365

WECARE

ริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoids) 


ท้องผูก เป็นริดสีดวง ทำยังไงดีนะ? enlightened


     ริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoid) เป็นโรคที่พบได้บ่อย มักพบติ่งเนื้อบริเวณขอบทวารหนัก เกิดจากเส้นเลือดที่บริเวณ ปากทวารหนักบวมหรือพองออกจากการออกแรงเบ่งในเวลาท้องผูกหรือเกิดท้องเดิน บางครั้งเส้นเลือดเกิดการยืดตัว ทำให้ ผนังเส้นเลือดบางลง โผล่หรือปูดออกมาสามารถมองเห็นหรือจับได้ส่งผลให้ปวด เจ็บ แสบบริเวณทวารหนักขณะถ่ายอุจจาระ และเส้นเลือดเหล่านี้อาจเกิดการปริแตกส่งผลให้เลือดออกขณะถ่ายอุจจาระหรือหลังถ่ายอุจจาระ อาการในระยะแรกมักเป็นๆ หายๆ ไม่รุนแรง หากมีการดำเนินโรคมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลานานหลายปีอาจมีการดำเนินโรคไปถึงระดับที่รุนแรง  


ลักษณะอาการ yes


 มีเลือดแดงสดหยดออกมาขณะเบ่งถ่ายอุจจาระหรือหลังถ่ายอุจจาระ 


 มีติ่งเนื้อยื่นออกมาบริเวณขอบทวารหนักส่งผลให้ปวด เจ็บ แสบบริเวณทวารหนักขณะถ่ายอุจจาระ ติ่งเนื้อเหล่านี้ อาจหดกลับได้เองหรืออาจต้องใช้นิ้วช่วยดันกลับหลังถ่ายอุจจาระเสร็จ  



ชนิดและความรุนแรงของโรคริดสีดวงทวาร 


     หากพบหัวริดสีดวงที่ผิวหนังตรงปากทวารหนัก จะเรียกว่า “ริดสีดวงภายนอก” (External Hemorrhoids) แต่ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดด าที่อยู่ลึกเข้าไปจะเรียกว่า “ริดสีดวงภายใน” (Internal Hemorrhoids) ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อใช้ กล้องส่องตรวจได้โดยตรง

 


สำหรับความรุนแรงสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้ 


 ขั้นที่ 1ริดสีดวงมีขนาดเล็กอยู่ภายในช่องทวารหนักเท่านั้น ไม่ยื่นออกมานอกขอบทวาร ซึ่งไม่สามารถมองเห็นจาก ด้านนอกหรือรู้สึกได้ 


 ขั้นที่ 2 : ริดสีดวงมีขนาดใหญ่ขึ้นและยื่นออกมาเมื่อมีการเบ่งหรือถ่ายอุจจาระ แต่สามารถหดกลับเข้าไปด้านในได้เอง หลังถ่ายเสร็จ 


 ขั้นที่ 3 : ริดสีดวงยื่นออกมาจากช่องทวารหนักเมื่อมีการเบ่งหรือถ่ายอุจจาระ อาจต้องใช้นิ้วช่วยดันกลับเข้า ช่องทวารหนักหลังเสร็จกิจ 


 ขั้นที่ 4 : ริดสีดวงยื่นออกมาจากทวารหนักมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และไม่สามารถดันกลับเข้าไปด้านในได้ สำหรับผู้ที่เป็นขั้น 3 หรือขั้น 4 ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาผ่าตัดต่อไป 



สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคริดสีดวงทวาร 


     สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคริดสีดวงทวาร คือ หลอดเลือดดำที่อยู่ใต้เยื่อเมือกและผิวหนังในบริเวณทวารหนัก เกิดการปูดพองเพราะมีภาวะความดันในหลอดเลือดดำสูงจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่


 การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ทำให้เกิดภาวะท้องผูกเรื้อรังและต้องเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำ การออกแรง เบ่งจะเพิ่มความดันทำให้หลอดเลือดปูดพองหรือหลอดเลือดขอดและอาจแตกออกทำให้เลือดไหลได้

 

 ท้องเดิน ท้องเสียเรื้อรัง ทำให้ต้องถ่ายอุจจาระบ่อยๆ เกิดแรงเบ่งบ่อยครั้งถึงจะไม่มากแต่ก็จะเป็นการเพิ่มความดัน  ทำให้เกิดการอักเสบต่อหลอดเลือดได้เช่นกัน 


 การนั่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน จากการเล่นโทรศัพท์มือถือหรืออ่านหนังสือในขณะขับถ่ายอุจจาระ รวมถึงการนั่ง แช่ การยืนหรือเดินเป็นเวลานานๆ เพราะจะทำให้เกิดการกดทับของหลอดเลือด เป็นการเพิ่มความดันทำให้เกิดการอักเสบต่อกลุ่มเนื้อเยื่อของหลอดเลือด 


 การใช้ยาสวนอุจจาระ หรือยาระบายอย่างพร่ำเพรื่อเพราะเป็นการเพิ่มแรงดันของหลอดเลือดบริเวณทวารหนัก

 

 การกระทำที่มีผลเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น ไอเรื้อรัง ยกของหนัก  


 ภาวะตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักของครรภ์จะกดทับลงบนกลุ่มเนื้อเยื่อของหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลกลับหัวใจได้ลดลง จึงเกิดการคั่งอยู่ในหลอดเลือดและเกิดหลอดเลือดบวมพองตามมา 


 น้ำหนักตัวมาก (โรคอ้วน)  มีผลให้แรงดันในช่องท้องและในอุ้งเชิงกรานเพิ่มสูงขึ้น เลือดจึงคั่งในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอด เลือดได้เช่นเดียวกับสตรีตั้งครรภ์ 


 อายุมาก (ผู้สูงอายุ) ผู้สูงอายุมักจะมีการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งความเสื่อมของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด จึงทำให้หลอดเลือดโป่งพองได้ง่ายกว่าปกติ 


 การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เพราะจะทำให้เกิดการกดเบียดทับหรือเกิดการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด ส่วนนี้อย่างเรื้อรัง มีผลทำให้เลือดไปคั่งอยู่ในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดโป่งพองได้ง่าย 


 โรคหรือภาวะผิดปกติแต่กำเนิดที่ไม่มีลิ้นปิดเปิด ในหลอดเลือดดำในเนื้อเยื่อหลอดเลือดซึ่งช่วยในการ ไหลเวียนเลือด มีผลทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งอยู่ภายในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดโป่งพองได้ง่าย

 พันธุกรรม โดยพบว่าผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นริดสีดวงทวารหนัก จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป 


     นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาแล้ว ริดสีดวงทวารยังอาจพบร่วมกับโรคในช่องท้องอื่น ๆ ได้ เช่น ก้อนเนื้องอกในท้อง เช่น เนื้องอกมดลูก เนื้องอกหรือถุงน้ำรังไข่, มะเร็งลำไส้ใหญ่ ถ้าพบว่ามีเลือดออกนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือพบในคนที่มีอายุมากกว่า 40  ปี ควรแนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อความแน่ใจ, ต่อมลูกหมากโต, ตับแข็งเพราะทำให้มีภาวะความดันในหลอดเลือดดำ ตับสูง ซึ่งส่งผลกระทบมาที่หลอดเลือดดำที่ทวารหนัก 



การรักษาและการปฏิบัติตัวสำหรับผู้เป็นโรคริดสีดวงทวาร enlightened 


 ระดับทั่วไปซึ่งอาการไม่รุนแรงมาก โดยปกติจะอยู่ในขั้นที่ 1 หรือขั้นที่ 2 การรักษาจะเน้นใช้ยาร่วมกับการปรับ พฤติกรรมร่วมกัน ได้แก่ 


      ปรับพฤติกรรมจากสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคริดสีดวงทวาร เช่น การทานผัก ผลไม้มากขึ้น ดื่มน้ำระหว่างวันให้มากขึ้นเฉลี่ยวันละ 8 แก้วต่อวัน ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่นั่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน หรือนั่งแช่ ลดการใช้ยาสวนอุจจาระหรือยาระบายอย่างพร่ำเพรื่อ ลดน้ำหนัก เป็นต้น


      การใช้ยาเช่น ยารับประทาน, ยาขี้ผึ้งทา, ยาสอด ซึ่งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

     
     
 ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการ 


      การนั่งบนห่วงยางเล็ก 


      การแช่ด่างทับทิม 


 ระดับรุนแรงซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนรักษา เหมาะสําหรับความรุนแรงขั้นที่ 3 หรือขั้นที่ 4 เช่นการผ่าตัด การรัด ด้วยหนังยาง การใช้เลเซอร์หรือจี้ด้วยรังสี 

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น