ไตทำหน้าที่กรองของเสียและขับปัสสาวะ เพื่อกำจัดน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการผ่านทางท่อไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ นอกเหนือจากหน้าที่กำจัดของเสียแล้ว ไตยังมีหน้าที่ปรับสมดุลของน้ำและสารเคมี สร้างฮอร์โมนที่ช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดง และควบคุมความดันโลหิต เมื่อเกิดภาวะไตวายจะทำให้ของเสียคั่งในร่างกายเกิดภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่และน้ำในร่างกาย จนร่างกายไม่สามารถทนได้ ต้องบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไต ผู้ป่วยควรพบแพทย์และใช้หลักการของอาหารบำบัดที่เหมาะสม
การล้างไตทางช่องท้อง
เป็นวิธีที่อาศัยเยื่อบุช่องท้องช่วยกรองของเสียออกจากร่างกาย โดยการใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องทางสายพลาสติก ที่แพทย์ได้ทำผ่าตัดฝังไว้ในช่องท้อง ทิ้งน้ำยาไว้ในช่องท้องประมาณ 4-6 ชั่วโมง จากนั้นก็ปล่อยน้ำยาออกจากช่องท้องทิ้งไป โดยทั่วไปจะทำการเปลี่ยนน้ำยาวันละ 4 ครั้ง แต่การล้างไตด้วยวิธีนี้ทำให้มีการสูญเสียโปรตีนจำนวนมากออกมาทางน้ำยาในแต่ละวัน และได้รับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติ (จากน้ำยาล้างท้องที่มีน้ำตาลสูง โดยอาจจะมีกลูโคสถูกดูดซึมเข้าไปได้ถึง 500 กรัม/วัน ) จะทำให้มีการผลิตไตรกลีเซอไรด์จากตับมากขึ้น ทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน เกิดไขมันในเลือดสูงได้ ดังนั้นผู้ป่วยอาจเกิดภาวะขาดอาหารได้ถ้ากินอาหารไม่เพียงพอ และเนื่องจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) เพื่อลดการคั่งของน้ำและของเสีย ในระหว่างการฟอกเลือดจะทำให้สูญเสียโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะโปรตีน ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตอย่างถูกวิธี เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
การล้างไต จะช่วยปรับสารน้ำ และอิเล็กโตรไลท์เกลือแร่ให้ปกติได้และอาการ uremic จะดีขึ้น แต่รอยโรคเดิมยังรุนแรงอยู่นั่น คือแผลยังหายช้า , ติดเชื้อแรงอยู่ และเป็นสาเหตุการตายได้ การให้อาหารจะช่วยปรับสภาพโภชนาการให้รอระยะเวลาจนภาวะไตวายเฉียบพลันดีขึ้น การล้างไตจะขับของเสียออกและช่วยให้การให้อาหารได้สมบูรณ์ล้างไตอาจทำโดย ฟอกเลือด ใช้น้ำล้างทาง ช่องท้อง (ล้างไต) หรือล้างตลอดเวลาโดยวิธี CRRT (continuous renal replacement therapy) หรือ CVVHD (continuous venovenous hemodiafiltration) CRRT ทำตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน คนไข้ที่ไม่สามารถฟอกเลือดได้ ใช้ในผู้ป่วยหนัก
ผู้ป่วยที่ล้างไต มักจะต้องได้รับโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสม กับช่วงระยะของอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ซึ่งการรับประทานโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสมนั้น จะช่วยทำให้ลดอัตราการเจ็บป่วย ตลอดจนกระทั่งลดอาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาหารสำหรับผู้ป่วยจะถูกจำกัดสารอาหารต่างๆตามระยะของโรค
อาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยล้างไต จะต้องจำกัดอิเล็กโทรไลต์และควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1 – 3 ต้องจำกัดโปรตีน ไขมัน น้ำตาล และเกลือ
ผู้ป่วยอาจจะรับประทานอาหารโปรด ตามใจผู้ป่วยได้บ้างแต่ต้องไม่มาก เพราะจำเป็นจะต้องควบคุมอาหารต่อไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะทำการล้างไตแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำให้การทำงานของไตกลับมาเป็นเช่นเดิมได้ทั้งหมด
• อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตจากการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สามารถทำได้ในช่วงเวลา 8 – 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สามารถกำจัดของเสียได้เพียง 6 – 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
• อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตจากการล้างไตทางด้านหน้าท้อง ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน สามารถทำได้ทุกวัน วิธีนี้จะสามารถกำจัดของเสียได้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ของไตปกติ
โรคไต ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเบื่ออาหาร
การจำกัดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต ส่งผลทำให้เหลือแต่เมนูอาหารรสจืด และ มีเมนูอาหารน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยเบื่อที่จะรับประทานอาหาร และอยู่ในสภาวะเครียด
มีการสูญเสียสารอาหารต่าง ๆ ไปกับการบำบัดไต โดยเฉพาะโปรตีน
ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อ จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียโปรตีนมากยิ่งขึ้น
1. พลังงาน ผู้ป่วยจะต้องได้รับพลังงานขึ้นให้เทียบเท่ากับกิจกรรมที่ทำอยู่
2. โปรตีน หากไตใหม่สามารถทำงานได้ดี ควรบริโภคโปรตีนอย่างน้อย 1.3 – 2.0 กรัม และควรจำกัดโปรตีนตามระดับของไตวาย
3. คาร์โบไฮเดรต ต้องมีการจำกัดน้อยลงกว่าปกติ
4. ไขมัน ควรจำกัดให้น้อยลง หากมีไขมันสูง จะส่งผลต่อหลอดเลือดและหัวใจ
5. เกลือโซเดียม ควรจำกัดอย่างมาก อย่างน้อยจะต้องไม่เกิน 2 กรัมต่อวันเท่านั้น เพื่อรักษาระดับความดันโลหิต และไม่ให้เกิดภาวะบวมมากขึ้น
6. แคลเซียมและฟอสฟอรัส ระวังอย่าให้ร่างกายขาดแคลเซียมเป็นอันขาด อัตราส่วนควรเป็นไปในรูปแบบ 1 : 1 เท่านั้น
7. วิตามินดี อาจจะต้องเสริมเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยที่ต้องนอนพักหลายสัปดาห์
ทั้งหมดนี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง และ ผู้ป่วยโรคไตวายระยะต่าง ๆ ต้องทำการจำกัด และควบคุมเป็นพิเศษ เพื่อที่จะสามารถทำให้ร่างกายได้รับสารอาหาร พร้อมทั้งปริมาณน้ำที่เหมาะสม มีความสมดุลต่อร่างกาย ทั้งผู้ป่วยและญาติควรศึกษาและทำความเข้าใจ พร้อมทั้งควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย และ เพื่อเป็นการยืดอายุไตเอาไว้อย่างสูงสุดนั่นเอง
1.สิริพันธุ์ จุลกรังคะ, โภชนศาสตร์เบื้องต้น, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550 2.เนตรนภิส ธีระวัลย์ชัย, โภชนาการ บทที่23 โภชนาการ 1002 – 1042, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.งานโภชนศาสตร์คลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, โภชนศาสตร์ทางคลินิก ปี2551 4.รายงานคณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารประจำวันที่ร่างกายควรได้รับของประชาชนไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข พ.ศ.2532. 5.เจริญศรี มังกรกาญจน์. โภชนาการ ใน: ดารณี ชุมนุมศิริวัฒน์, สมทรง เลขะกุล, บรรณาธิการ. ชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เล่ม2. กรุงเทพฯ: บริษัทพรประเสริฐ พริ้นติ้ง จำกัด, 2536. 6.วรนันท์ ศุภพิพัฒน์. อาหาร โภชนาการและสารเป็นพิษ. กรุงเทพฯ: แสงการพิมพ์, 2538. 7.Nutrition in Clinical Medicine,สาขาโภชนศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่1 ตุลาคม 2553 : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร 8.Cohn RM, Roth KS. Biochemistry and disease. Baltimore: Williams & Wilkins, 1996. 9.Linder MC. Nutritional biochemistry and metabolism with clinical application. 2nd ed. New Jersey : Prentice-Hall International Inc., 1991. 10.Mahan LK, Escott-Stump S. Krause’s food, nutrition & diet therapy. 9th ed. Philadelphia : W.B0Saunders Company, 1996
2.ฐายิกา คุณงาม นักศึกษา สาขาอาหารและโภชนาการเพื่อการพัฒนา กลุ่มวิชาโภชนาการเพื่อการป้องกันและบำบัด สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล , การประเมินการบริโภคอาหารในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างช่องท้องถาวร โดยใช้แบบประเมินการบริโภคอย่างง่าย (อีดีเอ) THE ASSESSMENT OF DIETARY INTAKE AMONG CONTINUOUS AMBULATORY PERITONEAL DIALYSIS PATIENTS USING EASY DIETARY ASSESSMENT (EDA) , ชนิดา ปโชติการและ สุนาฏ เตชางาม (2554). EDA : การประเมินอาหารที่บริโภคอยา่ งง่าย(Easy Dietary Assessment) ใน สุนาฏ เตชางามและ คณะ บรรณาธิการ การประชุมวิชาการประจ าปี 2554 เรื่อง นวตักรรมอาหารบา บดัโรคสู่ การปฏิบตัิกรุงเทพมหานคร. หจก. เมตตาก๊อปป้ีปริ้น; 2554:207-212 สมชายเอี่ยมอ่อง, เกรียง ต้งัสง่า, เถลิงศกัด์ิกาจนบุษย์และคณะ. (2551). Textbook of peritoneal dialysis. กรุงเทพฯ: บริษัทเท็กซ์แอนดเ์จอร์นลั พบัลิเคชนั่ จา กดั, 1, 1-871. สา นกังานหลกัประกนั สุขภาพแห่งชาติ. (2552).รายงานการสร้างหลกัประกนั สุขภาพถว้นหนา้ ประจา ปี2552, 28-31. Gokal, R and Mallick. (1999). Peritoneal dialysis. Lancet, 353, 823-828. Kathryn, J., David, W., Jonathan, C., et al. (2007). Treatment of peritoneal dialysis-associated peritonitis: a systematic review of randomized controlled trials. Am J Kidney Dis, 50(6), 967-988. Wolfson, M. (1996). Nutritional management of the continuous ambulatory peritoneal dialysis patient. Am J Kidney Dis., 27(5), 744-749. Cooper, S, Lliescu E.A. and Morton, A. R. (2001). The relationship between dialysate protein loss and membrane transport status in peritoneal dialysis patients. Adv Perit Dial, 17, 244-247. Sirivongs, D., Pongskul, C., Keobounma, T., et. al. (2006). Risk factors of first peritonitis episode in Thai CAPD patients. J Med Assoc Thai, 89, 138-145. Jernej, P., Andrej, G, Radoslav K., et al. (2008). Impact of dialysis duration and glucose absorption on nutritional indices in stable continuous ambulatory peritoneal dialysis patients. J Ren Nutr, 18 (6), 503–508. Chung SH, Lindholm B and Lee HB. (2003). Is malnutrition an independent predictor of mortality in peritoneal dialysis patients? Nephrol Dial Transplant, 18, 2134–2140 Mutsert, R., Grootendorst, D., Indemans F., et. al. (2009). Association between serum albumin and mortality in dialysis patients is partly explained by inflammation, and not by malnutrition. J Ren Nutr, 127-135. Wolfson, M. (1999). Effectiveness of nutrition interventions in the management of malnourished patients treated with maintenance dialysis. J Ren Nutr, 9, 126-128. Ra, C. (2005). Protein supplementation in patients using peritoneal dialysis. J Ren Nutr., 15, 260-264. Blake, PG, Flowerdew G, Rose M, et al. (1993). Serum albumin in patients on continuous ambulatory peritoneal dialysis-predictors and correlations with outcomes. J Am Soc Nephrol, 3, 1501-1507. Treamtrakanpon W., Katavetin P., Yimsangyad K., et al. (2011). From the “PD First” Policy to the Innovation in PD Care. J Med Assoc Thai, 94: 13 Treamtrakanpon W., Katavetin P., Yimsangyad K., et al. (2011). From the “PD First” Policy to the Innovation in PD Care. J Med Assoc Thai, 44: 51 Sirivongs D, Pongskul C, Keobounma T, et al. (2006). Risk factors of first peritonitis episode in Thai CAPD patients. J Med Assoc Thai, 89, 138-145. Cianciaruso B, Brunori G, Kopple JD. (1995). Cross-sectional comparison of malnutrition in Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis and Hemodialysis patients. Am J Kidney Dis, 26:475–486 Patel MG, Raftery MJ. (1997). Successful percutaneous endoscopic gastrostomy feeding in continuous ambulatory peritoneal dialysis. J Renal Nutr, 7(4):2008-211. Espinoza GL et al. (2011). Complementarity of Subjective Global Assessment (SGA) and Nutritional Risk Screening 2002 (NRS 2002) for predicting poor clinical outcomes in hospitalized patients. Clin Nutr., 30(1),49-53. Wang, A.Y, Sea MM, Ng K, et al. (2007). Nutrient intake during peritoneal dialysis at the Prince of Wales Hospital in Hong Kong. Am J Kidney Dis., 49(5), 682-692.
3. โภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย,Diabetes treatment—bridging the divide”. The New England Journal of Medicine. 356. Diabetes Mellitus (DM): Diabetes Mellitus and Disorders of Carbohydrate Metabolism: Merck Manual Professional”. Merck Publishing. April 2010. Archived from the original on 2010-07-28. Retrieved 2010-07-30. โภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย - AM Pro Health amprohealth.com
4. ประเสริฐ ธนกิจจารุ และคณะ. ตำราโภชนบำบัด ในผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง
ชนิดา ปโชติการ และ สุนาฎ เตชางาม. 2549. สัดส่วนอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต. FRESENIUSKABI กรุงเทพมหานคร. ,NKF/DOQI, NATIONAL KIDNEY FOUNDATION 2002B. CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR NUTRITION INCHRONIC RENAL FALIUE. AMERICAN JOURNAL OF KIDNEY DISEASE 35
5.ศ.พญ.จุฬาภรณ์รุ่งพิสุทธิพงษ์ หน่วยโภชนวทิยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี , 1. National Kidney Foundation Kidney Disease Outcomes Quality Initiative: Clinical practice guidelines for nutrition in chronic renal failure. Am J Kidney Dis 35:S1-S140, 2000; available at http://www.kidney.org/professionals/kdogi/guidelines updates/doqi nut.html. 2. Owen WF, Jr., Lew NL, Liu Y, et al: The urea reduction ratio and serum albumin concentration as predictors of mortality in patients undergoing hemodialysis. N Engl J Med 329:1001-1006, 1993. 3. Klahr S, Levey AS, Beck GJ, et al: The effects of dietary protein restriction and bloodpressure control on the progression of chronic renal disease. N Engl J Med 330: 877-884, 1994. 4. Moore E, Celano J: Challenges of providing nutrition support in the outpatient dialysis setting. Nutr Clin Pract 20:202-212, 2005. 5. Kopple JD: Nutrition, diet and the kidney. In Shils ME, Shike M, Ross AC, (eds): Modern Nutrition in Health and Disease, 10th ed. Baltimore. Lippincott Williams & Wilkins, 2005. 6. American Association for the Study of Liver Diseases, http://www.aasld.org/
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง