ไม้เท้าและอุปกรณ์ค้ำ (Canes&Crutches) ไม้ค้ำยัน (Crutches) คือ อุปกรณ์ช่วยเดินที่ต้องถือด้วยมือทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นผู้ที่จะใช้ไม้ค้ำยันต้องใช้พลังงานค่อนข้างมาก จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีกำลังแขนที่ดีทั้ง 2 ข้าง และไม่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย ไม้เท้า (Canes/Walker Stick) คือ อุปกรณ์ช่วยเดินที่ช่วยรับน้ำหนักตัวบางส่วน และช่วยเพิ่มความมั่นคงในการเคลื่อนไหว เหมาะที่จะใช้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือปวดสะโพก ผู้ที่มีปัญหาการอ่อนแรงโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องกระดูกหัก เนื่องจากช่วยรองรับน้ำหนักตัวได้ไม่เพียงพอควรใช้เป็นไม้ค้ำยันแทน
การเลือกอุปกรณ์ช่วยเดิน สิ่งที่ควรพิจารณาข้อแรก คือ ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย และสูงอายุ
☀ ไม้เท้า (Cane/Walker Stick) : เหมาะกับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุยังสามารถเดินได้ด้วยตนเองอยู่บ้าง หรือมีปัญหาในการเดินชั่วคราว เช่น ผู้ป่วยขาหัก ขาพลิก การใช้ไม้เท้าจะช่วยในเรื่องของการทุ่นแรง และช่วยพยุงเดิน ทรงตัวขณะเดิน
☀ รถเข็นช่วยเดิน (Wheeled walker/Rollator) : เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่มีแรงพอจะเดินเองได้ และใช้ไม้เท้าไม่สะดวก
☀ รถเข็นวีลแชร์ (Wheelchair) : เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินเองได้ แต่ในบางกรณีผู้สูงอายุที่ยังเดินได้ก็ใช้รถเข็นวีลแชร์เพื่อความสะดวกในการเดินทาง
นอกจากนี้ควรคำนึงถึงลักษณะความผิดปกติ ระดับการรับรู้ สมรรถภาพทางกาย สภาวะแวดล้อม ความสามารถในการตัดสินใจ การมองเห็น และความแข็งแรงของร่างกายส่วนบน
☀ ไม้เท้า (Cane/Walker Stick) คือ อุปกรณ์ช่วยเดินที่ช่วยรับน้ำหนักตัวบางส่วน และช่วยเพิ่มความมั่นคงในการเคลื่อนไหว เหมาะที่จะใช้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือปวดสะโพก ผู้ที่มีปัญหาการอ่อนแรงโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องกระดูกหัก เนื่องจากช่วยรองรับน้ำหนักตัวได้ไม่เพียงพอควรใช้เป็นไม้ค้ำยันแทน
☀ ไม้ค้ำยัน (Crutches) คือ อุปกรณ์ช่วยเดินที่ต้องถือด้วยมือทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นผู้ที่จะใช้ไม้ค้ำยันต้องใช้พลังงานค่อนข้างมาก จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีกำลังแขนที่ดีทั้ง 2 ข้าง และไม่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย
1.) ไม้เท้ารูปตัวที (T)
เป็นไม้เท้าแบบมาตรฐาน ลักษณะฐานเป็นแบบขาเดียว ใช้พื้นที่ในการเดินน้อย นิยมใช้ในผู้สูงอายุทั่วไป มีทั้งแบบธรรมดา ปรับระดับความสูงได้ หรือพับได้ ใช้เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมการทรงท่า แต่ลักษณะของที่จับของไม้เท้าประเภทนี้ ทำให้การลงน้ำหนักผ่านแขนไม่อยู่ในแนวของไม้เท้า จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในผู้ที่ต้องการใช้แขนช่วยรับน้ำหนักตัวแทนขา
2.) ไม้เท้า 3 ขา / ไม้เท้า 4 ขา (Tripod Cane / Quad Cane)
เป็นไม้เท้าที่มีขาตั้งแยกเป็น 3-4 ขา ฐานรับน้ำหนักกว้างขึ้นช่วยให้ผู้ใช้สามารถลงน้ำหนักที่แขนได้มากขึ้นจึงมีความมั่นคงมากกว่าไม้เท้ารูปตัวที ผู้ใช้สามารถปล่อยมือจากไม้เท้า เพื่อหยิบจับสิ่งของโดยที่ไม้เท้ายังตั้งอยู่ได้ แต่มีข้อจำกัดเพราะเหมาะกับการใช้บนพื้นราบ และฐานที่กว้างขึ้นอาจมีผลทำให้ไม้เท้ามีน้ำหนักมากขึ้นและไม่คล่องตัวเท่ากับไม้เท้าแบบรูปตัวที
3.) ไม้ค้ำยันรักแร้ (Axillary crutches)
เป็นไม้เท้าที่ค้ำใต้รักแร้ ต้องใช้เป็นคู่ สามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 80% ใช้พลังงานในการเดินมากพอสมควร และใช้พื้นที่ในการเดินมาก หากไม้ค้ำยันมีความสูงมากเกินไป อาจกดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณรักแร้ได้
4.) ไม้ค้ำยันศอก (Lofstrand crutches / Forearm crutches)
มีมือจับและที่ค้ำศอกเพื่อรับน้ำหนักตัว ใช้ในผู้ที่ไม่มีแรงมากพอจะจับไม้เท้าให้แน่นจึงใช้แขนช่วยพยุงตัว สามารถปล่อยมือเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆได้โดยที่ไม้ไม่ล้ม เหมาะกับผู้ที่สามารถทรงตัวได้ค่อนข้างดีเพราะมีรูปร่างและขนาดเล็กกว่าไม้ค้ำยันรักแร้จึงรองรับน้ำหนักได้เพียง 40-50%
5.) ไม้เท้าหัดเดิน / วอร์คเกอร์แบบไม่มีล้อ (Walker)
ไม้เท้าแบบ 4 ขา คล้ายเก้าอี้ มีมือจับ 2 ตำแหน่ง ใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินหรือยืน มีความมั่นคงมากที่สุด เนื่องจากมีฐานการรองรับน้ำหนักที่กว้าง น้ำหนักเบาและเดินได้ง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาการทรงตัวไม่ดี ข้อเสียของ Walker คือ มีขนาดใหญ่เทอะทะ การเดินไม่เป็นไปตามปกติ เนื่องจากแขนไม่ได้มีการแกว่ง และไม่สามารถขึ้นลงบันไดได้
การใช้ไม้เท้าที่ความสูงไม่เหมาะสม จะทำให้เหนื่อยกว่าเดิม และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง