365

WECARE

จอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) 

 

 

     จอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) คือภาวะเรื้อรังที่นาไปสู่การสูญเสียการมองเห็นมีสาเหตุจากการเสื่อมในส่วนกลางของจอประสาทตาซึ่งเป็นบริเวณที่รับภาพได้ชัดเจน พบได้มากเมื่ออายุมากขึ้นโดยช่วงแรกจะไม่แสดงอาการใดๆปรากฏให้เห็นและการดาเนินของโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ จึงแนะนาให้บุคคลที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ โรคอ้วน แสงแดด การที่
ร่างกายขาดสารอาหาร เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี สังกะสี ลูทีน กรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 และปัจจัยทางพันธุกรรม 

 

จอประสาทตาเสื่อมมีกี่ประเภท 

 

จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง (dry macular degeneration) มีลักษณะของจอประสาทตาที่บางลง บริเวณศูนย์กลางจอประสาทตาเริ่มเสื่อมลง ตรวจพบว่ามีจุดสีเหลืองบริเวณจอรับภาพตรงกลางของจอประสาทตา ที่ชื่อว่า drusen อยู่ใต้ผนังชั้นนอกสุดของจอ สามารถทาลายเซลล์รับแสงได้ มักไม่แสดงอาการของโรคปรากฏให้เห็น อาจส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงอย่างช้าๆ เห็นภาพบิดเบี้ยว มองภาพไม่ชัด ต้องใช้แสงในการมองมากกว่าปกติและอาจมีการดาเนินของโรคไปเป็นจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกได้ 


จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (wet macular degeneration) พบในผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม 10-15% การดาเนินของโรคจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว อาจทาให้สูญเสียความสามารถในการมองเห็นอย่างเฉียบพลันและรุนแรง เป็นสาเหตุสาคัญที่ทาให้ตาบอด พบว่าเกิดจากการที่เซลล์จประสาทตาเสื่อม บางลงและมีหลอดเลือดผิดปกติที่งอกขึ้นใหม่ในผนังลูกตาชั้นกลาง ส่งผลให้ของเหลวในหลอดเลือดรั่วไหลไปโดนจุดรับภาพ ทาให้ผู้ป่วยมีการมองเห็นภาพบิดเบี้ยวไป หรือเกิดจุดทึบกลางภาพที่มองเห็นส่งผลให้เห็นเป็นเงาดาบริเวณกึ่งกลางภาพที่มองเห็น 


อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม 

 

อาการจอประสาทเสื่อมชนิดแห้ง อาการในช่วงแรก ผู้ป่วยอาจมองเห็นภาพเบลอและจุดดำหรือจุดบอดตรงกลางภาพ เมื่อเวลาผ่านไป จุดดำในภาพจะเริ่มขยายใหญ่ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้อ่านหนังสือลำบากหรือมองเห็นรายละเอียดไม่ชัด

อาการจอประสาทเสื่อมชนิดเปียก ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพบิดเบี้ยว พร่ามัว เห็นจุดดำขนาดใหญ่ในภาพซึ่งเป็นผลมาจากการที่เลือดไหลไปอยู่ในจุดรับภาพ

อาการโดยทั่วไปที่เหมือนกันของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้ง 2 ประเภท มีดังนี้

          มองภาพบิดเบี้ยว

          ▶ มองในที่สว่างไม่ชัด หรือแพ้แสง

          ▶ ปรับสายตาจากการมองเห็นในที่มืดมาที่สว่างไม่ค่อยได้

           สูญเสียความสามารถในการมองเห็น ตามัว มีจุดดำหรือเงาบังอยู่ตรงกลางภาพ

          ▶ เห็นสีผิดเพี้ยน

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อม 

 

  อายุที่มากขึ้น สามารถพบได้ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป 


  ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ควรได้รับการตรวจเช็คจอประสาทตาทุก 1 ปี 


  การสูบบุหรี่ จึงควรงดหรือเลิกสูบบุหรี่ 


  ความเครียด 


  มองหน้าจอโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ควรทานลูทีน (lutein) หรือซีแซนธิน (zeaxanthin) เสริมควบคู่กับการสวมแว่นกรองแสงสีฟ้าขณะใช้อุปกรณ์ 


  การอักเสบหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา 


  ภาวะความดันโลหิตสูง รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตและมีระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง 


  ระดับแคโรทีนอยด์ในเลือดต่า มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก 


  วัยหมดประจาเดือน ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจาเดือนและไม่ได้รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจน มักมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคนี้ 

 

การรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม

     yes การรักษาจอประสาทเสื่อมชนิดแห้ง

              ติดตามการรักษาตามแพทย์นัดเพื่อประเมินอาการและความผิดปกติขอจอประสาทตา

             ▶ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

              หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต

              รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และพบว่าอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี สังกะสี และลูทีน (Lutein) อาจช่วยชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาได้

             ▶ การรักษาด้วยเลเซอร์อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย

     yes การรักษาจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก

              การใช้ยาประเภทยับยั้งการสร้างหลอดเลือดจำพวก เบวาซิซูแมบ อะฟลิเบอร์เสบ แรนิบิซูแมบ ยาอาวาสติน (Avastin) ยาอายลี ยาลูเซนทิส ยามาคูเจน เป็นต้น

             ​​​​​​​ การรักษาด้วยโฟโตไดนามิก เป็นการรักษา 2 ขั้นตอนโดยใช้ยาไวต่อแสงไปทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติ โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อให้ซึมบริเวณที่หลอดเลือดมีความผิดปกติของดวงตา แล้วจึงฉายแสงเลเซอร์เย็นเข้าไปในตาเพื่อกระตุ้นยาให้ทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติอีกทีหนึ่ง

             ​​​​​​​​​​​​​​ การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอาเส้นเลือดเกิดใหม่ออกมา


 การใช้ลูทีนและซีแซนทีนในการป้องกันหรือชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม 

     ลูทีน (lutein) และซีแซนธิน (zeaxanthin) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ซึ่งเป็นรงควัตถุที่มีสีเหลือง ส้ม แดง มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เสริมฤทธิ์ของวิตามินซีและวิตามินอี ยังพบสารเหล่านี้ในจอประสาทตามากที่สุดบริเวณโฟเวีย (Fovea) ซึ่งเป็นบริเวณที่รับภาพได้ชัดเจนที่สุด รงควัตถุเหล่านี้ทาหน้าที่ในการกรองแสงโดยสามารถกรองแสงได้ครอบคลุมหลาความยาวคลื่น โดยเฉพาะแสงสีฟ้าที่มีพลังงานสูงส่งผลต่อจอประสาทตามากที่สุด ซึ่งพบได้บ่อยจากแสงหน้าจอโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตและหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ให้รับประทานอาหารเสริมที่มีปริมาณลูทีน 10 มิลลิกรัมและซีแซนธิน 1 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ เป็นเวลา 6 เดือน พบว่ามีการสะสมของรงควัตถุในประสาทตามากขึ้นและผลการทดสอบการมองเห็นมีแนวโน้มที่ดีขึ้น 

 

 

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น