365

WECARE

ตับอักเสบ (Hepatitis)


     ตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะที่เซลล์ตับถูกทาลาย ส่งผลให้การทาหน้าที่ของตับบกพร่อง ร่างกายทางานผิดปกติ ตับอักเสบอาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากสาเหตุเดียวหรือหลายสาเหตุรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อไวรัส ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี หรือ อี รวมถึงการได้รับสารพิษเช่น แอลกอฮอล์ และทานยาบางชนิดเป็นประจาเช่น เมทิลโดปา (methyldopa) ไอโซไนอาซิด (isoniazid) หรือเกิดจากความผิดปกติของตับเช่น ไขมันพอกตับ เป็นต้น

 

สาเหตุของโรคตับอักเสบ


     สาเหตุหลัก ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะทางน้าลาย ทางเลือดและสารคัดหลั่ง รองลงมาได้แก่การได้รับสารพิษ (toxic agents) เช่น สารเคมีบางชนิด ยารักษาโรค การติดสุรา นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคอ้วนอาจทาให้เกิดไขมันพอกตับ กลุ่มอาการทางเมตาบอลิค (metabolic syndrome) โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องและจะเป็นตับอักเสบเรื้อรังหากตับมีการอักเสบเกินกว่า 6 เดือน จากการเกิดการอักเสบเรื้อรังทาให้เกิดเป็นพังผืดในบริเวณตับและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้ในอนาคต


อาการของโรคตับอักเสบ


แบ่งเป็นอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง

 

 


โรคไวรัสตับอักเสบ


     เพื่อทราบถึงชนิดของไวรัส ต้องดูจากผลตรวจเลือดเท่านั้น เนื่องจากอาการโดยทั่วไปจะมีความคล้ายคลึงกัน


      โรคไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A Virus, HAV) ส่วนใหญ่เกิดจากการรับเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น การทานอาหาร ผักสด ผลไม้ น้าดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อนี้หรือทาไม่สุก ไม่สะอาด ไม่ต้มเดือด เป็นต้น ความรุนแรงของอาการมักเพิ่มขึ้นตามอายุ บางรายอาจไม่แสดงอาการ มีอาการนาเช่นอ่อนเพลียเบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัวและส่วนใหญ่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางรายอาจพบอาการท้องเสีย อาเจียนได้ หรือมีอาการคล้ายไข้หวัด บางรายมีผื่นแดงหรือจุดเลือดออกหรือผื่นลมพิษได้ ตามมาด้วยอาการตัวเหลืองตาเหลือง เป็นการป่วยระยะสั้น ส่วนใหญ่ไม่จาเป็นต้องรักษาด้วยวิธีเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ผู้ป่วยที่ท้องเสียหรืออาเจียน ควรปฏิบัติตามคาสั่งแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้าและขาดสารอาหาร ในปัจจุบันมีการรักษาโดยให้สารอิมมูโนโกลบูลินและการฉีดวัคซีนป้องกัน

 

      ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus, HBV) เป็นไวรัสที่พบมากที่สุดทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการโดยเฉพาะในเด็ก ส่วนใหญ่หายได้เองและพบผู้ป่วยบางส่วนกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง เป็นพาหะของโรคในระยะยาวอาจมีภาวะตับแข็ง เป็นมะเร็งตับได้ พบเชื้อได้ในน้าเลือด สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้าอสุจิ น้าในช่องคลอด น้าลาย น้าตา น้านม เป็นต้น ทาให้มีโอกาสแพร่ เชื้อได้หลายทางเช่นการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน การจูบ การใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าเส้นร่วมกัน การฝังเข็ม การสัก การเจาะหูที่ไม่สะอาด การใช้ใบมีดโกน แปรงสีฟัน ร่วมกัน การสัมผัสบาดแผล เป็นต้น หากเป็นชนิดเฉียบพลันอาจมีการรักษาเฉพาะ แต่ชนิดเรื้อรังอาจต้องได้รับยาต้านเชื้อไวรัสหรือยาอื่นๆ ต้องพบแพทย์เพื่อประเมินการรักษาเป็นประจา และประเมินการตอบสนองของไวรัส ซึ่งอาจต้องใช้เวลารักษาต่อเนื่องนานหลายเดือนหรือเป็นปี ในปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเช่นกัน

 

      ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus, HCV) อาจต้องได้รับยาต้านไวรัส ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังอาจต้องรักษาด้วยการผสมยาต้านไวรัสหลายชนิดและอาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนตับสาหรับผู้ที่ตับอักเสบติดเชื้อเรื้อรังหรือเป็นโรคตับแข็ง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน การจูบ การใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าเส้นร่วมกัน


      ไวรัสตับอักเสบดี (Hepatitis D Virus, HDV) ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบ ดี เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี พบเชื้อนี้ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทางติดต่อเช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบบีและซี


      ไวรัสตับอักเสบอี (Hepatitis E Virus, HEV) ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสาหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อี เนื่องจากเป็นการติดเชื้อที่ค่อนข้างเฉียบพลันและหายเองได้ แพทย์อาจแนะนาให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ามากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อี ที่กาลังตั้งครรภ์ จาเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด


ภาวะตับอักเสบเรื้อรัง


     ภาวะตับอักเสบเรื้อรังทาให้เกิดอนุมูลอิสระ ทาให้เกิดเป็นพังผืดเกาะตับ ตับแข็งและมะเร็งในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่ต้องคานึงในการให้การดูแลผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังได้แก่ การลดการเกิดอนุมูลอิสระและการกาจัดสารพิษจากตับ เพื่อทาให้เซลล์ตับสามารถทางานได้ตามปกติ โดยแบ่งการกาจัดสารพิษจากตับเป็น 2 ระยะ ได้แก่

 

  1.      ระยะที่ 1 ระยะนี้ตับอาศัยเอนไซม์หลายตัวจับสารพิษออกมาจากเลือดและขับออกนอกร่างกาย ในระยะนี้สารพิษจะกลายเป็นพิษมากขึ้น เป็นทั้งอนุมูลอิสระที่พร้อมจะทาลายเซลล์ตับ เป็นทั้งสารก่อมะเร็งที่พร้อมจะทาอันตรายเนื้อเยื่อส่วนอื่นของร่างกาย กระบวนการทั้งหมดจะต้องเกิดต่อเนื่องไปจนถึงระยะที่ 2 จึงจะเป็นการล้างพิษที่แท้จริง

 

  1.      ระยะที่ 2 เป็นการจับคู่สารพิษเข้ากับสารที่จะทาให้เกิดการสะเทินพิษ เพื่อทาให้พิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหมดไป พร้อมๆ กับทาให้มันละลายน้าได้มากขึ้น พร้อมที่จะขับทิ้งออกนอกร่างกายทางไตและทางท่อน้าดี ศัพท์ทางการแพทย์เรียกกระบวนการนี้ว่า คอนจูเกชั่น (conjugation) จาเป็นที่ร่างกายจะต้องได้รับสารอาหารประเภทสารประกอบกลูตาไทโอน

ไลโมนีน ซีสเตอีน กรดเบนโซอิก วิตามินบีรวม แมกเนเซียม เซเลเนียม และสังกะสี เพื่อกระตุ้นการทางานขับสารพิษของตับในระยะที่ 2 เพื่อทาให้การล้างพิษสมบูรณ์


การป้องกันและรักษาสุขภาพจากภาวะตับอักเสบ

 

     enlightened รักษาสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาด ไม่ใช้เข็มฉีดยา มีดโกน แปรงสีฟัน แก้วน้า ช้อนส้อมและของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ร่วมกัน ไม่สัมผัสเลือดหรือของเหลวจากผู้ที่ติดเชื้อ หลีกเลี่ยงแหล่งน้าที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส


     enlightened ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ เช่น การสวมถุงยางอนามัยจะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ด้วย


     enlightened รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม โดยเน้นบริโภคอาหารจาพวกผัก ผลไม้ โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือหรือน้าตาลในปริมาณมากและอาหารไขมันสูง เพื่อป้องกันการสะสมของไขมันในตับ รวมทั้งอาหารปรุงสุก ดื่มน้าต้มหรือน้าสะอาด


     enlightened การฉีดวัคซีน จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบีได้ โดยปกติเด็กจะได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ อาจต้องตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันก่อนรับวัคซีน

 

     enlightened ลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ตับได้พักจากการทางานหนัก และป้องกันความเสี่ยงการเกิดตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์


     enlightened ตรวจสุขภาพประจาปี เพื่อติดตามการทางานของตับและสามารถรักษาได้ทันท่วงที


     enlightened​​​​​​​ ใช้ยาตามที่แพทย์กาหนด ควรปฏิบัติตามคาสั่งแพทย์ทุกครั้งในการใช้ยา ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หากอยู่ระหว่างการรับประทานยารักษาโรค และควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง หากเป็นโรคตับหรือกาลังใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง


     enlightened​​​​​​​ เลือกอาหารเสริมอย่างรอบคอบและระมัดระวัง หากต้องการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรวมทั้งศึกษาหาความรู้เสมอก่อนใช้ เนื่องจากยา อาหารเสริม หรือแม้กระทั่งสมุนไพร อาจส่งผลต่อตับได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

 

  1. Rakel, D. (2017). Integrative Medicine. [E-Book]. 4th Edition
  2. Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) Nutritional and Supplemental Support. ไม่ระบุปีที่พิมพ์. สืบค้น    เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 61 , จาก http://www.lifeextension.com/

 

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น