให้ผิวหน้ากระจ่างใสขึ้นด้วยค่ะข้อสำคัญ ควรใช้ควบคู่กับครีมกันแดด ที่มีค่า SPF30 – 50 ขึ้นไป เพื่อป้องกันการเกิดฝ้ามากขึ้น
ฝ้า และ กระ มีสาเหตุการเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม แสงแดด หรือแม้แต่อายุที่เพิ่มมากขึ้น ฝ้า กระ จึงเป็นปัญหาผิวที่รักษาให้หายขาดได้ยากที่สุด เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีการดูแลรักษาฝ้าแบบไหนที่สามารถยับยั้งการเกิดฝ้า กระ ที่มีสาเหตุการเกิดจากพันธุกรรมได้ ทำได้เพียงแค่ลดเลือนให้จางลงเพียงเท่านั้น เราสามารถดูแลและป้องกันได้ในเบื้องต้น ด้วยการใช้ครีมหรือเซรั่มที่สามารถรักษา ปกป้องผิว เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้ฝ้า กระ กระลึกกลับมาอีก และใช้ครีมกันแดดเป็นประจำเมื่อต้องเผชิญแสงแดด
-ฝ้า กระ หลักสูตรเวชศาสตร์ ศ.ดร.นพ.ธัมม์ทิวัตถ์ นรารัตน์วันชัย สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
-ผิวขาวได้อย่างไร ดร.จักรพันธุ์ เนรังสี กลุ่มวิจัยอุตสาหกรรมเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2555
-Activation and Protection , ภก.วชิรุณ เตระโกศสพันธ์ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเภสัชกรรม วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2557
-Fitzpatrick TB, Ortonne JP. Chapter 88: Normal skin color and general considerations of pigmentary disorders. In: Freedberg IM, Eisen AZ,Wolff K, Austen KF, Goldsmith LA, Katz SI. Fitzpatrick’s Dermatology in General Medicine. Volume 1. 6th edition. USA: McGraw Hill.2003. p.819-826.
-Zhigang N.,Y. Mu and O. Gulati., “Treatment of Melasma with Pycnogenol” Phytotherapy Research.16(2001): 567-571-1
-Jara JR, Aroca P, Solano F, Martinez JH, Lozano JA. The role of sulfhydryl compounds in mammalian melanogenesis: the effect of cysteine and glutathione upon tyrosinase and the intermediates of the pathway. Biochimica et Biophysiaca Acta. 1988; 967: 296-303.
-Del Marmol V, Ito S, Bouchard B, Libert A, Wakamatsu K, Ghanem G et al. Cysteine deprivation promotes eumelanogenesis in human melanoma cells. J Invest Dermatol. 1996; 107: 698-702.
-Agrup G, Hansson C, Rorsman H, Rosengren E. The effect of cysteine on oxidation of tyrosine, dopa, and cysteinyldopas. Arch Dermatol Res.1982; 272: 103-115.
-Johnston CS, Meyer CG, Srilakshmi JC. Vitamin C elevates red blood cell glutathione in healthy adults. Am J Clin Nutr. 1993; 58: 103-5
-Zi SX, Ma HJ, Li Y, Liu W, Yang QQ, Zhao G et al. Oligomeric proanthocyanidins from grape seeds effectively inhibit ultravioletinduced melanogenesis of human melanocytes in vitro. International Journal of Molecular Medicine.2009;23:197-204.
-การปฏิบัติตนในการรักษาฝ้า กระ หรือรอยดำ รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง