365

WECARE

Probiotics (โปรไบโอติก)

     โปรไบโอติก (Probiotics) เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง คือพวกที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย สร้างสารก่อมะเร็ง สารที่มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น จากข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นมากมายในปัจจุบัน สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าโปรไบโอติกซึ่งเป็นจุลชีพมีชีวิตจากธรรมชาติจัดเป็นสารอาหารคุณภาพที่ช่วยป้องกันและรักษาสุขภาพของผู้รับประทานจากโรคต่างๆ ได้มาก


     โดยเฉพาะในเด็กหรือผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ช่วยแก้ไขปัญหาภาวะท้องเสียโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ต่างๆ และป้องกันการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ และในอนาคตอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพในด้านอื่นๆ โดยมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อย และราคาไม่แพงจนเกินไป โปรไบโอติกที่ใช้มากในปัจจุบัน คือ Lactobacilli และ Bifido bacteriaปริมาณที่ใช้ในแต่ละโรคจะแตกต่างกันไปตามความจำเป็นซึ่งจะต้องศึกษาให้ละเอียดต่อไป โดยเฉพาะขนาดยาและวิธีการหรือส่วนประกอบที่ใช้เพื่อรักษาโรคที่แตกต่างกัน

 

ประเภทของ Probiotics (โปรไบโอติก) enlightened


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบ่งประเภทของโปรไบโอติกออกเป็น 3 ลักษณะ

 


      เป็นแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดดีในกลุ่มของโปรไบโอติกที่พบได้มากที่สุด สามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดองบางชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้
 


     หนึ่งในจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด พบได้ในอาหารที่ทำมาจากนม ช่วยในการบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน และมีการศึกษาในหลายชนิดว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้  
 


     เป็นยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มของโปรไบโอติก สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร แต่เป็นชนิดที่ไม่มีอยู่ในร่างกายคนตามธรรมชาติ

 

ประโยชน์ของโปรไบโอติก enlightened


ʕ·ᴥ·ʔ ป้องกันและรักษาภาวะท้องเสีย  ภาวะท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียมักพบได้บ่อยทั้งในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ในสถานพักพื้น อาการท้องเสีย เป็นความทรมานของร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็กผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร (ท้องเสียเรื้อรัง) ในต่างประเทศมีการวิจัยวิธีแก้ปัญหานี้โดยแพทย์ได้นำเอาโปรไบโอติก (Probiotic) ในกลุ่มแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) มาใช้ป้องกันภาวะท้องเสียในเด็กขาดอาหารโดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ซึ่งผลลัพธ์พบว่าสามารถป้องกันได้ และยังลดระยะเวลา รวมถึงความรุนแรงของอาการท้องเสียที่เกิดจากภาวะอาหารเป็นพิษ และได้ผลดีมากในกลุ่มที่เกิดอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรต้า


ʕ·ᴥ·ʔ รักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง  โปรไบโอติกโดยเฉพาะ Lactobacillus GG ช่วยลดภาวะอักเสบของลำไส้ โดยการปรับสภาพภูมิคุ้มกัน ทำให้มีระดับ Ig Aที่ลดลงในช่วงโรคกำเริบกลับสู่ภาวะปกติทำให้เยื่อบุลำไส้หลั่งสารพิษออกมาน้อยลง นอกจากนี้ยังช่วยปรับลดปริมาณจุลชีพในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุการอักเสบ ทำให้ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี 


ʕ·ᴥ·ʔ รักษาโรคลำไส้ขาดเลือดในเด็ก พบในเด็กคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยจากการขาดออกซิเจนเลี้ยงลำไส้และติดเชื้อแบคทีเรีย


ʕ·ᴥ·ʔ เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย การให้โปรไบโอติกแก่เด็ก จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อได้ดี โดยเฉพาะป้องกันภาวะท้องเสีย  หรือการติดเชื้อในช่องท้อง แม้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ในกลุ่มเด็กที่ติดเชื้อ HIV นอกจากนี้สามารถลดการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ในปอด โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันทั้งในลำไส้และในกระแสโลหิต ลดการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด


ʕ·ᴥ·ʔ ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่มีส่วนในการก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการสร้างสารก่อมะเร็ง หรือเป็นตัวร่วมในการก่อมะเร็ง โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารประเภทไขมันและเนื้อจำนวนมาก โดยไม่รับประทานผักและผลไม้ เป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ กลุ่มโปรไบโอติกจะช่วยเปลี่ยนสภาพแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสารพิษเหล่านี้


ʕ·ᴥ·ʔ รักษาช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา ในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของช่องคลอดจากเชื้อราซ้ำซาก พบว่าสามารถทำให้โรคหายได้ดีเมื่อให้ Lactobaccillus acidophilus จะช่วยป้องกันให้เชื้อราในช่องคลอดลดน้อยลง นอกจากนี้อาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์


ʕ·ᴥ·ʔ ลดระดับไขมันในกระแสเลือด โปรไบโอติกอาจช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้บ้าง ถ้าหากรับประทานในปริมาณมาก แต่ถ้าใช้ขนาดปกติ อาจจะเห็นผลไม่ชัดเจน


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ปัญหาสุขภาพระบบทางเดินอาหารที่นับวันคนไทยจะเป็นมากขึ้น มีการศึกษาเก็บสถิติพบว่า 24% ของคนไทยคิดว่าตัวเองมีปัญหาท้องผูก และมี 8% ที่พบปัญหาในการเบ่งอุจจาระลำบาก และอีก 3% มีปัญหาถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์  ฉะนั้นการได้รับโปรไบโอตติก (Probiotic) อย่างเพียงพอสามารถช่วยลดอาการท้องผูกได้

 

 

ทำไมเราถึงควรได้รับโปรไบโอติกส์เสริม?

 

  1. 1. โพรไบโอติกส์ จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ normal flora อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ถูกรุกราน อาจเกิดผลกระทบตามมาได้

 

  1. 2. หากร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ยาเหล่านี้ส่งผลให้จุลินทรีย์ในร่างกายมีจำนวนลดลง เมื่อร่างกายมีการรับเชื้ออื่นซึ่งอาจก่อโรคเข้ามา อาจมีโอกาสสูญเสียจุลินทรีย์ดีในร่างกายได้


  ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง normal flora และร่างกายนั้นจึงมีความสำคัญ ซึ่งการรับประทานโพรไบโอติกส์จึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย

 

 

มีจุลินทรีย์ใดบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มโพรไบโอติกส์?


     ในปัจจุบันโพรไบโอติกส์ที่เราพบเห็นกันได้ในท้องตลาดมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผงแป้ง (Powders), รูปแบบแคปซูล (Capsules), รูปแบบยาเม็ดเคี้ยว (Chewable tablets), รูปแบบสารละลาย(Solution drops) หรือรูปแบบยาเหน็บช่องคลอด (Vaginal Tablets) โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีวีธีการเก็บรักษาและประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเชื้อที่พบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

✿ เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ กลุ่ม Lactobacillus spp. เป็นแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้และ Bifidobacterium spp. เป็นแบคทีเรียที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร สามารถอยู่ในลำไส้ได้นาน เช่น Bifidobacterium longum, Bifidobacterium bifidum, Lactobacillus acidophilus, Bifidobacterium infantis, Lactobacillus casei subsps, และ Lactococcus lactis เป็นต้น

✿ เชื้อยีสต์ เช่น Saccharomyces boulardii เป็นต้น

 

1.Pharmacy.mahidol.ac.th. 4 ขั้นตอน การเลือกโพรไบโอติคส์ | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล. [online] Available a 2. Medinfo.psu.ac.th. Cite a Website - Cite This For Me. [online] Available 3. Thaiprobiotics.org.[online] Available 39. Tanaka R, Shimosaka K. Investigation of the stool frequency in elderly who are bed ridden and its improvements by ingesting bifidus yogurt [in Japanese]. Nippon Ronen IgakkaiZasshi. 1982 Nov;19(6):577-82. 40. Ouwehand AC, Langstrom H, et al. Effect of probiotics on constipation, fecal azoreductase activity and fecal mucin content in the elderly. Ann NutrMetab. 2002;46(3-4):159-62. 41. Agrawal A, Houghton LA, Morris J, et al. Clinical trial: the effects of a fermented milk product containing Bifidobacteriumlactis DN-173 010 on abdominal distension and gastrointestinal transit in irritable bowel syndrome with constipation. Aliment PharmacolTher. 2009 Jan;29(1):104-14. 42. Guglielmetti S, Mora D, Gschwender M, Popp K. Randomised clinical trial: Bifidobacteriumbifidum MIMBb75 significantly alleviates irritable bowel syndrome and improves quality of life--a double-blind, placebo-controlled study. Aliment PharmacolTher. 2011 May;33(10):1123-32. 43. Guyonnet D, Woodcock A, Stefani B, Trevisan C, Hall C. Fermented milk containing Bifidobacteriumlactis DN-173 010 improved self-reported digestive comfort amongst a general population of adults. A randomized, open-label, controlled, pilot study.J Dig Dis. 2009 Feb;10(1):61-70. 44. Ringel-Kulka T, Palsson OS, Maier D, et al. Probiotic bacteria Lactobacillus acidophilus NCFM and Bifidobacteriumlactis Bi-07 versus placebo for the symptoms of bloating in patients with functional bowel disorders: a double-blind study. J ClinGastroenterol.2011 Jul;45(6):518-25.
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น